สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

รัฐธรรมนูญ (Constitution)

สรุปและวิเคราะห์

รัฐธรรมนูญทั้ง16 ฉบับของไทยมีลักษณะที่ควรสังเกตบางประการคือ

ก.รัฐธรรมนูญได้ร่างขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ

(1)รัฐธรรมนูญ 7 ฉบับเกิดเนื่องจากการปฎิวัติรัฐประหาร ได้แก่ รัฐธรรมนูญ2490,2495,2502,2515,2519และ2534

(2)รัฐธรรมนูญ 8 ฉบับเกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามวิถีทางกฎหมาย คือ ขอแก้ไขตามวิธีการที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ และร่างขึ้นใหม่ตามวิธีการที่กำหนดในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ได้แก่ รัฐธรรมนูญ 2475,2489,2492,2511,2517,2521,2534และ2540

(3) 7 ฉบับได้ถูกล้มเลิกไปโดยการปฏิวัติหรือรัฐประหารได้แก่ รัฐธรรมนูญ 2489,2492,2495,2511,2517,2519และ2521

(4) 7ฉบับ ถูกล้มเลิกไปตามวิถีทางของกฎหมาย คือยกเลิกไปเพราะมีรัฐธรรมนูญถาวรใช้แทน ได้แก่ รัฐธรรมนูญ 2475(ชั่วคราว),2475,

ข.รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่ (ยกเว้นรัฐธรรมนูญ 2489,2492,2517,2521ภายหลังยกเลิกบทเฉพาะกาลและ2534 ไม่แยกข้าราชการประจำออกจาการเมือง คือยอมให้ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งทางการเมืองในขณะเดียวกันได้ ทำให้การปกครองของไทยมีลักษณะอำมาตยาธิปไตย

ค.รัฐสภาของไทยนับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมามี 2 รูป คือ รูปสภาเดียว และรูป 2 สภา และไม่เคยมีสักครั้งเดียวที่รัฐสภามาจากเลือกตั้งล้วน ถ้าไม่แต่งตั้งทั้งหมด ก็มีแต่งตั้งกับเลือกตั้งผสมกัน คือ

(1)สภาเดียวแต่งตั้งทั้งหมด ได้แก่ รัฐธรรมนูญ2475ชั่วคราว,2502,2515,2519,2520และ2534

(2)สภาเดียวโดยแต่งตั้งและเลือกตั้ง ได้แก่ รัฐธรรมนูญ 2475และ2495

(3)สองสภา โดยสภาหนึ่งเลือกตั้ง และอีกสภาหนึ่งแต่งตั้ง ได้แก่รัฐธรรมนูญ 2489(ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้พฤฒสภามาจากากเลือกตั้ง แต่มีบทเฉพาะกาลว่า วาระแรกให้สภาผู้แทนเป็นผู้เลือก)รัฐธรรมนูญ2490,2492,2511,2517,2521และ2534

(4) สองสภามาจากเลือกตั้งทั้งสองสภา รัฐธรรมนูญ 2540

1. รัฐธรรมนูญฉบับที่ประกาศใช้เป็นเวลานานที่สุด คือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ซึ่งใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2475 จนถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 และได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้นำมาใช้อีก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 และได้ใช้ต่อมาจนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2501 รวมเวลาใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประมาณ 21 ปี โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมรวม 4 ครั้ง

2. ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรนั้นมีเจตนาที่จะประกาศใช้เป็นการชั่วคราว แต่ก็ปรากฏว่าบางฉบับได้ใช้นานกว่าฉบับถาวรเสียอีก เช่น รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ใช้อยู่ถึง 9 ปี

3. รัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาร่างนานที่สุด ได้แก่ รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2511 คือ เริ่มร่างเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2504 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2511 รวมเวลา 7 ปี 11 วัน สิ้นค่าใช้จ่ายเฉพาะหมวดเงินเดือนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นเงินประมาณ 105 ล้านบาท

4. รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดมีเพียง 2 ฉบับ คือ ฉบับปี พ.ศ. 2489 และ ฉบับปี พ.ศ. 2517

5. รัฐธรรมนูญทั้ง 13 ฉบับได้กำหนดรูปสภาไว้ 2 รูป คือ

5.1 รูปสภาเดียว ได้แก่ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 (ชั่วคราว) รัฐธรรมนูญ 2475 รัฐธรรมนูญ 2495 รัฐธรรมนูญ 2502 รัฐธรรมนูญ 2515 และรัฐธรรมนูญ 2519

5.2 รูปสองสภา ได้แก่ รัฐธรรมนูญ 2489 รัฐธรรมนูญ 2490 รัฐธรรมนูญ 2492 รัฐธรรมนูญ 2511 รัฐธรรมนูญ 2517 รัฐธรรมนูญ 2520 และรัฐธรรมนูญ 2521

ความหมายของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเภทของรัฐธรรมนูญ (Classification of Constitution)
วิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ที่มาของรัฐธรรมนูญ
ประโยชน์และความจำเป็นของการมีรัฐธรรมนูญ
ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญไทย(ฉบับแรก-ฉบับปัจจุบัน)
ประวัติรัฐธรรมนูญไทย
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สรุปและวิเคราะห์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย