สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
กฎหมายระหว่างประเทศ ( International Law )
ได้แก่กฎเกณฑ์ทั้งหลายที่กำหนดความเกี่ยวพัน ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกัน เกิดขึ้นได้จากความตกลง ที่ได้ทำขึ้นโดยทั่วไป เพื่อให้ประเทศอื่นเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกด้วย เช่นกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ นอกจากนี้ อาจมีความตกลง ซึ่งกระทำขึ้นระหว่างรัฐหนึ่ง หรือหลายรัฐที่เป็นคู่ภาคี เช่น บรรดาสนธิสัญญาทั้งหลาย ที่ทำขึ้นในลักษณะต่างๆ เมื่อทำเสร็จแล้วประเทศที่เป็นภาคี ให้สัตยาบันแล้ว ก็จะกลายเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ มีผลบังคับใช้ได้ นอกจากนั้นกฎหมายระหว่างประเทศยังอาจเกิดขั้นได้ จากจารีตประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมานาน ซึ่งบรรดารัฐทั้งหลายเห็นชอบด้วยกับแนวปฏิบัติที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐเหล่านั้น เช่น หลักปฏิบัติในการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต ที่จะต้องมีพิธีการต่างๆ ที่พึงปฏิบัติตามจารีตประเพณี และเรื่องเอกสิทธิ์ทางการทูต ที่มีมาเป็นเวลานานแล้ว เป็นต้น กฎหมายระหว่างประ เทศอาจแบ่งออกได้เป็น 3 สาขา คือ
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีการเมือง ( Public International Law )กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกัน ในการที่จะปฏิบัติต่อกันและกัน ในฐานะที่รัฐเป็นบุคคลตามกฎหมาย เช่น กล่าวถึงอำนาจอธิปไตย อาณาเขตของแต่ละรัฐ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้แทนแต่ละรัฐที่จะไปประจำประเทศต่างๆ และการทำสนธิสัญญาต่างๆ เป็นต้น
สำหรับกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมืองนี้ มีนักนิติศาสตร์บางท่านเห็นว่าไม่เป็นกฎหมายโดยแท้จริง เป็นเพียงแนวปฏิบัติที่สร้างขึ้นมา ใช้กันระหว่างสังคมประชาชาติทั้งนี้เพราะไม่มีสภาพบังคับที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีองค์กรที่มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ หรือตามมติของสังคมประชาติส่วนใหญ่ หรือคำพิพากษาของศาลโลก คงมีเพียงแต่เชิญชวนให้สมาชิกในสังคมประชาชาติ บีบบังคับในด้านต่างๆ เช่น ไม่ติดต่อค้าขายด้วยเพื่อเป็นการสร้างสภาพบังคับทางอ้อม การไม่มีองค์กรที่จะบังคับให้เป็นไปตามมติ หรือข้อตกลงที่ทำต่อกันไว้ ย่อมทำให้เกิดปัญหา คือการใช้กำลังทหารเข้าบังคับเสียเอง บางครั้งก็กลายเป็นสงครามเกิดขั้น อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนักกฎหมายอีกจำนวนมาก เห็นว่ากฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมือง เป็นกฎหมาย โดยบุคคลพวกนี้อ้างว่า กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ใช้บังคับแก่สังคมประชาชาติ จะนำมาเปรียบกับกฎหมายภายในที่ใช้บังคับแก่ประชา ชนย่อมไม่ได้
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ( Private International Law )เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างรัฐกัน เพราะในปัจจุบันการเดินทางติดต่อ สื่อสารไปมาหาสู่กัน ทำได้สะดวก รวดเร็ว ความสัมพันธ์กันในทางส่วนตัวหรือในทางธุรกิจการค้าย่อมมีเพิ่มมากขึ้น เช่น การสมรส ทรัพย์สิน ระหว่างสามีภรรยากองมรดก รวมถึงสัญชาติ ย่อมมีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดมาใช้บังคับ เพราะกฎหมายของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน จึงอาจเกิดการขัดกันแห่งกฎหมาย จึงจำเป็นต้องมีกฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลขึ้นมา เพื่อแก้ข้อขัดกัน โดยระบุว่า เรื่องนี้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ( Criminal International Law )เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการกระทำความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ เช่น บุคคลไปกระทำความผิด นอกประเทศของตน หรือกระทำความผิดทางอาญาในประเทศของตน แต่หนีไปอยู่นอกประเทศ นอกเหนืออำนาจของรัฐของบุคคลผู้นั้น จะลงโทษตามกฎหมายภายในได้ ประเทศต่างๆที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นอย่างดีก็มักจะร่วมมือกัน ในการปราบปรามอาชญากรรม เช่น ทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนต่อกัน หรือมีข้อตกลง ยอมรับรองให้ศาลของอีกรัฐหนึ่ง พิจารณาพิพากษาลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่กระทำความผิดนอกประเทศนั้นได้ ปัจจุบันไทยมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม สเปน อิตาลี เป็นต้น
สรุปแล้วกำหมายเป็นสิ่งผูกพัน เป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับสังคม สังคมจะมีระเบียบผู้คนในสังคมจะอยู่กันอย่างสงบสุข ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายและการใช้กฎหมายนั้น รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าและความเสื่อมของสังคม ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายด้วยเช่นกัน การเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับกฎหมาย จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน เป็นประโยชน์ทั้งในเรื่องการดำเนินชีวิตทำให้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ทั้งทำให้รู้เท่าทันคนในสังคม ไม่ถูกหลอกลวงหรือถูกข่มแหงรังแก และยังช่วยให้เข้าใจวิธีการปกครองของสังคมนั้นๆ ตลอดจนความสัมพันธ์ต่อสังคมอื่นๆ
กฎหมายมีลำคับศักดิ์ ความสำคัญไม่เท่ากัน กฎหมายมีศักดิ์สูงกว่า ย่อมยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า ในบรรดากฎหมายทั้งหมดนั้น รัฐธรรมนูญจัดเป็นกฎหมายที่สำคัญที่สุด มีศักดิ์สูงสุด เพราะเป็นกฎหมายที่เป็นหลักในการปกครองประเทศเป็นแม่บทในการวางระเบียบบริหารประเทศ รองลงมาเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภากฎหมายที่ออกโดยรัฐบาล และกฎหมายที่ออกโดยองค์การปกครองท้องถิ่น ตามลำดับ การศึกษาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญของประชาชนทั้งในด้านของการเป็นผู้อยู่ใต้ปกครอง และในด้านที่จะเข้าทำหน้าที่เป็นฝ่ายปกครอง
กฎหรือข้อบังคับ หมายถึงบทบัญญัติที่เป็นข้อบังคับ ซึ่งกำหนดขึ้นไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมาย ข้อบังคับจะเป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้รองลงมาจากกฎหมาย เพราะกฎหมายจะกำหนดแต่หลักการใหญ่ๆ แต่ในรายละเอียดของการปฏิบัติจะมีข้อกำหนดไว้ เป็นข้อบังคับ มักใช้ในหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในองค์กรต่างๆ ของรัฐ เช่น ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา หรือข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เหล่านี้เป็นต้น การกำหนดข้อบังคับขึ้นมาก็เพื่อให้การดำเนินการต่างๆนั้นเป็นไปโดยเรียบร้อย ไม่ให้เกิดความสับสนวุ่นวาย จนไม่สามารถควบคุมกันได้
ะเบียบ หมายถึงแบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดำเนินการให้มีลักษณะเรียบร้อย ระเบียบจะกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในเรื่องต่างๆในหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ เป็นไปในแนวทางเดียวกันไม่เกิดการขัดแย้งกัน หรือแตกต่างกัน ระเบียบที่กำหนดขั้นจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายที่เป็นเหมือนแม่แบบ เมื่อมีกฎหมายในเรื่องใดออกมา ก็มักจะต้องมีระเบียบ มีกำหนดแนวทางปฏิบัติออกมา เช่น เมื่อกฎหมายกำหนดให้มี องค์การบริหารส่วนตำบล ก็จะมีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
ความสำคัญระหว่างรัฐกับสังคม
กลไกในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ
กฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายตามแบบพิธี
การจัดลำดับความสำคัญของกฎหมาย
พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล
ที่มาของกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายภายในประเทศ (National Law)
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
วัฒนธรรมหรือประเพณี
ผลของการมีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม