สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน

ความหมายของการพัฒนา แนวคิด และวิวัฒนาการ
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีการพัฒนา
ปรัชญา อุดมการณ์ของการพัฒนาชุมชน
แนวคิดและความหมายของชุมชนและการพัฒนาชุมชน
ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาและการพัฒนาชุมชนในประเทศไทย
หลักการพัฒนาชุมชน
บรรณานุกรม

ปรัชญา อุดมการณ์ของการพัฒนาชุมชน

ความเชื่อของนักพัฒนา

ผู้ที่ทำงานด้านพัฒนามีความจำเป็นจะต้องมีความเชื่อขั้นพื้นฐาน 3 ประการ คือ

1. คนมีศักดิ์ศรี
2. คนมีความสามารถ
3. ความสามารถของคนพัฒนาได้

ประการแรก ความเชื่อที่ว่าชาวชุมชนมีศักดิ์ศรีเหมือนกับตัวเจ้าหน้าที่เองจะทำให้ไม่ดูถูกหมิ่นชาวชุมชน เพราะถ้าขาดความเคารพในความเป็นคนเหมือนกัน ขาดความคิดว่าชาวชุมชนถึงแม้จะจนและมีความรู้น้อย แต่มีศักดิ์ศรี เจ้าหน้าที่จะติดต่อกับชาวชุมชนด้วยวิธีการ กิริยาท่าทางที่ดูถูกดูหมิ่นและจะยัดเหยียดความคิดของตนให้กับชาวชุมชน โอกาสการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชนก็เกือบจะหมดลงไป

ประการที่สอง ความเชื่อที่ว่าชาวชุมชนมีความสามารถ เป็นความเชื่อที่เจ้าหน้าที่สามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง เพราะในความเป็นจริงแล้วชาวชุมชนมีความสามารถมากภายใต้สิ่งแวดล้อมของเขา เราก็มีความสามารถในรูปแบบของเรา เป็นความสามารถคนละอย่าง

ประการที่สาม เจ้าหน้าที่หรือนักพัฒนาจะต้องมีความเชื่อว่า ความสามารถของคนนั้นพัฒนาให้ดีขึ้นได้หรือสามารถจะพัฒนาในสิ่งที่ยังไม่มี ให้มีความสามารถได้ เพราะถ้าหากขาดความเชื่อนี้แล้ว เจ้าหน้าที่ของเราอาจจะดูหมิ่นชาวชุมชนว่าชาวบ้านก็มีความสามารถเพียงแต่เลี้ยงควายกับปลูกข้าวเท่านั้นเอง และถ้าคิดว่ากิจกรรมอย่างอื่น ๆ นั้น ชาวชุมชนไม่สามารถจะทำให้เจ้าหน้าที่ก็จะเริ่มยัดเยียดหรือดำเนินกิจกรรมด้วยตนเอง โดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนไป

ความศรัทธาอย่างแรงกล้า
ความศรัทธาและเชื่อมั่นในตัวคน
การรวมกลุ่ม
ความยุติธรรม
การศึกษา
หลักประชาธิปไตย
ความสมดุลของการพัฒนา
อุดมการณ์ คุณธรรม จริยธรรมของนักพัฒนา
ความเชื่อของนักพัฒนา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย