สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

รัฐธรรมนูญ (Constitution)

ฉบับที่ 16 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

รัฐธรรมนูญฯ 2540 ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นธรรมนูญที่เกิดขึ้นจากความต้องการของประชาชนมากกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับรวมทั้งกระบวนการยกร่างซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)และมีการทำประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างและแสดงความคิดเห็นมากที่สุด ทำให้มีการให้สมญาว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้พยายามปฏิรูปการเมือง โดยเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีระบบตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านต่างๆ

รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้รัฐสภาเป็นสภาคู่ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 500 คนซึ่งมาจากเลือกตั้ง 2 ระบบผสมกัน คือแบบเขตเดียวเบอร์เดียว จำนวน 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ (Party list) จำนวน 100 คน ซี่งพรรคการเมืองต้องจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคละหนึ่งบัญชี ส่วนคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยทั่วไปกำหนดไว้สูงกว่า รัฐธรรมนูญฉบับก่อน โดยมีข้อกำหนดที่สำคัญคือผู้สมัครต้องสังกัดพรรคการเมืองและต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า สมาชิกผู้แทนราษฎรมีวาระ 4 ปี อีกสภาหนึ่งคือ วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 200 คน การที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจาการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญวุฒิสมาชิกมีวาระ 5 ปี วุฒิสภานอกจากมีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายแล้ว สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด มีสิทธิขอเปิดอภิปรายทั่วไปคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติ และมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบขอเปิดอภิปรายทั่วไปคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติ และมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งสำคัญๆ ได้แก่ คณะกรรมการเลือกตั้ง ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษย์แห่งชาติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญแบละตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน นอกจากนี้วุฒิสภาด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาเมื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแล้วมีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด รวมทั้งกรรมการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และกรรมการตรวจเงินแผ่นดินด้วย

ส่วนคณะรัฐมนตรีนั้นประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และคณะรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน โดยสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยการเสนอชื่อสมาชิก สภาผู้แทน ราษฏรซึ่งต้องมีสมาชิกสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรรับรอง และต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร การลงประชามติให้กระทำโดยเปิดเผย ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะเดียวกันไม่ได้ ต้องพ้นจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวัดถัดจากวันที่ครบ 30 วันนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ให้คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยไม่มีการลงมติไว้วางใจภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เข้ารับหน้าที่

ความหมายของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเภทของรัฐธรรมนูญ (Classification of Constitution)
วิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ที่มาของรัฐธรรมนูญ
ประโยชน์และความจำเป็นของการมีรัฐธรรมนูญ
ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญไทย(ฉบับแรก-ฉบับปัจจุบัน)
ประวัติรัฐธรรมนูญไทย
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สรุปและวิเคราะห์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย