สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน

ความหมายของการพัฒนา แนวคิด และวิวัฒนาการ
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีการพัฒนา
ปรัชญา อุดมการณ์ของการพัฒนาชุมชน
แนวคิดและความหมายของชุมชนและการพัฒนาชุมชน
ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาและการพัฒนาชุมชนในประเทศไทย
หลักการพัฒนาชุมชน
บรรณานุกรม

ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีการพัฒนา

ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม

(Structural-Functionalism Theory)

เป็นทฤษฎีทางด้านสังคมวิทยาและรัฐศาสตร์ เฟรด ดับเบิลยู ริกส์ (Fred W. Riggs) ได้อธิบายความหมายของโครงสร้างว่า เป็นแบบแผนของพฤติกรรมซึ่งได้กลายเป็นลักษณะมาตรฐานของระบบสังคม เช่น พฤติกรรมของข้าราชการในองค์การหนึ่ง ดังนั้น โครงสร้างจึงมีความหมายรวมไปถึงตัวบุคคล สิ่งของและการกระทำของคนในองค์การ รวมทั้งของคนที่มาติดต่อรับบริการจากองค์การนั้นด้วย ส่วนความหมายของหน้าที่นั้น หมายถึง ผลที่ตามมาของโครงสร้างซึ่งอาจมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างอื่น ๆ หรือระบบใหญ่ด้วย เช่น หน้าที่ของหน่วยงานเกี่ยวกับการศึกษาที่เป็นผู้กำหนดอัตราค่าเล่าเรียน กำหนดหลักสูตร และหลักเกณฑ์การเรียนการสอน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ย่อมมีส่วนกระทบไปถึงรายได้รายจ่ายของผู้ปกครองนักเรียน รายได้ของโรงเรียน และของรัฐบาล รวมทั้งมาตรฐานความรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาด้วย ดังนั้น หน้าที่จึงเป็นแบบแผนของการขึ้นต่อกัน (interdependence) ระหว่างโครงสร้างตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปและเป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรผันต่างๆ ด้วย

การศึกษาในสมัยก่อนนั้นมักจะกระทำกันเฉพาะในด้านของโครงสร้าง บางครั้งอาจทำให้ผู้ที่ศึกษามองไม่เห็นภาพที่แน่ชัด เช่น การศึกษาถึงระบบการปกครอง โดยพระมหากษัตริย์ในสมัยก่อน ย่อมกล่าวได้ว่าตามโครงสร้างนั้นไม่มีฝ่ายนิติบัญญัติเหมือนการมีระบบรัฐสภาในระบบการปกครองที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้ง ๆ ที่สมัยนั้นพระมหากษัตริย์ก็มีอำนาจหน้าที่ทางนิติบัญญัติด้วย ดังนั้น เพื่อให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนและถูกต้องยิ่งขึ้น จึงมีการศึกษาทางหน้าที่อีกด้านหนึ่งซึ่งจะทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์และการขึ้นต่อกัน รวมทั้งมีส่วนกระทบต่อหรือถูกกระทบโดยสิ่งแวดล้อมด้วย

การศึกษาในเรื่องโครงสร้างหน้าที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการทำให้ทันสมัย ซึ่งมีกระบวนการของการพัฒนาจากความด้อยพัฒนาหรือสังคมดั้งเดิม (Traditional society) ไปสู่สังคมกำลังพัฒนา (Transitional society) โดย ริกส์ กำหนดชื่อให้เองว่า จากสังคมเกษตรกรรม (Agrarian society) ไปสู่สังคมกำลังพัฒนา (Prismatic society) และถึงสังคมอุตสาหกรรม (Industrial society)
สังคมดั้งเดิมมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการแบ่งงานกันทำตามความรู้เฉพาะด้าน ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงพัฒนาแล้วจะเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่มีการแบ่งงานกันทำตามความรู้เฉพาะด้านอย่างชัดเจน

ทฤษฎีการพัฒนา
กลุ่มทฤษฎียุคก่อนสมัยใหม่
ทฤษฎีในสมัยอาณานิคม
ทฤษฎีสมัยใหม่
แนวความคิดกระแสหลักหรือปฏิฐานนิยม
ทฤษฎีการทำให้ทันสมัย
ทฤษฎีโครงสร้าง
ทฤษฎีการแปลงรูป
ทฤษฎีการแผ่กระจาย
ทฤษฎีการพัฒนาทวิภาค
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม
ทฤษฎีความเป็นเหตุเป็นผล
ทฤษฎีการแก้ปัญหา
ทฤษฎีการสะสมทุน
ทฤษฎีแรงผลักดันสำหรับการพัฒนา
ทฤษฎีความเจริญเติบโตอย่างสมดุล
ทฤษฎีความเจริญเติบโตอย่างไม่มีดุลยภาพ
ทฤษฎีจักรวรรดินิยม
ทฤษฎีพึ่งพา
ทฤษฎีความด้อยพัฒนา
ทฤษฎีความพอใจในความต้องการพื้นฐาน
ทฤษฎีโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สรุปเกี่ยวกับแนวความคิดและทฤษฎี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย