สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
ประเภทของรัฐธรรมนูญ (Classification of Constitution)
เราอาจแบ่งรัฐธรรมนูญได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้แบ่งจะใช้หลักการหรือลักษณะสำคัญอะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ในที่นี้จะแบ่งรัฐธรรมนูญโดยใช้หลักเกณฑ์ 7 อย่าง ซึ่งแต่ละอย่างแสดงให้เห็นลักษณะที่ตรงกันข้าม
1. รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรและรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีการแบ่งรัฐธรรมนูญเป็น 2 ประเภทนี้ใช้หลักที่ว่า รัฐธรรมนูญนั้นได้รับการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ถ้ามีการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ก็เรียกว่ารัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ถ้าไม่มีการเขียนไว้ก็เรียกว่ารัฐธรรมนูญจารีตประเพณี
รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร (Written Constitution) หมายถึงรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองประเทศกำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุด ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเช่นว่านี้ และหลักเกณฑ์ทั้งหลายทางการปกครองรวมอยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน
รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ที่ได้บัญญัติมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2332 นั้น ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแม่บทของรัฐธรรมนูญประเภทลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโลก ซึ่งเป็นแบบอย่างของรัฐทั้งหลายในปัจจุบัน รัฐต่างๆ ในปัจจุบันนี้เกือบทั้งหมด มีรัฐธรรมนูญประเภทลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น
รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี (Unwritten Constitution) หมายถึงขนบธรรมเนียมประเพณี และการปฏิบัติต่างๆ ที่สืบเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งมีลักษณะกำหนดรูปของการปกครองไว้ ซึ่งหลักเกณฑ์ต่างๆ ทางการปกครองไม่จำเป็นต้องเขียนไว้ เพราะกระทำปฏิบัติติดต่อกันมานานจนเป็นประเพณี แต่ก็อาจจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองที่เป็นแบบกฎหมายธรรมดาอีกหลายสิบฉบับ ไม่ได้เขียนรวมอยู่ในฉบับเดียวกัน ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ก็มีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญนั่นเอง
ข้อที่ควรสังเกตก็คือ การที่ประเทศใดจะมีรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร หรือ แบบจารีตประเพณีนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ประชาชน หรือประเทศจะเลือกเอาได้ เพราะรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีนั้นย่อมเกิดจากการวิวัฒนาการทางการปกครองทีละน้อยติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ส่วนประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากที่ไม่มีรัฐธรรมนูญ เป็นระบอบที่มีรัฐธรรมนูญโดยกะทันหันนั้น ไม่สามารถมีรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีได้ ต้องมีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ประเทศที่มีรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี จึงมีอังกฤษประเทศเดียว
อีกประการหนึ่ง ในความเป็นจริงนั้น ไม่มีประเทศใดในโลกที่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรอย่างเดียว หรือรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีอย่างเดียว ประเทศต่างๆ ย่อมต้องมีรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ประเภทปนกันอยู่ เพียงแต่ว่าจะมีประเภทหนึ่งปนอยู่กับอีกประเภทหนึ่งมากน้อยเพียงใดเท่านั้น ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษรเป็นการบัญญัติข้อความต่างๆ ไว้เป็นการล่วงหน้า อาจจะมีกรณีใดที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติไปอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อปฏิบัติเช่นนั้นไปนานๆ เข้าก็จะกลายเป็นจารีตประเพณีไป ดังนั้น เมื่อเกิดมีปัญหาในการปฏิบัติที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ ก็ต้องปฏิบัติไปตามประเพณีที่เคยปฏิบัติมา เช่นเดียวกับประเทศที่มีรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี เมื่อรัฐบาลจำเป็นต้องมีบทบัญญัติบางเรื่องในรัฐธรรมนูญ ที่ไม่สามารถเกิดขึ้น โดยวิวัฒนาการได้ก็ต้องตรากฎหมายออกมา เช่นอังกฤษก็มีกฎหมายธรรมดาหลายฉบับที่ออกโดยรัฐสภา ซึ่งมีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญเพราะบัญญัติ หรือกำหนดเรื่องของการปกครองไว้
2. รัฐธรรมนูญที่มีการแก้ไขธรรมดาและรัฐธรรมนูญที่มีวิธีการแก้ไขพิเศษ(Ordinary and Special Process Constitution)การแบ่งรัฐธรรมนูญเป็น 2 ประเภท โดยเกณฑ์นี้ใช้วิธีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นหลัก รัฐธรรมนูญที่มีวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมธรรมดานั้น หมายถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีวิธีการ เช่นเดียวกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายธรรมดา เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายธรรมดา ใช้เสียงข้างมากเกินครึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภา การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็กระทำเช่นเดียวกัน
ส่วนรัฐธรรมนูญที่มีวิธีการแก้ไขพิเศษนั้น หมายความว่าในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะต้องมีวิธีการแตกต่างและยากกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายธรรมดา เช่น กำหนดคะแนนเสียงของสมาชิกรัฐสภาให้มากกว่าธรรมดา (เช่น 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 4) หรือให้องค์การอื่น นอกเหนือจากรัฐสภามีส่วนในการแก้ไขด้วยหรือไม่ก็กำหนดให้ประชาชนมีส่วนมีเสียงในการแก้ไขโดยเอารัฐธรรมนูญฉบับที่แก้ไขแล้วนั้นไปให้ประชาชนวินิจฉัยโดยการออกเสียงประชามติ
มีการแบ่งประเภทรัฐธรรมนูญไว้ใกล้เคียงกับการแบ่งแบบนี้ คือแบ่งรัฐธรรมนูญออกเป็นประเภทยืดหยุ่น (Flexible) หรือแก้ไขได้ง่าย กับประเภทกระด้าง (Rigid) หรือ แก้ไขได้ยาก
3. รัฐธรรมนูญที่สูงกว่าสภานิติบัญญัติ และรัฐธรรมนูญที่ต่ำกว่าสภานิติบัญญัติ (Supreme over the Legislature and Inferior to the Legislature Constitution)การแบ่งรัฐธรรมนูญออกเป็น 2 ประเภทตามข้อนี้ ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับข้อ 2 คือแบ่ง ตามวิธีแก้ไข แต่มีแตกต่างจากข้อ 2 อยู่บ้างรัฐธรรมนูญที่สูงกว่าสภานิติบัญญัติ หมายถึง วิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมิได้เป็นอำนาจของรัฐสภา (สภานิติบัญญัติ) แต่เพียงองค์การเดียวเท่านั้น แต่ต้องมีองค์การอื่นนอกเหนือจากรัฐสภามีส่วนในการแก้ไขด้วย จึงจะมีผลใช้บังคับได้ เช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา การแก้ไขจะสมบูรณ์เมื่อสภาคองเกรส (Congress) ได้รับรองการแก้ไขนั้นแล้ว และมลรัฐไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 เห็นชอบด้วย เช่น รัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้นส่วนรัฐธรรมนูญที่ต่ำกว่าสภานิติบัญญัตินั้นหมายความว่า วิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา (สภานิติบัญญัติ) แต่เพียงองค์การเดียว เช่น รัฐธรรมนูญของนิวซีแลนด์ เป็นต้น
4. รัฐธรรมนูญรัฐเดี่ยวและรัฐธรรมนูญรัฐรวม ( Unitary and Federal Constitution ) การแบ่งรัฐธรรมนูญตามข้อนี้ใช้รูปของรัฐเป็นเกณฑ์แบ่ง รัฐเดี่ยว คือรัฐที่มีสภานิติบัญญัติแห่งเดียว และสภานี้มีอำนาจออกกฎหมายเพื่อการปกครองทั่วประเทศ โดยไม่มีสภานิติบัญญัติอื่นมีส่วนในการออกกฎหมายเลย ฉะนั้น รัฐธรรมนูญรัฐเดี่ยวคือ รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในประเทศที่มีสภาพเป็นรัฐเดี่ยว เช่น รัฐธรรมนูญของไทย ฝรั่งเศส สวีเดน นอรเวย์ นิวซีแลนด์ฯลฯ
รัฐรวม คือ รัฐที่มีสภานิติบัญญัติหลายสภาซึ่งเป็นการแบ่งอำนาจการปกครองบางส่วนจากรัฐบาลกลางให้มลรัฐ สภานิติบัญญัติของมลรัฐ ต่างก็มีอำนาจออกกฎหมายบังคับในเขตปกครองของตนได้ รัฐธรรมนูญรัฐรวม คือ รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในประเทศที่มีสภาพเป็นรัฐรวมตัวอย่าง เช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ฯลฯ
มีข้อสังเกตว่า รัฐธรรมนูญรัฐรวมนั้นมักจะมีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขได้ยากและสูงกว่านิติบัญญัติ
5. รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐและรัฐธรรมนูญกษัตริย์ ( Republican and Monarchical Constitution ) การแบ่งรัฐธรรมนูญตามข้อนี้ใช้ตำแหน่งประมุขของรัฐเป็นหลักในการแบ่ง ถ้ามีประมุขเป็นประธานาธิบดี ก็เป็นรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญฉบับใดบัญญัติให้มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ ก็เป็นรัฐธรรมนูญกษัตริย์การปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญนั้น กษัตริย์มีอำนาจจำกัด กษัตริย์เป็นแต่เพียงประมุขของรัฐเท่านั้น ไม่ได้บริหารประเทศ แต่มีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่บริหาร
สำหรับประธานาธิบดีในรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐนั้นมีอยู่ 2 ประเภท ประเภทแรกประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐ และทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา อีกประเภทหนึ่ง ประธานาธิบดี ทำหน้าที่เพียงประมุขอย่างเดียว ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารเลยอำนาจบริหารตกเป็นของนายกรัฐมนตรี เช่น อินเดีย
6. รัฐธรรมนูญที่แยกอำนาจเด็ดขาดและรัฐธรรมนูญที่แยกอำนาจไม่เด็ดขาด(Absolute Sepaiation of Power and Relative Separation of Power Constitution) การแบ่งรัฐธรรมนูญตามข้อนี้ ใช้หลักการแยกอำนาจเป็นเกณฑ์แบ่งรัฐธรรมนูญที่แยกอำนาจเด็ดขาด ได้แก่ รัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้องค์การทั้ง 3 องค์การ ที่ใช้อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ ต่างเป็นอิสระต่างหากจากกัน และควบคุมกันไม่ได้ บุคคลที่สังกัดอยู่ในอำนาจหนึ่งจะไปสังกัดอยู่ในอีกอำนาจหนึ่งไม่ได้(เช่น เป็น ส.ส. และเป็นรัฐมนตรีด้วยไม่ได้)
ส่วนรัฐธรรมนูญที่แยกอำนาจไม่เด็ดขาดนั้น ได้แก่ รัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ประสานงานกัน และควบคุมซึ่งกันและกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่สังกัดอยู่ในอำนาจนิติบัญญัติ ก็อาจจะไปสังกัดอยู่ในอำนาจบริหาร (ส.ส. เป็นรัฐมนตรีได้)
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติจริงๆ ไม่มีรัฐธรรมนูญของประเทศใดที่มีการแยกอำนาจเด็ดขาดเลย เพียงแต่ว่าอาจมีการแยกอำนาจมากหรือน้อยเท่านั้น
7. รัฐธรรมนูญที่วิวัฒนาการมาจากประวัติศาสตร์และรัฐธรรมนูญที่เป็นทฤษฎี (Historical and Theoretical Constitution)การแบ่งตามข้อนี้ใช้ที่มาของรัฐธรรมนูญนั้นๆ เป็นเกณฑ์ในการแบ่งรัฐธรรมนูญที่วิวัฒนาการมาจากประวัติศาสตร์ หมายถึงรัฐธรรมนูญที่วิวัฒนาการมาตาม กาลเวลาเรื่อยมาส่วนรัฐธรรมนูญที่เป็นทฤษฎี คือรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นจากทฤษฎีหรือแนวคิดในทาง ปรัชญาของบรรดานักปราชญ์ทั้งหลาย
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเภทของรัฐธรรมนูญ (Classification of Constitution)
วิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ที่มาของรัฐธรรมนูญ
ประโยชน์และความจำเป็นของการมีรัฐธรรมนูญ
ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญไทย(ฉบับแรก-ฉบับปัจจุบัน)
ประวัติรัฐธรรมนูญไทย
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2490
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475
แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สรุปและวิเคราะห์