สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

 

รัฐ (State)

องค์ประกอบของรัฐ

4. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty)

อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดที่รัฐใช้ปกครองบังคับบัญชาปวงชนภายในรัฐอย่างอิสระ มิให้ตกอยู่ภายใต้การบงการของรัฐอื่น จึงจะเรียกว่ามีความเป็นรัฐอย่างสมบูรณ์หรือรัฐอธิปัตย์ ความเป็นรัฐอธิปัตย์นี้ทำให้มีความแตกต่างกันจากรัฐอารักขา ซึ่งถึงแม้ว่ารัฐอารักขาจะมีดินแดน มีประชากร มีรัฐบาล ก็หาได้ถือว่าเป็นรัฐที่สมบูรณ์ไม่ เพราะไม่มีอิสระในการดำเนินกิจกรรมเพื่อปวงชนได้โดยอิสระ ดังนั้นอำนาจอธิปไตยจึงมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ คือ “เป็นอำนาจเด็จขาด (Absoluteness) เป็นอำนาจทั่วไป (Comprehensiveness) เป็นอำนาจถาวร (Permanence) และเป็นอำนาจที่แบ่งแยกไม่ได้ (Indivisibility) แต่ถ้าจะแบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็นประเภทนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. อำนาจอธิปไตณะนั้นปฏิบัติหน้าที่ผ่านองค์การหรือเครื่องมือสาธารณะ และต้องอยู่ภายในกรอบการปฏิบัติตามควรและย่อมถูกจำกัด
ฉะนั้นรัฐทุกรัฐจะต้องมีอำนาจอธิปไตยไว้ให้เพื่อบริหารประเทศทั้งกิจกรรมภายในประเทศและกิจกรรมระหว่างประเทศ จึงถือว่ารัฐมีความเป็นอิสระ แต่ถ้าจะกล่าวถึงความเป็นเจ้าของแห่งอำนาจอธิปไตยนั้น อาจมีแนวคิดแตกต่างกัน คือ ในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย จะถือว่าอำนาจอธิปไตย คือ อำนาจของประชาชนภายในรัฐทุกคน ส่วนประเทศที่ปกครองโดยระบบเผด็จการอาจจะมีแนวความคิดว่าอำนาจอธิปไตย คือ อำนาจของบุคคลระดับสูง คือผู้บริหารประเทศเท่านั้น

จากองค์ประกอบของรัฐทั้ง 4 ประการที่กล่าวมานั้นแต่ละอย่างล้วนแต่มีความสำคัญที่รัฐจะขาดเสียมิได้ เพราะถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งขาดไปความสมบูรณ์ของรัฐย่อมจะไม่เกิดขึ้น ยิ่งองค์ประกอบอย่างที่ 4 คือ อำนาจอธิปไตยนั้นยิ่งมีความสำคัญมาก เพราะองค์ประกอบอันนี้จะเป็นตัวชี้หรือบ่งบอกความเป็นอิสระของรัฐ นั้นหมายความว่า ถ้าประเทศใดขาดอำนาจอธิปไตย ซึ่งเราถือว่าเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเสียแล้ว การบริหารประเทศหรือการปกครองประเทศไม่เป็นไปอย่างอิสระเหมือนกับประเทศอินเดียเมื่อครั้งตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ แม้ประเทศอินเดียจะมีประชากร มีดินแดน มีรัฐบาล ส่วนอำนาจอธิปไตยเป็นของประเทศอังกฤษ ดังนั้นการบริหารประเทศจึงขึ้นอยู่กับประเทศอังกฤษแม้แต่การจัดตั้งรัฐบาลก็จัดตั้งโดยประเทศอังกฤษ นี้คือความสำคัญยิ่งของอำนาจอธิปไตย

  1. ประชากร (Population)
  2. ดินแดน (Territory)
  3. รัฐบาล (Government)
  4. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty)

องค์ประกอบของรัฐ
การกำเนิดรัฐ (Origin of State)
การรับรองรัฐ (Recognition)
รูปของรัฐ (Forms of The State)
รูปของรัฐบาล (Forms of Government)
หน้าที่ของรัฐ (Functions of The State)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย