สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

 

รัฐ (State)

การกำเนิดรัฐ (Origin of State)

3. ทฤษฎีธรรมชาติ (The National Theory)

ทฤษฎีธรรมชาตินี้ถือว่า รัฐเกิดขึ้นและวิวัฒนาการไปเองโดยธรรมชาติ คือมนุษย์ไม่อาจแยกตัวออกจากรัฐได้ เพราะรัฐช่วยให้คนอยู่รอดและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเองเป็นเครื่องผลักดันให้มนุษย์รวมตัวกันขึ้นเป็นรัฐหรือเป็นองค์กรทางการเมือง เพื่อการดำรงอยู่อย่างมั่นคงและปลอดภัย Aristotle นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณผู้ยึดถือทฤษฎีนี้ ให้ทัศนะว่า มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง (Political Animal) กล่าวคือ มนุษย์สามารถอาศัยรัฐเพื่อบำบัดความต้องการของตนเองและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับตนได้ ดังนั้นมนุษย์จะอาศัยรัฐเพื่อสร้างชีวิตที่ดีกว่า มนุษย์ต้องอยู่ในรัฐ สิ่งที่อยู่นอกรัฐมิใช่มนุษย์ ถ้าไม่ใช่ พระเจ้าก็ได้แก่สัตว์เดรัจฉาน Cicero กล่าวว่า การรวมตัวกันของมนุษย์ก็เพื่อสร้างรัฐ การสร้างรัฐมิใช่เป็นเพราะความอ่อนแอ ความทารุณโหดร้ายของธรรมชาติ หากเป็นเพราะมนุษย์มีจิตใจที่รวมกัน (Spirit of Congregation) เป็นเบื้องตนอยู่แล้ว

ตามแนวความคิดนี้ถือว่า รัฐเป็นธรรมชาติมีการเจริญเติบโตซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้ และเป็นสถาบันที่อำนวยแก่มวลมนุษย์ ความคิดดังกล่าวข้างต้นได้ถ่ายทอดมาจนปัจจุบัน แม้ว่านักปราชญ์บางคน เช่น Herbert Spencer ได้แปลความหมายความคิดของวิวัฒนาการ (Idea of Evolution) เพื่อที่จะลดความสำคัญของรัฐให้น้อยลงโดยสเปนเซอร์เน้นให้เห็นว่ารัฐควรมีหน้าที่เพียง 2 ประการเท่านั้น คือ การรักษาความสงบภายในรัฐและการดำเนินการตัดสินข้อพิพาทตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในส่วนที่เกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สินเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม มีนักปราชญ์บางคนกลับเชื่อว่า รัฐเป็นเสมือนสิ่งมีชีวิต (Living Organism) ซึ่งเป็นผลที่ทำให้เกิดความเชื่อว่า รัฐมีการเจริญเติบโตด้วยการขยายดินแดนของตนออกไป และในขณะเดียวกันรัฐก็มีการวิวัฒนาการในรูปที่ดีขึ้นโดยลำดับ สำหรับสำนักกลุ่มอุดมคติอังกฤษ (Idealist School) ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถือว่า รัฐเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริงมิใช่ของเทียมและเป็นพลังเพื่อทำให้เกิดความก้าวหน้าในการมีชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งต่อการดำรงอยู่ของรัฐ

  1. ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (The Theory of the Divine Origin of State)
  2. ทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract Theory)
  3. ทฤษฎีธรรมชาติ (The National Theory)
  4. ทฤษฎีพลกำลัง (The Force Theory)
  5. ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory)

องค์ประกอบของรัฐ
การกำเนิดรัฐ (Origin of State)
การรับรองรัฐ (Recognition)
รูปของรัฐ (Forms of The State)
รูปของรัฐบาล (Forms of Government)
หน้าที่ของรัฐ (Functions of The State)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย