สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
ความหมายของการพัฒนา
แนวคิด และวิวัฒนาการ
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีการพัฒนา
ปรัชญา
อุดมการณ์ของการพัฒนาชุมชน
แนวคิดและความหมายของชุมชนและการพัฒนาชุมชน
ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาและการพัฒนาชุมชนในประเทศไทย
หลักการพัฒนาชุมชน
บรรณานุกรม
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีการพัฒนา
ทฤษฎีการพัฒนา
ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อนักวิชาการต่างพากันคิดค้น เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมมนุษย์ หลังจากนั้น ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปรับปรุงให้มีอำนาจในการอธิบายสูงขึ้นมาตามลำดับ การจำแนกทฤษฎีการพัฒนานั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น จำแนกตามยุคสมัย จำแนกตามสาขาที่เกี่ยวข้อง จำแนกตามสำนักความคิดของผู้สร้างทฤษฎี จำแนกตามอุดมการณ์อำนาจ หรือจำแนกตามวิถีทัศน์ในด้านต่าง ๆ
จุดมุ่งหมายของการจำแนกก็เพื่อที่จะให้ผู้ศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องการพัฒนา รวมทั้งวิวัฒนาการอย่างเป็นระบบ การที่ผู้ศึกษาจะใช้ระบบการจำแนกแบบใดเพื่อที่จะส่งผลให้การทำความเข้าใจละเอียดอ่อนลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ย่อมจะขึ้นอยู่กับภูมิหลัง รวมทั้งความถนัดของผู้ศึกษาแต่ละคน ในเอกสารวิชาการนี้ ทฤษฎีการพัฒนา สามารถจำแนกออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามเงื่อนไขของเวลา คือ
1. กลุ่มทฤษฎียุคก่อนสมัยใหม่ (Pre-Modernization Era)
2. กลุ่มทฤษฎียุคสมัยใหม่ (Modernization Era)
ทฤษฎีทั้ง 2 กลุ่ม มีวิวัฒนาการต่อเนื่องกันมาตามธรรมชาติของสังคม
ลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของทฤษฎีทางด้านสังคมศาสตร์ ก็คือ
การที่จะต้องได้รับการพิสูจน์ความถูกต้องได้ (Falsify) ทุกเมื่อ
ตามลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม นั่นคือ
ไม่มีทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ทฤษฎีใดที่ยิ่งใหญ่จนสามารถให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างลึกซึ้งรอบด้าน
(Grand Theory) ดังนั้น จึงเป็นภารกิจ รวมทั้งความจำเป็นที่ผู้ศึกษาจะต้องติดตาม
รื้อสร้าง (Deconstruct) ทำให้เป็นปัจจุบัน (Update) แนวคิดรวมทั้งทฤษฎีต่าง ๆ
เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางสังคมให้ทันสมัยอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม
ทฤษฎีบางทฤษฎีก็ยังคงอำนาจในการทำความเข้าใจและอำนาจในการอธิบายไว้ได้เป็นอย่างดี
ถึงแม้ว่าจะถูกสร้างขึ้นและผ่านอดีตอันยาวนานมาแล้ว ดังจะเห็นได้ดังต่อไปนี้
ทฤษฎีการพัฒนา
กลุ่มทฤษฎียุคก่อนสมัยใหม่
ทฤษฎีในสมัยอาณานิคม
ทฤษฎีสมัยใหม่
แนวความคิดกระแสหลักหรือปฏิฐานนิยม
ทฤษฎีการทำให้ทันสมัย
ทฤษฎีโครงสร้าง
ทฤษฎีการแปลงรูป
ทฤษฎีการแผ่กระจาย
ทฤษฎีการพัฒนาทวิภาค
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม
ทฤษฎีความเป็นเหตุเป็นผล
ทฤษฎีการแก้ปัญหา
ทฤษฎีการสะสมทุน
ทฤษฎีแรงผลักดันสำหรับการพัฒนา
ทฤษฎีความเจริญเติบโตอย่างสมดุล
ทฤษฎีความเจริญเติบโตอย่างไม่มีดุลยภาพ
ทฤษฎีจักรวรรดินิยม
ทฤษฎีพึ่งพา
ทฤษฎีความด้อยพัฒนา
ทฤษฎีความพอใจในความต้องการพื้นฐาน
ทฤษฎีโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สรุปเกี่ยวกับแนวความคิดและทฤษฎี