สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
(Watsons Caring Theory)
ปัจจัยการดูแล 10 ประการ และกระบวนการปฏิบัติการด้วยความรักเพื่อการดูแล
(Watson, 2008)
ปัจจัยการดูแล 10 ประการ
- สร้างระบบค่านิยมการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น และมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
- สร้างความศรัทธาและความหวัง
- สร้างความไวต่อความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
- สร้างสัมพันธภาพการช่วยเหลือและการไว้วางใจ
- ยอมรับความรู้สึกทางบวกและทางลบ
- ใช้วิธีการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เพื่อการตัดสินใจ
- ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เข้าถึงจิตใจผู้อื่น
- ประคับประคอง สนับสนุน และแก้ไขสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ จิตสังคม และจิตวิญญาณ
- พึงพอใจที่จะช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่น
- ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น-พลังที่มีอยู่
กระบวนการปฏิบัติการด้วยความรักเพื่อการดูแล
- ปลูกฝังการปฏิบัติด้วยรักและความเมตตาและมีจิตใจที่สงบมั่นคงทั้งกับตนเองและผู้อื่น ให้เสมือนเป็นพื้นฐานของความรักที่มีสติ
- มีชีวิตอยู่กับความจริง สร้างความหวังและศรัทธาที่เป็นไปได้ และเชื่อในความเป็นไปแห่งอัตวิสัยของชีวิตบนโลก ทั้งของตนเองและผู้อื่น
- ปลูกฝังการปฏิบัติทางจิตวิญญาณ และการหลอมรวมตนเอง ให้ก้าวพ้นอัตตาแห่งตน
- สร้างสัมพันธภาพและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพการช่วยเหลืออย่างไว้วางใจเพื่อการดูแล
- ส่งเสริมให้มีการแสดงความรู้สึกออกมาทั้งทางบวกและลบ แลกเปลี่ยนความรู้สึก และเตรียมตัวเองเพื่อรับความรู้สึกทั้งในทางบวกและลบ
- ใช้ตนเองและทุกวิถีแห่งความรู้ ให้เป็นเสมือนส่วนหนึ่งของกระบวนการดูแล เชื่อมต่อกับความสามารถทางศิลปะแห่งการพยาบาลด้วยความรัก
- ส่งเสริมการสอน การเรียนรู้ประสบการณ์ ซึ่งระหว่างกันของพยาบาลและผู้ป่วย ให้ความสนใจกับความเป็นหนึ่งเดียวของชีวิตและความหมายแบบอัตวิสัย ให้ความใส่ใจและอยู่กับกรอบอ้างอิงของผู้อื่น
- สร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมแห่งการบำบัด
- ช่วยเหลือโดยมุ่งตอบสนองความต้องการของบุคคล โดยให้ความเข้าใจความต้องการทั้งในด้านพยาบาลและผู้ป่วย
- เปิดรับพลังทางจิตวิญญาณ สิ่งลึกลับและยังไม่มีคำอธิบายอันเกี่ยวกับการมีชีวิต ความตาย
ปัจจัยการดูแล 10 ประการ และกระบวนการปฏิบัติการด้วยความรักเพื่อการดูแล (Clinical caritas process) ถือเป็นกรอบการทำงาน (Framework) และเป็นความเชื่อหลัก (Core) ในการปฏิบัติการพยาบาล
โดยวัตสันอธิบายว่า การดูแลต้องเชื่อมโยงกับความรัก (คำว่า Caritas
มาจากภาษาละตินซึ่งมีความหมายถึงความรักของมนุษย์ และความเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่
(Charity))
การดูแลไม่ได้มาจากพฤติกรรมหรือความรู้สึกเพียงเท่านั้นหากแต่กอปรขึ้นมาจากความเป็นมนุษย์
การดูแลจึงไม่ใช่สิ่งที่เป็นนามธรรม และไม่ได้เป็นเพียงปรัชญา
แต่การดูแลคือสิ่งที่ปฏิบัติและสัมผัสได้ (Erikkson, 1994; Watson, 2008)
การนำของปัจจัยการดูแล 10 ประการ (Ten carative factors)
และกระบวนการปฏิบัติการด้วยความรักเพื่อการดูแล (Clinical caritas process)
ไปใช้ในการพยาบาล สามารถสรุปรายละเอียดได้ดังนี้
- สร้างระบบค่านิยมการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น และมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
- สร้างความศรัทธาและความหวัง
- ปลูกฝังความไวต่อความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
- สร้างสัมพันธภาพการช่วยเหลืออย่างไว้วางใจ
- ส่งเสริมและยอมรับความรู้สึกทางบวกและทางลบ
- ใช้วิธีการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เพื่อการตัดสินใจ
- ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เข้าถึงจิตใจผู้อื่น
- ประคับประคอง สนับสนุน และแก้ไขสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ จิตสังคม และจิตวิญญาณ
- พึงพอใจที่จะช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่น
- ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น-พลังที่มีอยู่
ภูมิหลังของผู้พัฒนาทฤษฎี
ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
แกนหลักของทฤษฎีการดูแล
ปัจจัยการดูแล 10 ประการ
และกระบวนการปฏิบัติการด้วยความรักเพื่อการดูแล
มโนมติหลักของการพยาบาลในทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
ประโยชน์และการนำไปใช้ทางการพยาบาล
การใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสันในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
การใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสันเพื่อพัฒนาความรู้ทางการพยาบาลโดยการวิจัย
ความท้าทายของการใช้ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน
เอกสารอ้างอิง