สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
ความหมายของการพัฒนา
แนวคิด และวิวัฒนาการ
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีการพัฒนา
ปรัชญา
อุดมการณ์ของการพัฒนาชุมชน
แนวคิดและความหมายของชุมชนและการพัฒนาชุมชน
ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาและการพัฒนาชุมชนในประเทศไทย
หลักการพัฒนาชุมชน
บรรณานุกรม
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีการพัฒนา
กลุ่มทฤษฎียุคก่อนสมัยใหม่
(Pre-Modernization)
ทฤษฎีแรกของการพัฒนา (The first development theory)
ทฤษฎีแรกของการพัฒนา เกิดขึ้นจากต้นแบบเก่าดั้งเดิมของการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ซึ่งกำหนดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดย อดัม สมิธ (Adam Smith) อดัม เฟอร์กูสัน (Adam Ferguson) และจอห์น มิลลา (John Millar) ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการรุ่นใหม่ เช่น จอห์น โทเอ (John Toye) โกฟเฟอรี ฮอธรอน (Groffery Howthron) ดัดเล เซียร์ส (Dudley Seers) และปีเตอร์ เพรสตัน (Peter Preston) ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวความคิดเกี่ยวกับความก้าวหน้าในปัจจุบัน
ทฤษฎีแรกของการพัฒนาดังกล่าวนี้ ถือว่า วิถีของการยังชีพ (Mode of subsistence) ในสังคมมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาเพื่อกำหนดเงื่อนไขของการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยพื้นฐานของสังคมอังกฤษและสก๊อตแลนด์ในศตวรรษที่ 18 นักวิชาการสามคนแรก คือ สมิธ เฟอร์กูสันและมิลลา มีความเห็นร่วมกันว่า การเปลี่ยนแปลงในวิถีการยังชีพมีอยู่ 4 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ
1) การล่าสัตว์และการรวมกลุ่ม (Hunting and gathering)
2) วิถีชีวิตเรียบง่ายในชนบทและสงบแบบชาวนาหรือพวกเลี้ยงแกะ (Pastoralism)
3) ตั้งหลักแหล่งทำการเกษตรเป็นอาชีพ (Settled agriculture)
4) การค้าขาย (Commerce)
และทำนายด้วยว่า อารยธรรมด้านการพาณิชย์ (Commercial civilization) จะเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในสังคมที่เจริญก้าวหน้า
แนวคิดของต้นแบบนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงจากยุคป่าเถื่อนไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองเป็นขั้นตอนที่ถือว่าเป็นการสร้างความก้าวหน้าไปสู่จุดหมายปลายทางตามความปรารถนาของทุกสังคม
ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ต้นแบบเก่าดั้งเดิมนี้ ได้แตกแขนงออกเป็นทฤษฎีการพัฒนา 3 ประการ คือ
1) ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary theory)
2) ทฤษฎีเทคโนแครท (Technocratic theory)
3) ทฤษฎีมาร์กซิสต์ (Marxist theory)
พวกเทคโนแครทและมาร์กซิสต์มีความเห็นว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับวิถียังชีพของต้นแบบดั้งเดิมนั้นไม่มีความชัดเจนพอ เพราะถือว่า วิถียังชีพ ระดับรายได้ ความมั่นคั่ง ตัวบทกฎหมาย รูปแบบการบริหาร และวัฒนธรรมของแต่ละสังคมเป็นตัวแปรตาม ส่วนปัจจัยแวดล้อม เช่น ภูมิอากาศ และความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นตัวแปรอิสระเท่านั้น โดยมิได้วิเคราะห์ว่า จะมีลู่ทางเข้าไปสู่อารยธรรมเชิงพาณิชย์ได้อย่างไร
จากตัวแบบตั้งเดิมดังกล่าว พวกเทคโนเครทจึงได้กำหนดตัวแบบขึ้นมาโดยนำเอาอารยธรรมทางวิทยาศาสตร์ (Scientific civilization) เข้ามาแทนอารยธรรมเชิงพาณิชย์ โดยอธิบายอารยธรรมทางวิทยาศาสตร์ว่า องค์การทางสังคม จะต้องประกอบด้วยตัวแปรสำคัญบางอย่าง เช่น คุณค่าเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีเหตุผล ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การไม่ยึดอยู่กับเรื่องส่วนบุคคล การแจกแจงภาระหน้าที่
สาระสำคัญของทฤษฎีเทคโนแครท ตามแนวคิดของ เซนต์ ไซมอน (Saint Simon) ได้อธิบายว่า การสะสมความรู้และวิทยาการอย่างแท้จริงจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปฏิรูปเศรษฐกิจและสร้างสรรค์ระบบสังคมได้ และสามารถปัดเป่าความสับสนในระบบสังคมได้ด้วย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและนักสังคมศาสตร์จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งระดับชาติและระหว่างประเทศ
แนวคิดดังกล่าวของไซมอน เป็นที่ยอมรับและมีอิทธิพลมากในหมู่นักวางแผนผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในปัจจุบัน
ทฤษฎีการพัฒนา
กลุ่มทฤษฎียุคก่อนสมัยใหม่
ทฤษฎีในสมัยอาณานิคม
ทฤษฎีสมัยใหม่
แนวความคิดกระแสหลักหรือปฏิฐานนิยม
ทฤษฎีการทำให้ทันสมัย
ทฤษฎีโครงสร้าง
ทฤษฎีการแปลงรูป
ทฤษฎีการแผ่กระจาย
ทฤษฎีการพัฒนาทวิภาค
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม
ทฤษฎีความเป็นเหตุเป็นผล
ทฤษฎีการแก้ปัญหา
ทฤษฎีการสะสมทุน
ทฤษฎีแรงผลักดันสำหรับการพัฒนา
ทฤษฎีความเจริญเติบโตอย่างสมดุล
ทฤษฎีความเจริญเติบโตอย่างไม่มีดุลยภาพ
ทฤษฎีจักรวรรดินิยม
ทฤษฎีพึ่งพา
ทฤษฎีความด้อยพัฒนา
ทฤษฎีความพอใจในความต้องการพื้นฐาน
ทฤษฎีโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สรุปเกี่ยวกับแนวความคิดและทฤษฎี