สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
กฎหมายภายในประเทศ ( National Law )
หมายถึงกฎหมายที่ใช้ภายในรัฐ ต่อบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ในรัฐ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้น หรือพลเมืองของประเทศอื่น กฎหมายภายในประเทศ ยังอาจแบ่งย่อยออกไปได้อีกคือ
ถ้าแบ่งโดยถือเนื้อหาของกฎหมายเป็นหลัก จะแบ่งได้เป็น กฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ได้บัญญัติขึ้น โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เป็นกฎหมายที่มีตัวตนในรูปลายลักษณ์อักษร เป็นหลักเป็นฐาน สามารถอ้างอิงได้ และกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติขึ้น โดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ซึ่งได้แก่ จารีตประเพณี
ถ้าแบ่งโดยถือสภาพบังคับในกฎหมายเป็นหลัก ก็จะแบ่งได้เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
ถ้าแบ่งโดยถือลักษณะการใช้ และคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก ก็จะแบ่งได้เป็นกฎหมาย สารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน โดยบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่างๆเอาไว้ และกฎหมายสบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการใช้ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติ เช่น อำนาจการจับกุม การสอบสวน การพิจารณาและการดำเนินคดีเป็นต้น
ถ้าแบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน เป็นหลักในการพิจารณาก็จะแบ่งออกเป็น กฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน การแบ่งกฎหมายเป็น 2 ประเภทนี้ นิยมทำกันในประเทศที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น ในฐานะที่เนื้อหาของบทนี้ กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม ดังนั้น จึงจะนำเสนอการแบ่งประเภทกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน โดยละเอียดกว่าการแบ่งประเภทอื่น
กฎหมายเอกชน ( Private Law )เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน ในฐานะที่เท่าเทียมกัน โดยกำหนดหลักการ มาตรการ และหลักประกันต่างๆที่ไม่ให้บุคคลละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน หรือเอารัดเอาเปรียบกัน จนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น สาขาของกฎหมายเอกชนมีดังนี้
1. กฎหมายแพ่ง ( Civil Law ) เป็นบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเริ่มตั้งแต่เกิดไปจนกระทั่งตาย โดยบัญญัติถึงสิทธิ หน้าที่ ของเอกชนโดยทั่วไป เช่น การมีสภาพบุคคล ทรัพย์ นิติกรรม ครอบครัว เป็นต้น
2. กฎหมายพาณิชย์ (Commercial Law ) เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลที่มีอาชีพในการพาณิชย์ เช่น การค้า การอุตสาหกรรม การธนาคาร บุคคลเหล่านี้มีธุรกิจมากกว่าบุคคลธรรมดา เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัท ธุรกิจดังกล่าวมีผลกระทบถึงประชาชน ก็ต้องมีกฎหมายเป็นพิเศษไว้
บางประเทศ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะแยกออกจากกัน เป็นคนละประมวล กฎหมาย แต่บางประเทศ เช่น ไทย เราเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องทางแพ่ง และทางพาณิชย์มารวมไว้ด้วยกัน จัดระเบียบให้เข้ากัน เป็นหมวดหมู่ เรียกว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีทั้งหมด 6 บรรพ คือ
บรรพที่ 1 เป็นเรื่องหลักทั่วไป เช่น เรื่องอของบุคคล นิติบุคคล ทรัพย์ นิติกรรม
เป็นต้น
บรรพที่ 2 ว่าด้วยเรื่องหนี้ เช่น เจ้าหนี้ ลูกหนี้ สิทธิ สัญญา เป็นต้น
บรรพที่ 3 ว่าด้วยเรื่องเอกเทศสัญญา เช่น การซื้อ ขาย เช่า ยืม การจำนำ
จำนองเป็นต้น
บรรพที่ 4 ว่าด้วยเรื่องของทรัพย์สิน เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง เป็นต้น
บรรพที่ 5 ว่าด้วยเรื่องของครอบครัว
บรรพที่ 6 ว่าด้วยเรื่องของมรดก พินัยกรรม
3. กฎหมายอื่นๆ เช่น
ก. ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจำกัดสิทธิในการมีที่ดิน ของบุคคลบางประเภท เช่น
คนต่างด้าว
ข. พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่านา
ค. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์
ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ให้แตกต่างไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองลูกจ้าง (พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ มีลักษณะกึ่งกฎหมายมหาชน
และกึ่งกฎหมายเอกชน เพราะมีบัญญัติให้เจ้าพนักงานเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น
เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท)
กฎหมายมหาชน ( Public Law ) เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ กับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครอง และบริหารประเทศ รัฐจะต้องมีอำนาจที่จะบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม ประชาชนสามารถอาศัยอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งภายในรัฐ และมีบทบาทสำคัญในการบริหารประเทศ เพราะรัฐใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม กฎหมายมหาชนจึงมีบทบัญญัติ เกี่ยวข้องกับมหาชนเป็นส่วนรวม การกระทำใดๆที่กระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ก็อยู่ในข่ายของกฎหมายมหาชนทั้งสิ้น กฎหมายมหาชนเมื่อบัญญัติขึ้นเป็นกฎหมายแล้ว ก็จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้บังคับใช้ สาขาของกฎหมายมหาชนมีดังนี้
1. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายหลักของประเทศ ซึ่งกำหนดโครงร่างและกระบวนการการปกครองประเทศ อย่างกว้างๆ เช่น กำหนดรูปแบบของรัฐ วิธีการปกครอง ตลอดจนสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน
2. กฎหมายปกครอง ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการดำเนินการปกครอง โดยจะกล่าวถึงการจัดระเบียบแห่งองค์การปกครอง นั้นคือ จะมีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนความเกี่ยวพันระหว่างหน่วยงานของรัฐกับราษฎร
3. กฎหมายอาญา ได้แก่ กฎหมายซึ่งบัญญัติถึงความผิดต่างๆที่เกี่ยวข้องกระทบกระเทือนมหาชน ชุมชน หรือรัฐ วัตถุประสงค์ของกฎหมายก็เพื่อที่จะให้ความปลอดภัย สร้างความเป็นระเบียบของรัฐ ในกฎหมายอาญาจะกำหนดความผิด องค์ประกอบของความผิดและข้อห้ามมิให้กระทำหรือสั่งให้กระทำ ตลอดจนกำหนดโทษของผู้กระทำความผิด ซึ่งโทษทางอาญาที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายอาญาของไทย มีเรียงลำดับจากสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้คือ
1. ประหารชีวิต
2. จำคุก
3. กักขัง
4. ปรับ
5. ริบทรัพย์สิน
4. กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการจัดตั้ง ศาลและอำนาจในการพิจารณา พิพากษาของศาลและของผู้พิพากษา เช่น กล่าวถึงการตั้งศาลต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติ อำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต้องเป็นของศาลโดยเฉพาะ และผู้พิพากษาย่อมมีอิสระ ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
5. กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา กล่าวถึงหลักการต่างๆ เช่นการจับกุม ผู้สงสัยว่ากระทำความผิด การสืบสวน การสอบสวน การฟ้อง การพิจารณา การพิพากษา การบังคับคดี เป็นต้น
6. กฎหมายว่าด้วยวิธีการพิจารณาความแพ่ง มีสาระสำคัญกล่าวถึงการพิจารณาคดีแพ่ง การพิพากษา และการบังคับคดีแพ่ง เป็นต้น (กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตำราบางเล่มว่าเป็นกฎหมายมหาชน)
ความสำคัญระหว่างรัฐกับสังคม
กลไกในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ
กฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายตามแบบพิธี
การจัดลำดับความสำคัญของกฎหมาย
พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล
ที่มาของกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายภายในประเทศ (National Law)
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
วัฒนธรรมหรือประเพณี
ผลของการมีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม