สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน

ความหมายของการพัฒนา แนวคิด และวิวัฒนาการ
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีการพัฒนา
ปรัชญา อุดมการณ์ของการพัฒนาชุมชน
แนวคิดและความหมายของชุมชนและการพัฒนาชุมชน
ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาและการพัฒนาชุมชนในประเทศไทย
หลักการพัฒนาชุมชน
บรรณานุกรม

ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีการพัฒนา

ทฤษฎีการทำให้ทันสมัย

(Modernization Theory)

นักทฤษฎีการพัฒนาได้ค้นหาวิธีการต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ ๆ โดยอาศัยกระบวนทัศน์ย่อย (Sub-paradigm) ที่แตกต่างกัน วิธีการต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนี้มักสัมผัสกับปัญหาบางส่วนเท่านั้น การอธิบายของแต่ละแนวคิดมักจะไม่สอดคล้องกัน บางครั้งบางกรณีอาจขัดแย้งกันอย่างพอจะสังเกตเห็นได้ แม้ในเรื่องความพยายามที่จะวิเคราะห์ปัญหา การใช้กรอบการวิเคราะห์ก็ยังแตกต่างกันอยู่ ฉะนั้น จึงอาจจะกล่าวถึงได้ในลักษณะของแนวโน้มของทฤษฎีเท่านั้น

ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ (Economic Aid) ที่ให้มาโดยประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่มุ่งที่ว่า ทำอย่างไรการพัฒนาเศรษฐกิจจึงจะเป็นไปได้ในระบบตลาดที่เสรีเหมือนกับประเทศตะวันตกหรือจะทำอย่างไรจึงจะทำให้การวางแผนทางเศรษฐกิจของชาติบรรลุผลสำเร็จได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับที่เกิดขึ้นในบางประเทศที่พัฒนาแล้ว แนวคิดและนโยบายการพัฒนาอย่างเป็นระบบโดยอาศัยการควบคุมขององค์กรและการวางแผนของรัฐนั้น ได้มาจากทฤษฎีของ เคนส์ (Keynes) หรือยุคหลังเคนส์ (Post-Keynes) ซึ่งได้รับการยอมรับมากขึ้น ดังนั้น ระยะแรกของทฤษฏีการพัฒนาจึงเพียงแต่ต้องการพิสูจน์ว่าตัวแบบความเจริญเติบโตทางเศราฐกิจมหภาค (Macro-economic Growth Model) ตามแบบฮาร์รอด โดมาร์ (Harrod-Domar Type) เป็นเครื่องมือการวางแผนที่เหมาะสมเท่านั้น ยังไม่มีเครื่องมือใด ๆ ของทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ เพื่ออธิบายให้เห็นถึงกระบวนการของความเจริญเติบโตและกระบวนการพัฒนาแต่อย่างใด นับแต่ได้กำหนดตัวแบบนี้ขึ้นมาราว ๆ ปลายทศวรรษ 1940 ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนานำเอาไปใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศในหลาย ๆ ประเทศ เมื่อเวลาผ่านไปหลาย ๆ ปี ก็ทำให้มองเห็นว่า การนำเอาทฤษฎีความเจริญเติบโตแบบนี้มาใช้เป็นความผิดพลาด โดยมีเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่สนับสนุนคำกล่าวนั้น ก็คือ สูตรที่นำมาใช้ในตัวแบบความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนี้มีลักษณะการกระทำที่ซ้ำ ๆ กันไป โดยมิได้มีแนวทางหรือกระบวนการในการทำให้เกิดความเจริญเติบโตแต่อย่างใด มีเพียงหลักการกว้าง ๆ ว่าจะต้องมีดุลยภาพ การที่จะให้มีลักษณะการกระทำที่ซ้ำกันเกิดขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของประเทศตะวันตกกับประเทศกำลังพัฒนานั้นคงเป็นไปได้ยาก เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ โครงสร้างทางสังคมองค์การหรือสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งเจตคติของประชาชน ตลอดจนกลไกการพัฒนาที่สำคัญ คือ ระบบราชการโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ รวมทั้งสภาพของตลาดการค้า เป็นต้น ความไม่เพียงพอในสภาพการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้การทำให้ทันสมัยล้มเหลวอยู่มากมายหลายอย่างในสังคมกำลังพัฒนาประกอบกับกระบวนการทำให้เกิดการพัฒนาที่นำมาใช้ทั้งดัดแปลงและไม่ได้ดัดแปลงที่ยังไม่เหมาะสมถูกต้องจึงเป็นเหตุให้เกิดความล้มเหลวได้เช่นกัน

ทฤษฎีการพัฒนา
กลุ่มทฤษฎียุคก่อนสมัยใหม่
ทฤษฎีในสมัยอาณานิคม
ทฤษฎีสมัยใหม่
แนวความคิดกระแสหลักหรือปฏิฐานนิยม
ทฤษฎีการทำให้ทันสมัย
ทฤษฎีโครงสร้าง
ทฤษฎีการแปลงรูป
ทฤษฎีการแผ่กระจาย
ทฤษฎีการพัฒนาทวิภาค
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม
ทฤษฎีความเป็นเหตุเป็นผล
ทฤษฎีการแก้ปัญหา
ทฤษฎีการสะสมทุน
ทฤษฎีแรงผลักดันสำหรับการพัฒนา
ทฤษฎีความเจริญเติบโตอย่างสมดุล
ทฤษฎีความเจริญเติบโตอย่างไม่มีดุลยภาพ
ทฤษฎีจักรวรรดินิยม
ทฤษฎีพึ่งพา
ทฤษฎีความด้อยพัฒนา
ทฤษฎีความพอใจในความต้องการพื้นฐาน
ทฤษฎีโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สรุปเกี่ยวกับแนวความคิดและทฤษฎี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย