สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ปัญหาความตื่นตัวทางการเมือง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น จะต้องเป็นการมีส่วนร่วมแบบสมัครใจ
ไม่ใช่เป็นแบบปลุกระดม สำหรับการมีส่วนร่วมแบบเสรีหรือแบบสมัครใจนี้จะเกิดขึ้นได้
เมื่อประชาชนมีความสำนึกทางการเมืองหรือความตื่นตัวทางการเมืองเสียก่อน
คนไทยยังมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่ในระดับต่ำ เช่น การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ซึ่งมีอัตราส่วนน้อยกว่าร้อยละ 50
ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงผู้ที่ไปออกเสียงก็มักจะถูกจ้างวาน ชักจูงหรือถูกระดมไป
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยจากอดีตเป็นต้นมา ส่วนใหญ่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม
ทั้งในด้านการสนับสนุนหรือการต่อต้าน
แสดงให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความนิ่งเฉยทางการเมือง
ส่วนมากอยู่ในกลุ่มของผู้นำทางการเมืองไม่กี่กลุ่มกี่ตระกูล แม้แต่การปฏิวัติเมื่อ
พ.ศ.2475
ก็ตามเหตุการณ์ที่แสดงถึงความตื่นตัวทางการเมืองและการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวางคือ
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีประชาชน นิสิต นักศึกษา นักเรียน
ร่วมกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญต่อต้านการปกครองของจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส
จารุเสถียรและพันเอกณรงค์ กิตติขจร ผู้นำของประเทศขณะนั้น
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนคือบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
(พคท.)กล่าวได้ว่า พคท. มีบทบาทอย่างมาก
ในการปลุกเร้าความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในชนบท แต่เป็นประเภทผิดกฎหมาย คือ
การล้มล้างรัฐบาล ระบบการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคมโดยการใช้กำลังและความรุนแรงดังนั้นปัญหาสำคัญของการมีส่วนร่วมของไทยอย่างหนึ่ง
คือ ประชาชนยังมีความนิ่งเฉย หรือไม่ตื่นตัวทางการเมืองมากพอ
รูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การดำเนินกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มต่อปัญหาการเมือง
เศรษฐกิจและสังคม
กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรงของประชาชน
ข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ปัญหาวัฒนธรรมทางการเมืองและการศึกษา
ปัญหาจากบทบาทของพรรคการเมือง