สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

รัฐธรรมนูญ (Constitution)

ความหมายของรัฐธรรมนูญ

คำว่า รัฐธรรมนูญ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Constitution ได้มีท่านผู้รู้หลายท่าน ได้ให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังนี้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ.2525ให้ความหมายว่า รัฐธรรมนูญ คือกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ

บรรพต วีระสัย และ สุขุม นวลสกุล ให้ความหมายว่ารัฐธรรมนูญ ได้แก่กฎเกณฑ์ ซึ่งกำหนดอำนาจของส่วน หรือหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลโดยระบุว่า จะใช้อำนาจอย่างไร และอำนาจของรัฐบาลมีมากน้อยเพียงใด ในการบริหารงาน

เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ อธิบายว่า รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายหลักของประเทศ ซึ่งบัญญัติว่าด้วยรูปของรัฐ รูปของรัฐบาลการแบ่งอำนาจอธิปไตย องค์การที่ใช้อำนาจอธิปไตย และความสัมพันธ์ระหว่างองค์การที่ใช้อำนาจ อธิปไตย ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของประชาชน

หยุด แสงอุทัยอธิบายว่า รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายที่กำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐเหล่านี้ต่อกันและกัน

ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทย์ อธิบายว่า รัฐธรรมนูญ (Constitution) หมายถึงเอกสารที่มีความศักดิ์สิทธิ์พิเศษทางกฎหมาย กำหนดกรอบแห่งองค์การปกครองแห่งรัฐ และหลักการสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ ปกครองรัฐ มีความมุ่งหมายให้ถาวรยั่งยืน โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมได้

ศาสตราจารย์ดร.สมภพ โหตระกิตย์ อธิบายว่าคำว่า “รัฐธรรมนูญ” มีความหมายสองนัยคือ ความหมายอย่างกว้าง รัฐธรรมนูญ ได้แก่ระบบกฎหมายจารีตประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งกล่าวถึง

(1) บรรดาองคาพยพ (organ) หรือสถาบันการเมืองของรัฐ
(2) หน้าที่ขององคาพยพของรัฐ หรือสถาบันการเมืองของรัฐ
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างองคาพยพของรัฐ หรือสถาบันการเมืองกับเอกชน
(4) ความสัมพันธ์ระหว่างองคาพยพของรัฐ หรือสถาบันการเมืองของเอกชน ฯลฯ ความหมายอย่างกว้างนี้ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ และหมายถึงรัฐธรรมนูญของอังกฤษด้วย

ส่วนความหมายอย่างแคบหมายถึง กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ เช่น การดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ การทำหน้าที่นิติบัญญัติหน้าที่บริหาร หน้าที่ตุลาการ ฯลฯ และกฎหมายนั้นได้จัดทำตามวิธีการที่กำหนดเป็นพิเศษแตกต่างจากกฎหมายธรรมดาและได้รับการยกย่องให้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ความหมายนี้ได้แก่รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี ไทย ฯลฯ

กล่าวโดยสรุปแล้วรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่วางระเบียบการปกครองรัฐในระดับสูง และกว้างขวางทั้งในส่วนรวมและในทุกทาง เป็นที่รวมแห่งกฎเกณฑ์การปกครองประเทศ และเป็นที่มาของกฎหมายทั้งหลาย รัฐธรรมนูญจึงมีฐานะเหนือกฎหมายอื่น ถ้ากฎหมายใดขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นจะใช้บังคับมิได้

รัฐธรรมนูญไม่ได้สร้างหรือก่อให้เกิดรัฐขึ้น แต่รัฐธรรมนูญเป็นเพียงสิ่งซึ่งแสดงว่ารัฐได้จัดตั้งขึ้นมาอย่างไร และจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งต่อความเป็นอยู่ของรัฐ รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เพราะการปกครองระบอบนี้เป็นการปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่ปกครองโดยบุคคล(Government of Law, not of Men) การปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นรัฐบาลมีอำนาจจำกัด และสิ่งที่จำกัดอำนาจของรัฐบาลได้ดีที่สุด คือรัฐธรรมนูญนอกจากนั้นในปัจจุบันยังมีความเชื่อกันว่า การมีรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นประชาธิปไตย หรือการพัฒนาทางการเมืองของประเทศอีกด้วย ส่วนจะเป็นประชาธิปไตยได้มากน้อยเพียงใดนั้น ก็ต้องดูรายละเอียดของเนื้อหาและแนวทางปฏิบัติในรัฐธรรมนูญนั้นๆ

 

ความหมายของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเภทของรัฐธรรมนูญ (Classification of Constitution)
วิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ที่มาของรัฐธรรมนูญ
ประโยชน์และความจำเป็นของการมีรัฐธรรมนูญ
ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญไทย(ฉบับแรก-ฉบับปัจจุบัน)
ประวัติรัฐธรรมนูญไทย
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สรุปและวิเคราะห์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย