สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของการปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญเป็นแม่บทของกฎหมายทั้งหลายทั้งปวงในประเทศ ถ้ากฎหมายใดที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นถือว่าเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ และโดยทั่วไปแล้ว รัฐธรรมนูญจะบัญญัติหลักการที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับการบริหารประเทศไว้ เช่น รูปของรัฐ การแบ่งอำนาจอธิปไตย สิทธิหน้าที่ของประชาชน และระเบียบแบบแผนของการปกครอง เป็นต้น
ในทุกประเทศไม่ว่าจะปกครองในระบอบใดย่อมจะมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองทั้งนั้น แต่ประเภทและที่มาของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นอาจจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะแต่ละประเทศอาจจะมีสาเหตุของการบัญญัติต่างกัน และบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนั้นก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลัทธิ อุดมการณ์ ปรัชญาทางการเมืองของแต่ละประเทศ แม้แต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญที่ใช้มาแล้วหลายฉบับนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา และรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับยังมีเนื้อหาในบทบัญญัติที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริหารประเทศในขณะนั้น ๆ ว่าจะต้องการอย่างไร ก็จะบัญญัติไปอย่างนั้น เพื่อสนองความต้องการของตัวเอง แต่ที่สำคัญและเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยกย่องรัฐธรรมนูญของไทยก็คือ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหลายต่อหลายครั้งก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญทุกฉบับยังยึดมั่นเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศตลอดมา
คำว่า รัฐธรรมนูญ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Constitution นั้น นักปราชญ์ได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันดังนี้
Aristotle ให้ทัศนะว่า รัฐธรรมนูญเป็นรากฐานที่กำหนดลักษณะโครงสร้างและการจัดสรรอำนาจทางการเมือง และยังแสดงออกถึงแนวการดำเนินชีวิตของราษฎร กล่าวคือ รัฐธรรมนูญของอริสโตเติลมีความหมายในเบื้องแรก เป็นเอกสารทางกฎหมายและทางการเมืองที่อธิบายถึงลักษณะการจัดระเบียบ ตำแหน่งหน้าที่และการแบ่งสรรอำนาจ
รัฐธรรมนูญในความหมายทั่วไป หมายถึง กฎหมายสูงสุดของรัฐที่มิได้บัญญัติขึ้นไว้อย่างแน่นอนชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ธรรมนูญนี้จะมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบและกระบวนการในการปกครอง ขอบเขต อำนาจและความรับผิดชอบขององค์การทางการเมือง การปกครองแห่งรัฐ (หรือที่เรียกว่า รัฐบาล) รวมตลอดถึงการกำหนดหลักประกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมูลฐานของพลเมือง กฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นถือว่ามีฐานะสูงกว่ากฎหมายประเภทอื่น ๆ
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้ให้ความหมายของรัฐธรรมนูญไว้ว่า รัฐธรรมนูญ
หมายถึง
กฎหมายที่กำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านี้ต่อกันและกัน
ในพจนานุกรมกฎหมายอเมริกัน (Blackis Law Dictionary)
ได้ให้ความหมายของรัฐธรรมนูญไว้ว่า รัฐธรรมนูญ คือ
กฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์และเป็นพื้นฐานของรัฐซึ่งอาจเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
โดยกำหนดลักษณะและแนวทางเกี่ยวกับรัฐบาลวางหลักพื้นฐานสำหรับรัฐบาลดำเนินตาม
จัดรูปแบบของรัฐบาลและกำหนดเกณฑ์กระจายและจำกัดบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
และวางหลักในการใช้อำนาจอธิปไตยว่ามีขอบเขตมากน้อยแค่ไหนเพียงไร
Buszar steven กล่าวว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดอำนาจในส่วนต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยระบุว่าจะใช้อำนาจอย่างไร และอำนาจของรัฐบาลมีมากน้อยเพียงไรเหนือประชาชน
สำหรับความหมายรัฐธรรมนูญอื่น ๆ ที่นักคิดนักปราชญ์ท่านให้ไว้มีหลายความหมาย คือ
Austin รัฐธรรมนูญ คือ สิ่งที่กำหนดโครงสร้างของการปกครองสูงสุด
Dicey รัฐธรรมนูญของรัฐประกอบด้วยกฎเกณฑ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นผลไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมในการแจกแจงการใช้อำนาจสูงสุดของรัฐ
Bryce รัฐธรรมนูญของรัฐประกอบด้วยบรรดากฎเกณฑ์หรือกฎหมายซึ่งกำหนดรูปแบบของรัฐบาล และกำหนดสิทธิหน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อรัฐบาลและรัฐบาลที่มีต่อพลเมือง
Woolsey รัฐธรรมนูญ คือ การรวบรวมบรรดาหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับอำนาจของรัฐบาล และสิทธิของราษฎร ตลอดจนการจัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับราษฎร
จากความหมายและทัศนะเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่นักปราชญ์หลายท่านได้ให้ไว้แล้วข้างต้นนั้น ถ้าพิจารณาให้ละเอียดแล้ว จะเห็นได้ว่า มีความแตกต่างกันเฉพาะถ้อยคำสำนวนเท่านั้น แต่ในด้านเนื้อหาสาระแล้วจะมีลักษณะความหมายคล้ายคลึงกัน แต่พอจะสรุปประเด็นสำคัญของรัฐธรรมนูญได้ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด (Supreme Law) ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐจะเห็นได้ชัดเจน คือ รัฐธรรมนูญจะบรรจุเฉพาะเนื้อหาสาระที่สำคัญที่สุดต่อการบริหารบ้านเมือง เป็นต้นแบบของกฎหมายอื่นในเวลาต่อมา กฎหมายใดที่มีบทบัญญัติขัดกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นเป็นโมฆะ ไม่มีผลทางปฏิบัติ
2. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลัก (Basic Law) หรือกฎหมายอันเป็นรากฐาน (Fundamental Law) หรือกฎหมายเบื้องต้น (Private Law) เพราะในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะระบุไว้เฉพาะเรื่องที่เป็นสาระสำคัญอย่างกว้าง ๆ ไม่มีรายละเอียด เช่น เรื่องของการดำรงตำแหน่งของฝ่ายบริหาร จำนวนสมาชิกแต่ละสภา การประชุมสามัญและวิสามัญ สิทธิหน้าที่ของประชาชน เป็นต้น กล่าวได้ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญอาจเปรียบเสมือนกฎหมายหลักที่กำหนดขอบเขตหรือสาระของกฎหมายต่าง ๆ นั้นเอง
3. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีความคงทนถาวร (Permanence) ยากต่อการแก้ไข กฎหมายรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศเป็นเครื่องมือสำหรับการปกครองประเทศเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนทุกถ้วนหน้า บทบัญญัติต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องที่มีสาระสำคัญ ๆ ดังนั้นจึงยากต่อการแก้ไขซึ่งเป็นผลดีต่อบ้านเมือง เพราะเท่ากับเป็นการสกัดกั้นมิให้องค์การบริหารบ้านเมืองแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปกครองประเทศตามอำเภอใจได้ แต่อาจมีผลเสียทำให้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารได้เช่นเดียวกัน อันเป็นผลทำให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนในการปกครองประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายที่ใช้เป็นหลักในการปกครอง ทั้งนี้เพื่อให้วิธีการดำเนินงานต่างๆ ทางการปกครองเป็นไปอย่างเรียบร้อย การทำงานของสถาบันทางการปกครอง หรือองค์การต่างๆ ของรัฐ มีการจัดแบ่งอำนาจหน้าที่กัน หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง เหล่านี้จะต้องมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้แน่นอน ชัดเจน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวก็คือรัฐธรรมนูญ
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเภทของรัฐธรรมนูญ (Classification of Constitution)
วิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ที่มาของรัฐธรรมนูญ
ประโยชน์และความจำเป็นของการมีรัฐธรรมนูญ
ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญไทย(ฉบับแรก-ฉบับปัจจุบัน)
ประวัติรัฐธรรมนูญไทย
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2490
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475
แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สรุปและวิเคราะห์