สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

 

รัฐ (State)

การกำเนิดรัฐ (Origin of State)

2. ทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract Theory)

ทฤษฎีนี้เป็นที่นิยมกันมากในภายหลังและมีอิทธิพลแทนทฤษฎีเทวสิทธิ์ ทฤษฎีอธิปไตยเป็นของปวงชน มีรากฐานจากความคิดที่ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างรัฐ โดยการที่มนุษย์ยินยอมร่วมกันทำสัญญาประชาคม (Social Contract) ปราชญ์ที่มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีนี้ได้แก่ โธมัส ฮ้อบส์ (Thomas Hobbes) และจอห์น ล็อค (John Locke) สองท่านนี้ได้ให้แนวคิดไว้แตกต่างกัน ดังมีสาระสำคัญดังนี้

โธมัส ฮ้อบส์ (Thomas Hobbes) มีอายุระหว่าง ค.ศ. 1588-1697 ปราชญ์ผู้นี้ได้เขียนทฤษฎีนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนกษัตริย์ในราชวงศ์สจ๊วต (Stuate) ของอังกฤษ (พ.ศ. 2205) ให้มีอำนาจปกครองรัฐอย่างสมบูรณ์ นั่นคือให้เกิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ทั้งนี้เพราะฮ้อบส์เชื่อว่า การปกครองที่กษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดจะทำให้รัฐมีความมั่นคงและมีระเบียบมากที่สุด คือตามแนวความคิดของฮอบส์ว่า มนุษย์เป็นผู้สร้างรัฐ โดยสภาพดั่งเดิมตามธรรมชาติของมนุษย์นั้นคือ ต่างคนต่างอยู่ ปราศจากกฎเกณฑ์และระเบียบวินัย มนุษย์จึงประสบแต่ความชั่วร้ายต่าง ๆ เช่น ความว้าเหว่ (Solitary) มีความยากจน (Poor) มีความสกปรก (Nays) และมีความโหดร้าย (Brutish) สภาพธรรมชาติทำให้เกิดสภาพ “อำนาจคือธรรม“ (Might is Right) อำนาจผันแปรไปตามบุคคล ฉะนั้นมนุษย์มีความจำเป็นต้องมีรัฐบาล มีระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ด้วยการท ำสัญญาร่วมกันในทำนองที่ว่า มนุษย์ยอมมอบอำนาจให้รัฐบาลทั้งหมด รัฐบาลทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดที่เรียกว่า “องค์อธิปไตย“ ประชาชนไม่มีสิทธิ์ที่จะปฏิวัติ แม้จะไม่พอใจนโยบายหรือวิธีการปกครอง เพราะผู้ปกครองไม่ถือว่าเป็นคู่สัญญากับประชาชน ฉะนั้นผู้ปกครองย่อมมีอำนาจจะกระทำการใด ๆ ได้ตามที่ตนต้องการ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือไม่ก็ตาม เพราะประชาชนได้เสียสละสิทธิตามธรรมชาติให้แก่ประมุขแล้ว รัฐบาลตามความหมายนี้จึงเป็นรัฐบาลหรือพระมหากษัตริย์ที่อยู่เหนือกฎหมาย

จอห์น ล็อค (John Locke) มีอายุระหว่าง ค.ศ. 1932 – 1704 นักปราชญ์ท่านนี้มีแนวความคิดว่า สภาพดั่งเดิมของมนุษย์อยู่ในสภาพธรรมชาติ คือ อยู่กันอย่างมีความสุข มีความมั่นคง มีความปลอดภัยและมีอิสรภาพเสรีภาพที่จะดำเนินการได้ตามใจปรารถนา มนุษย์จึงมีความพอใจจะอยู่ในสภาพธรรมชาติ แต่ในกาลต่อมามนุษย์เกิดมีความไม่มั่นใจในความสุขความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและความอิสรเสรีที่ตนได้รับนั้นจะมีอยู่ตลอดไป มนุษย์จึงหาทางป้องกันและหาทางออกโดยการจัดตั้งรัฐบาลขึ้น โดยการมอบอำนาจการปกครองให้บุคคลคณะหนึ่งซึ่งเรียกว่า รัฐบาล ซึ่งจะต้องมีลักษณะดังนี้

1. รัฐบาลเกิดจากมนุษย์ทำสัญญามอบอำนาจให้กับหน่วยปกครอง แต่รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อประชาชน
2. รัฐจะต้องกระทำตามเจตนารมณ์ของประชาชน เจตนารมณ์ของประชาชนย่อมอยู่เหนือสิ่งอื่นใด
3. ประชาชนสามารถเปลี่ยนคณะรัฐบาลได้ตามวาระ ถ้าเห็นว่ารัฐบาลนั้นไม่ปฏิบัติงานไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
4. รัฐบาลมีฐานะเป็นคู่สัญญากับประชาชนผู้มอบอำนาจให้ ฉะนั้นรัฐบาลจะทำอะไรตามความต้องการของตนไม่ได้

จัง จ๊าคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) มีอายุระหว่าง ค.ศ. 1712-1778 ซึ่งเป็นนักปราชญ์อีกท่านหนึ่งได้เขียนหนังสือขึ้นเพื่อสนับสนุนทฤษฎีสัญญาประชาคมว่า สภาพดั้งเดิมของมนุษย์เป็นเช่นเดียวกับ Hobbes คือ เป็นสภาพที่ขาดระเบียบวินัย มีความโหดร้ายทารุณ มีความสกปรก เข่นฆ่า เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน มนุษย์ไม่ต้องการสิ่งชั่วร้ายเหล่านั้น จึงหาวิธีการป้องกันสร้างสังคมใหม่ที่น่าอยู่ขึ้น โดยมนุษย์รวมกันตกลงเป็นเอกฉันท์จะก่อตั้งชุมชนทางสังคม (Social Community) ขึ้นอันจะนำไปสู่การก่อตั้งรัฐที่ถูกต้องตามหลักเหตุผลที่แท้จริง “ตามแนวความคิดของรุสโซ รัฐมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยยึดหลักเจตนารมณ์ที่มีเหตุผล คือ General Will ซึ่งเป็นพลังผลักดันให้รัฐปฏิบัติการทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั่วไป รุสโซนั้นเน้นถึงคุณลักษณะแห่งวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายมากกว่าจำนวนประชาชน ข้อตกลงใด ๆ ที่แม้ว่าประชาชนเห็นพ้องต้องกัน เรียกว่า The will of all แต่ถ้าข้อตกลงดังกล่าวไม่มีคุณลักษณะที่ดำเนินไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนในรัฐก็ไม่ถือว่าเป็น General Will เพราะสัญญาประชาคมตามความคิดของรุสโซ คือ เอกชนทุกคนยอมยกสิทธิตามธรรมชาติให้แก่ อธิปัตย์ (Sovereign) ซึ่งได้แก่ General Will ฉะนั้นจึงเท่ากับว่าเอกชนมอบสิทธิ์ให้แก่ชุมชนเป็นส่วนรวม”

จากแนวความคิดของรุสโซที่กล่าวมานี้ จึงพอสรุปสาระสำคัญแห่งลักษณะรัฐบาลของเขาได้ ดังนี้

1. รัฐนั้นจะต้องมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย
2. รัฐจะต้องปฏิบัติการทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขและสอดคล้องกับความประสงค์ของประชาชนส่วนใหญ่ (General Will)
3. เอกชนทุกคนยอมยกสิทธิตามธรรมชาติให้แก่อธิปัตย์ (Sovereign)ซึ่งได้แก่General Will นั้น
4. ชุมชนเป็นผู้กำหนดนโยบาย แต่รัฐบาลเป็นผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ
5. อำนาจอธิปไตยเป็นของชุมชน และอยู่ที่ชุมชนไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล
6.รุสโซไม่เห็นด้วยกับความคิดเรื่องรัฐสภา หรือประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนถือว่าอำนาจอธิปไตยนั้นมิอาจมอบให้แก่บุคคลใดได้ เพราะผู้แทนไม่สามารถแสดงออกหรือสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้จริง ประชาธิปไตยของรุสโซเป็นประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) แบบประชาธิปไตยของนครรัฐเอเธนส์และรัฐปาร์ต้า หรือประชาธิปไตยแบบหมู่บ้านสวิส ซึ่งประชาชนมาชุมนุมกันโดยตรง
7. ความประสงค์ของคนส่วนใหญ่ (General Will) นั้นต้องยึดหลักศีลธรรม หรือคุณธรรมเป็นแนวทาง มิฉะนั้นเสียงข้างมากก็จะกลายเป็นทรราชย์ข้างมาก (Majority Tyranny) ไปได้

จากแนวความคิดของนักปราชญ์ทั้ง 3 ท่าน คือ Hobbes, Locke ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีสัญญาประชาคม และ Rousseau ผู้สนับสนุน ต่างก็มีสาระสำคัญของทฤษฎีเหมือนกันในข้อที่ว่า “รัฐบาลเป็นผลมาจากสัญญาของประชาชน” คือ รัฐบาลได้มอบอำนาจจากประชาชน แต่การมอบอำนาจดังกล่าวนั้นมีลักษณะแตกต่างกันอยู่บ้าง คือ Hobbes ถือว่าประชาชนได้มอบอำนาจสิทธิธรรมชาติของตนทั้งหมดให้ผู้ปกครอง ประชาชนจะเรียกคืนหรือทวงถามคืนซึ่งอำนาจและสิทธิธรรมชาตินั้นมิได้โดยประการทั้งปวง แต่ Lock ถือว่ารัฐบาลเป็นรัฐบาลแบบประชาธิปไตยจะต้องรับผิดชอบต่อคู่สัญญา คือ ประชาชน และประชาชนสามารถที่จะทวงถามเรียกอำนาจและสิทธิธรรมชาติคืนได้ ส่วน Rousseau เชื่อว่ารัฐบาลจะต้องเป็นรัฐบาลแบบประชาธิปไตยโดยตรง และรัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ให้สอดคล้องกับความประสงค์ส่วนใหญ่ (General Will) แต่ในปัจจุบันนี้แนวความคิดที่ว่า รัฐบาลเกิดจากการทำสัญญาของประชาชนนั้นจะ มีไม่มากนัก แต่กลับจะเห็นไปว่ารัฐบาลเกิดจากความยินยอมของประชาชนยกอำนาจการปกครองให้อันจะนำไปสู่รากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นถ้าจะสรุปแนวความคิดของนักปราชญ์ทั้ง 3 คน ในทฤษฎีสัญญาประชาคมจะได้ใจความดังนี้

1. มนุษย์เป็นผู้สร้างรัฐ
2. มนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติ
3. รัฐเกิดจากการที่มนุษย์ร่วมกันทำสัญญา
4. รัฐต้องปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของประชาชน
5. รัฐที่ดีต้องมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย
6. เจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ที่รัฐต้องปฏิบัติตามก็คือ ต้องทรงไว้ซึ่งลักษณะคุณธรรมและศีลธรรม

  1. ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (The Theory of the Divine Origin of State)
  2. ทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract Theory)
  3. ทฤษฎีธรรมชาติ (The National Theory)
  4. ทฤษฎีพลกำลัง (The Force Theory)
  5. ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory)

องค์ประกอบของรัฐ
การกำเนิดรัฐ (Origin of State)
การรับรองรัฐ (Recognition)
รูปของรัฐ (Forms of The State)
รูปของรัฐบาล (Forms of Government)
หน้าที่ของรัฐ (Functions of The State)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย