สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
รัฐ (State)
รูปของรัฐบาล (Forms of Government)
3. รัฐบาลแบบกึ่งรัฐสภาและกึ่งประธานาธิบดี (Semi Parliamentary and Semi Presidential Government)
รัฐบาลแบบกึ่งรัฐสภาและกึ่งประธานาธิบดีนี้เป็นรัฐบาลลักษณะผสมผสานระหว่างรัฐบาลแบบรัฐสภาที่สภามีอำนาจสูงสุดในการบริหารโดยฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติจะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และรัฐบาลแบบประธานาธิบดีที่ถือว่าหน่วยอำนาจทั้งสามส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ มีที่มาและแยกอำนาจกันโดยเด็ดขาดทั้งสามฝ่ายมีการปฏิบัติงานอย่างอิสระ สำหรับรัฐบาลแบบกึ่งรัฐสภาและกึ่งประธานาธิบดีนี้ มีการจัดการปกครองในประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศแรก ซึ่งการปกครองในรูปของรัฐบาลนี้ ประธานาธิบดีซึ่งมาจากเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส่วนคณะรัฐมนตรีจะมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี นอกเหนือจากสมาชิกรัฐสภา ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและประธานาธิบดีมีอำนาจควบคุมคณะรัฐมนตรีที่จะไม่ให้ประพฤติในทางเสื่อมเสียหรือเป็นอันตรายต่อประเทศชาติและประธานาธิบดีในรูปแบบนี้ไม่อยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารเหมือนกับระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดี
ลักษณะที่สำคัญของรูปของรัฐบาลแบบนี้ คือ
1. ประมุขของรัฐ เป็นประธานาธิบดีซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงเป็นประมุขที่มีบทบาททางการเมือง คือมีอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจยุบสภาผู้แทนได้ทุกกรณีประธานาธิบดีจึงอยู่ในฐานะเป็นดุลถ่วงอำนาจของรัฐสภามิให้ใช้อำนาจข่มขู่ฝ่ายบริหารจนทำให้ขาดเสถียรภาพในการบริหารประเทศได้
2. รัฐสภา รัฐบาลแบบนี้อาจจะมีสภาเดียวหรือสองสภาก็ได้ สมาชิกรัฐสภาในระบบนี้จะมีอำนาจมากกว่าสมาชิกรัฐสภาในระบบประธานาธิบดี แต่มีอำนาจน้อยกว่าสมาชิกรัฐสภาในระบบรัฐสภากล่าวคือ อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร โดยวิธีตั้งกระทู้ถามและเปิดอภิปรายได้ (ระบบประธานาธิบดี ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอำนาจตั้งกระทู้ถามและเปิดอภิปรายฝ่ายบริหาร) แต่สมาชิกรัฐสภาไม่สามารถดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีในขณะเดียวกันได้ ถ้าอยากเป็นรัฐมนตรีต้องลาออกจากสมาชิกรัฐสภา
3. คณะรัฐมนตรี คือ คณะบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารประเทศ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี จากบุคคลที่มิใช่สมาชิกรัฐสภา คณะรัฐมนตรีซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า จะต้องรับผิดชอบต่อประธานาธิบดีและต่อรัฐสภาด้วย ทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภามีอำนาจทำให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้
4. ศาล เป็นสถาบันอิสระ มีบทบาทในทางศาลโดยการพิจารณาอรรถคดีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาไปตามกฎหมาย แต่ไม่มีอำนาจจะพิจารณาว่ากฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติหรือคำสั่งของฝ่ายบริหารได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่นเดียวกับศาลในระบบรัฐสภา
5. ในทางปฏิบัติ แม้รัฐบาลในระบบนี้จะดำเนินไปอย่างราบรื่นในประเทศที่มีพรรคการเมืองน้อยพรรคและเป็นพรรคการเมืองที่มีระเบียบวินัยก็ตาม แต่ประเทศที่ไม่มีพรรคการเมืองในลักษณะดังกล่าวก็อาจจะดำเนินการตามระบบนี้ได้อย่างราบรื่นพอสมควร เพราะว่าประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะประนีประนอมหรือไกล่เกลี่ยมิให้รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีปะทะกันอย่างรุนแรงได้ คือถ้าประธานาธิบดีเห็นว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดความรับผิดชอบประธานาธิบดีก็สามารถใช้อำนาจในฐานะประมุขลงโทษได้ อาจจะเป็นการปลดคณะรัฐมนตรีหรือยุบสภาเสียก็ได้
6. กล่าวโดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลแบบนี้มีลักษณะเป็นแบบผสม โดยนำหลักการที่ดีของระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีมาผสมผสานกันปฏิบัติ และแต่ละประเทศอาจจะผสมต่างกันไปไม่จำเป็นจะต้องเหมือนของฝรั่งเศสเสมอไป เช่น ประเทศอินเดียใช้ระบบรัฐสภาเป็นหลัก แต่นำเอาวิธีการบางอย่างของระบบประธานาธิบดีมาใช้ คือกำหนดให้ศาลสูงสุดมีอำนาจชี้ขาดว่ากฎหมายของรัฐสภาหรือคำสั่งของคณะรัฐมนตรีขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่โดยที่มาชองฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและประธานาธิบดีแล้วอินเดียต่างจากฝรั่งเศส คือ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนประธานาธิบดีนั้นได้มาจากการแต่งตั้งและไม่มีอำนาจทางการเมืองด้วยเป็นเพียงเจ้าพิธีเท่านั้น
การแบ่งรูปรัฐบาลเป็นสามรูปแบบนี้ เป็นการแบ่งรูปของรัฐบาลในระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น กล่าวคือ รูปของรัฐบาลที่ใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศแทนประชาชน แต่รัฐบาลยังต้องใช้อำนาจอยู่ในกรอบความรับผิดชอบและอยู่ภายใต้ความควบคุมของประชาชนอยู่เสมอนั้นหมายความว่า รัฐบาลจะไม่ใช้อำนาจอธิปไตยที่ได้รับจากประชาชนนั้นอย่างฟุ่มเฟือย จะใช้ไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อรัฐบาลไม่สามารถทำตามเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ได้แล้ว ประชาชนมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทนรัฐบาลชุดเดิมได้ แต่อย่างไรก็ตามประเทศที่ปกครองด้วย ระบบเผด็จการบางประเทศหรือหลายประเทศ ซึ่งอ้างว่าคนปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็อาจจะนำเอารูปแบบของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปใดรูปหนึ่งไปใช้ แต่ในทางปฏิบัติที่แท้จริงหาได้นำไปใช้ไม่ ดังนั้นแม้จะมีชื่อแต่หลักของการปฏิบัติไม่นำเอา ไปใช้จึงไม่น่าจัดเข้าอยู่ในข่ายของรัฐบาลทั้งสามรูปแบบตามที่กล่าวมาแล้วนี้ได้
- รัฐสภาแบบรัฐสภา
- รัฐสภาแบบประธานาธิบดี
- รัฐสภาแบบกึ่งสภาและกึ่งประธานาธิบดี
องค์ประกอบของรัฐ
การกำเนิดรัฐ (Origin of State)
การรับรองรัฐ (Recognition)
รูปของรัฐ (Forms of The State)
รูปของรัฐบาล (Forms of Government)
หน้าที่ของรัฐ (Functions of The State)