เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การสุขาภิบาลและโรคโคเนื้อ
ประเภทของโรคสัตว์
โรคสัตว์แบ่งออกได้หลายประเภทตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค การติดต่อของโรคและตามระดับความรุนแรของโรค ซึ่งประเภทของโรคสัตว์แบ่งออกได้ดังนี้
1. แบ่งตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค แบ่งได้ดังนี้
1.1 โรคติดเชื้อ (infections disease) ได้แก่ โรคที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ต่าง
ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว รา ริกเก็ตเซีย และพยาธิ
1.2 โรคไม่ติดเชื้อ (non infections disease)
เป็นโรคที่เกิดจากสาเหตุอื่นนอกจากเชื้อจุลินทรีย์และพยาธิ
2. แบ่งตามการติดต่อของโรค แบ่งได้ดังนี้
- โรคติดต่อ (contagious disease) เป็นโรคที่เกิดกับสัตว์ตัวหนึ่งตัวใด แล้วสามารถที่จะแพร่ ระบาดไปยังสัตว์ตัวอื่นได้ ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์และพยาธิ
- โรคไม่ติดต่อ (non contagious disease) เป็นโรคที่เกิดกับสัตว์ตัวหนึ่งตัวใดแล้วไม่ติดต่อไปยังสัตว์ตัวอื่น ส่วนมากเกิดจากสภาพแวดล้อมและอาหาร
3. แบ่งตามระดับความรุนแรงของโรค แบ่งออกได้ดังนี้
- การเกิดโรคชนิดเฉียบพลัน (per acute) สัตว์จะแสดงอาการป่วยอย่างรวดเร็วและจะตาย ภายใน 24 48 ชั่วโมง เช่น โรคคอบวมในโค กระบือ เป็นต้น
- ชนิดรุนแรง (acute) สัตว์จะแสดงอาการรุนแรงอยู่หลายวัน พบอัตราการตาย (mortality) ค่อนข้างสูง เช่น โรคนิวคาสเซิลในสัตว์ปีก โรคไข้หวัดนก และโรคอหิวาต์สุกร เป็นต้น
- ชนิดไม่รุนแรง (sub acute) สัตว์จะแสดงอาการป่วยเป็นสัปดาห์ หรือหลายสัปดาห์ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ เป็นต้น
- ชนิดเรื้อรัง (chronic) สัตว์จะแสดงอาการป่วยหลายวัน หรือเป็นเดือน เช่น วัณโรคโค โรคพยาธิไส้เดือน เป็นต้น
4. แบ่งตามระบบกายวิภาคของสัตว์ แบ่งได้ดังนี้
- โรคของระบบทางเดินหายใจ (disease of respiratory tract)
- โรคของระบบย่อยอาหาร (disease of digestive system)
- โรคของระบบประสาท (disease of nervous system)
- โรคของระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ (disease of urogenital system)
- โรคของระบบผิวหนัง (disease of integument system)
ประเภทของโรคสัตว์
วิธีการติดต่อของโรคสัตว์
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคในสัตว์
หลักในการป้องกันการเกิดโรคในสัตว์
ลักษณะที่บ่งชี้ว่าสัตว์ป่วย