สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
ความหมายของการพัฒนา
แนวคิด และวิวัฒนาการ
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีการพัฒนา
ปรัชญา
อุดมการณ์ของการพัฒนาชุมชน
แนวคิดและความหมายของชุมชนและการพัฒนาชุมชน
ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาและการพัฒนาชุมชนในประเทศไทย
หลักการพัฒนาชุมชน
บรรณานุกรม
แนวคิดและความหมายของชุมชนและการพัฒนาชุมชน
แนวคิดทางมนุษยนิยม
(Humanistic Perspective)
แนวคิดของชุมชนในแนว Humanistic perspective นี้ บางคนเรียกว่า เป็นแนวคิดของกลุ่ม Utopia นักสังคมวิทยาที่มีอิทธิพลสำคัญต่อ 2 แนวคิดนี้ 2 คน คือ Robert Nisbet และ Baker Brownell ซึ่งมีความคิดว่า ชุมชนต้องก่อมิตรภาพ ความเอื้ออาทร ความมั่นคง และความผูกพันระหว่างคนในชุมชน
Nisbet เห็นว่าสังคมสมัยใหม่ทำให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกผูกพันของชุมชน (sense of community) ในข้อเขียนของ Nisbet เรื่อง The quest for community นั้นเกิดจากเงื่อนไขของสังคมสมัยใหม่ที่ไม่สามารถตอบสนองให้ปัจเจกบุคคลเกิดความมั่นคง เขาได้แสดงความเห็นว่า ในลักษณะรัฐการเมืองสมัยใหม่ รัฐไม่สามารถตอบสนองความมั่นคงได้ ไม่มีองค์กรขนาดใหญ่ใดที่สามารถตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจของคนได้ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว องค์การเหล่านี้มีขนาดใหญ่ ซับซ้อน เป็นทางการเกินไป รัฐอาจจะก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในนามของรัฐ เช่น การก่อสงคราม แต่ในการตอบสนองอย่างปกติธรรมดา ต่อความต้องการของคนในเชิงการยอมรับมิตรภาพ ความมั่นคง ความเป็นสมาชิก รัฐจะทำไม่ได้
ทางเลือกที่นักคิดในแนวนี้เสนอ ก็คือ การเรียกร้องให้ชุมชนมีขนาดเล็ก แต่มีโครงสร้างที่แน่นเหนียว เพราะชุมชนขนาดเล็กเท่านั้นที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพความสัมพันธ์ทางสังคมให้ดีขึ้น เพราะจะรับผิดชอบต่อหน่วยที่เล็กที่สุด และกล่าวถึงชุมชนขนาดเล็กที่เน้นการกระทำที่เต็มไปด้วยความร่วมมือ ร่วมใจ ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นสังคมที่ตนรู้จักอย่างใกล้ชิดและสนิทสนม
แนวคิดทั้งสองนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการเรียกร้องต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมสมัยใหม่ การขยายตัวของเมือง ประชากร ที่ก่อให้เกิดสภาวะความแปลกแยก ความวิตกกังวล ความโดดเดี่ยว ไม่สนใจใยดีหรือรู้สึกรับผิดชอบต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่รอบข้าง ไม่รู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบตัดสินใจหรือรับผลประโยชน์นั้น ๆ
Hirsch (1993) กล่าวถึง การสร้างชุมชนว่า เป็นการแสดงออกถึงอำนาจและเป็นวาทกรรมของคนกลุ่มต่าง ๆ ทั้งภายในชุมชนและภายนอกชุมชน ภายใต้เงื่อนไขทางสังคมและประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ความหมายเกี่ยวกับชุมชนจึงมีทั้งความหมายที่หลากหลายและความหมายที่ขัดแย้ง มิได้มีเพียงความหมายเดียวหรือความหมายที่เป็นกลาง และไม่ได้ยึดติดกับพื้นที่ นัยของการนิยามหมู่บ้านให้ติดกับพื้นที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐพยายามรวมศูนย์อำนาจด้วยการทำให้พื้นที่แตกออกเป็นหน่วยเล็ก ๆ เพื่อง่ายต่อการปกครองสะท้อนให้เห็นกระบวนการที่หมู่บ้านถูกผนวกเข้าสู่ระบบทุนและตลาด
โดยสรุป แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนทางมนุษยนิยมมีลักษณะที่น่าสนใจ คือ
1. ไม่ได้ให้ความสนใจหรือความสำคัญกับอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์หรือพื้นที่
2. เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์
3.
เน้นลักษณะความรู้สึกเชิงอัตวิสัยของความเป็นชุมชนหรือแบบแผนในอุดมคติซึ่งเกี่ยวกับนำเสนอลักษณะชุมชนที่ควรจะเป็นชุมชนที่ดีหรือชุมชนในอุดมคตินั่นเอง
แม้ว่าจะมีทัศนะอันหลากหลายเกี่ยวกับชุมชน ก็ยังสามารถสรุปจุดร่วมกันได้ 2 ประการ คือ
1. เป็นการกล่าวถึง วิวัฒนาการของการสมาคมของมนุษย์ (Human Association)
2. มีการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า
การเปลี่ยนแปลงในลักษณะของความเกาะเกี่ยวในสังคมมนุษย์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมทางเศรษฐกิจ
สังคม การเมือง และเทคโนโลยี ลักษณะหนึ่งของ Human Association
จะหายไปและมีลักษณะใหม่มาแทนที่
แนวคิดทางสังคมวิทยา
แนวคิดทางมนุษยนิยม
แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนประชาคม
แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนในรูปแบบใหม่
ความหมายของชุมชน
ความหมายของการพัฒนาชุมชน
ความสำคัญของการพัฒนาชุมชน
จุดมุ่งหมายในการพัฒนาชุมชน
ดัชนีชี้วัดระดับของการพัฒนา
ดัชนีชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)