สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

การแกว่งแขน รักษาโรค

เคล็ดลับพิเศษของกายบริหารแกว่งแขน

ข้อพิเศษของกายบริหารแกว่งแขนคือ "บนสาม ล่างเจ็ด"
ส่วนบน "ว่างและเบา" เรียกว่า "บนสาม"
แต่ส่วนล่าง "แน่นและหนัก" เรียกว่า "ล่างเจ็ด"
การเคลื่อนไหวอ่อนโยนละมุนละไม
ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ แล้วจึงแกว่งแขนทั้งสองข้าง

ด้วยเคล็ดลับพิเศษนี้แหละ ที่จะช่วยให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเพราะส่วนบนแข็งแรงแต่ส่วนล่างอ่อนแอ ให้สามารถปรับเปลี่ยนไปเป็นผู้ที่มีส่วนล่างแข็งแรงและส่วนบนกระชุ่มกระชวย อันเป็นลักษณะที่ถูกต้องซึ่งจะทำให้โรคภัยทั้งหลายในร่างกายถูกขจัดออกไปเองจนหมด

อธิบายเคล็ดลับพิเศษ "บนสาม ล่างเจ็ด"

คำว่า "บนสาม ล่างเจ็ด" หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบการออกแรงมากและน้อย

"บน" คือ ส่วนบนของร่างกาย หมายถึง มือ
"ล่าง" คือ ส่วนล่างของร่างกาย หมายถึง เท้า
"สาม" หมายถึง ได้แรงสามส่วน
"เจ็ด" หมายถึง ใช้แรงเจ็ดส่วน

เคล็ดวิชาคำว่า "บนสามล่างเจ็ด" มีความหมาย ๒ ประการคือ

ประการที่ ๑ในการออกแรงแกว่งแขน หมายถึง เวลาแกว่งแขนขึ้นข้างบน ใช้แรงเพียงสามส่วน เวลาแกว่งแขนลงต่ำมาข้างล่าง ใช้แรงเจ็ดส่วน

ประการที่ ๒ ในการออกแรงทั้งตัว หมายถึงถ้านับกันทั้งตัว การออกแรงก็มีอัตราส่วนเปรียบเทียบคือ บน : ล่าง = ๓:๗ (บนต่อล่างเท่ากับสามต่อเจ็ด) คือแกว่งแขนไปข้างหน้านั้น จะเบาหรือแรงก็ตาม แต่มือจะต้องให้ได้ส่วนกับเท้า ในอัตราความแรง ๓ ต่อ ๗ อยู่ตลอดเวลาดังนั้นหากแกว่งมือแรง เข้าก็ต้องออกแรงยิ่งกว่านั้น นี่คือความหมายที่กล่าวไว้ว่า “ส่วนบนว่าง ส่วนล่างหนักแน่น” หรือ“บนสามล่างเจ็ด”

ถ้าแขนออกแรง แต่เท้าไม่ออกแรงเป็นการบริหารที่สมบูรณ์แบบ คือรู้จักใช้แต่แขนลืมใช้เท้า กรณีนี้จะทำให้ยืนได้มั่นคงทำให้รู้สึกคล้ายจะหงายหลังล้ม การที่ไม่ต้องการให้ออกแรง มิใช่ว่าจะปล่อยเลยทีเดียว การที่ให้ออกแรงก็มิใช่ว่าให้ออกแรงจนสุดแรงเกิด การปล่อยให้ผ่อนคลายทั้งร่างกายโดยไม่ออกแรงเลยจนนิดเดียวก็จะไม่ได้ผล เพราะผิดหลัก ผิดอยู่ที่อัตราส่วนเนื่องจากแรงที่เท้าน้อยไป คือออกแรงเท้าเท่ากับส่วนบนนั่นเองหรือหากแขนจะออกแรงมากไปสักหน่อยก็จะกลับตาลปัตร กลายเป็นว่าส่วนล่างว่าง ส่วนบนแน่น

การแกว่งแขน ข้อสำคัญต้องระวังที่แขนให้มาก เมื่อต้องการให้ออกแรงก็มักจะคิดแต่การออกแรงที่แขน ลืมไปว่ายังมีเท้า ยังมีเองที่จะต้องมีส่วนช่วยการเคลื่อนไหวเหมือนกัน

การเคลื่อนไหวออกแรงของเท้าและเอวนี้สำคัญมากกว่าแขนเสียอีก การที่กล่าวเช่นนี้บางท่านอาจไม่เข้าใจ หากเคยฝึกมวยจีนไทเก็กหรือศึกษาหลักการแพทย์จีนสมัยโบราณ เกี่ยวกับเส้นเอ็นและชีพจรแล้วก็จะเข้าใจได้ไม่ยากนัก

แขนที่แกว่งนั้นจะแกว่งไปจากเอวของเรา แต่รากฐานของเองอยู่ที่เท้าเมื่อเป็นเช่นนี้หากส่วนบน (แขน) ออกแรงแกว่งสะบัด แต่ส่วนล่าง(เท้า) ไม่ออกแรงยึดเกาะพื้นไว้ให้มั่นคงเราก็จะเสียการทรงตัวขาดความสมดุลกัน คนเราเวลาเสียหลักเซล้มลงขณะขึ้นรถหรือลงเรือ ก็เนื่องมาจากเสียการทรงตัว ขาดความสมดุลกันผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังจำนวนไม่น้อยก็เพราะเลือดลมขาดความสมดุล เป็นอัมพาตก็เพราะเลือดลมขาดความสมดุลเช่นกันความดีเด่นของการแกว่งแขนที่ปรากฏออกมาให้เห็นชัดก็คือสามารถช่วยแก้ไขและปรับความไม่สมดุลต่างๆของร่างกาย นั้นเอง

เมื่อเราจะแก้ไขและปรับความสมดุลของร่างกายแล้วทำไมจะต้องออกกำลังเท้าด้วย? ทั้งนี้ก็เพราะว่าที่ฝ่าเท้าของคนเรามีจุด ซึ่งทางแพทย์จีนเรียกว่า "จุดน้ำพุ" จุดนี้ติดต่อไปถึงไตหากหัวใจเต้นแรงหรือนอนไม่หลับ ถ้ามีการบีบนวดแรงจุดน้ำพุนี้ก็สามารถทำให้ประสาทสงบ ช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับได้ตามตำรายังกล่าวไว้ว่า "ที่ฝาเท้ามีจุดอีกหลายจุด เกี่ยวโยงไปถึงอวัยวะภายในของคนเรา" เมื่อเราทราบตำแหน่งของจุดนั้นๆ แล้วก็จะสามารถรักษาโรคซึ่งเกิดกับอวัยวะเหล่านั้นได้ เช่นกัน

ดังนั้นการออกกำลังโดยวิธีแกว่งแขนก็คือการปรับร่างกายให้สมดุล ซึ่งเป็น "การบำบัดรักษาโรคนั่นเอง"

การที่มีคำกล่าวว่า "โรคร้อยแปดอาจรักษาให้หายได้ด้วยเข็มเพียงเล่มเดียว" หลายคนคิดว่าออกจะเป็นการอวดอ้างเกินความจริงแต่สำหรับผู้ที่มีความรู้แตกฉานในวิธีฝังเข็มรักษาโรคย่อมได้ประจักษ์แจ้งความจริงด้วยตนเองแล้วฉะนั้นการที่จะกล่าวว่าการแกว่งแขนสามารถรักษาโรคได้ร้อยแปดนั้นจึงพูดได้ว่าไม่ใช่เป็นการอวดอ้างเกินความจริงแน่ เพราะวิชากายบริหารแกว่งแขนนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในตัวเองอยู่แล้ว

เคล็ดวิชาทั้ง ๑๖ ประการ และเคล็ดลับพิเศษในการบริหารแกว่งแขน ดังได้อธิบายมาทั้งหมดนี้ ขอให้ทุกท่านอ่านทบทวนจนเข้าใจแจ่มแจ้งดีแล้ว จึงลงมือปฏิบัติ จะทำให้ได้รับผลยอดเยี่ยมครบสมบูรณ์

ประวัติความเป็นมาของ "กายบริหารแกว่งแขน"
เหตุใดการบริหารแกว่งแขนจึงสามารถบำบัดโรคต่างๆได้
หลักสำคัญพื้นฐานของกายบริหารแกว่งแขน
เคล็ดวิชา ๑๖ ประการ ของกายบริหารแกว่งแขน
คำอธิบายเคล็ดวิชา ๑๖ ประการ ของกายบริหารแกว่งแขน
เคล็ดลับพิเศษของกายบริหารแกว่งแขน
การแกว่งแขนกับการเปลี่ยนแปลงของชีพจร
กายบริหารแกว่งแขน เพื่อรักษาโรคอัมพาต
กายบริหารแกว่งแขนเพื่อพิชิตโรคมะเร็ง
กายบริหารแกว่งแขนรักษาโรคตับ
กายบริหารแกว่งแขน กับการรักษาโรคตา


แนะนำอีก 2 เคล็ดวิชาในตำนาน ที่น่าสนใจ


แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย