สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
วิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ
จากประวัติศาสตร์จะเห็นได้ว่า รัฐต่างๆ อาจจะได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการต่างๆ คือโดยประมุขของรัฐมอบให้ โดยการร่างหรือโดยการกระทำของราษฎรโดยตรง โดยการปฏิวัติภายใน และโดยการวิวัฒนาการ
1. โดยประมุขของรัฐมอบให้ (By Grant)การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญโดยวิธีนี้อาจจะเป็นเพราะว่า พระมหากษัตริย์ทรงเห็นว่าควรจะจำกัดอำนาจการปกครองของพระองค์เองซึ่งไม่มีขอบเขตจำกัด และไม่มีวิธีการอันแน่นอนลงเสียบ้าง หรือมิฉะนั้นก็เพราะประชาชนทูลขอร้อง ขอให้กษัตริย์พระราชทานให้ หรือเพราะพระมหากษัตริย์ทรงเกรงว่าจะเกิดการปฏิวัติขึ้น ถ้าไม่พระราชทานรัฐธรรมนูญ ตัวอย่างของการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญโดยวิธีการเช่นนี้ ได้แก่ รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นที่จักรพรรดิ์แห่งราชวงศ์เมจิ (Meji) พระราชทาน ฯลฯ เป็นต้น
2. โดยการร่างหรือโดยการกระทำของราษฎรโดยตรง (By Deliberate Creation)รัฐธรรมนูญของหลายประเทศ ได้รับการประกาศใช้หลังจากที่มีการเกิดรัฐใหม่ขึ้นตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือ รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา สำหรับโปแลนด์ และเชคโกสโลวาเกีย ก็ได้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ประกาศใช้ภายหลังจากที่ได้รับการรับรองหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ว่าเป็นเอกราช เป็นที่น่าสังเกตว่า รัฐธรรมนูญที่ได้มาโดยวิธีการเช่นนี้มักจะเหมาะสมกับประเทศที่ประชาชนมีประสบการณ์ในทางการเมืองมามากพอ
3. โดยการปฏิวัติภายใน (By Internal Revolution)ในประเทศที่ราษฎรส่วนใหญ่ไม่พอใจในระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ และไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองด้วยวิธีธรรมดาได้ จึงต้องพร้อมใจกันยึดอำนาจทางการปกครองตัวอย่างประเทศที่ได้รัฐธรรมนูญมาด้วยวิธีนี้ก็เช่น ฝรั่งเศส
4. โดยการวิวัฒนาการ (By Gradual Evolution)ประเทศที่ได้รัฐธรรมนูญมาโดยวิธีนี้ ตอนแรก มักจะปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยก่อนแล้วต่อมาอำนาจการปกครองถูกเปลี่ยนมือจากกษัตริย์ไปยังกลุ่มตัวแทนของปวงชน ตามลำดับโดยการปฏิบัติเช่นนี้นานๆ และติดต่อกันมา อำนาจการปกครองที่แท้จริงจึงตกอยู่กับกลุ่มผู้แทนของปวงชน รัฐธรรมนูญประเภทนี้ถือเอาการปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นลักษณะสำคัญยิ่ง ซึ่งอาจไม่ได้บัญญัติลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ เช่น รัฐธรรมนูญของอังกฤษ ก็เกิดจากวิวัฒนาการทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ โดยอำนาจทางการปกครองค่อยๆ เปลี่ยนจากกษัตริย์ไปสู่ประชาชน โดยเริ่มจาก Magna Carta เมื่อปี ค.ศ. 1215 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่พระเจ้า จอห์น( John ) ยอมรับสิทธิบางอย่างของขุนนางและเอกชน ซึ่งจัดเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิประชาชนฉบับแรกของโลก และถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก และต่อจากนั้นมา ก็มีบทบัญญัติสิทธิด้านอื่นๆ ตามมา เช่น Petition of Right ค.ศ. 1629, Bill of Rig ht ค.ศ. 1689, Act of Settlement ค.ศ. 1701 ซึ่งบทบัญญัติเหล่านี้ทั้งหมดจัดเป็นรัฐธรรมนูญของอังกฤษ
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเภทของรัฐธรรมนูญ (Classification of Constitution)
วิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ที่มาของรัฐธรรมนูญ
ประโยชน์และความจำเป็นของการมีรัฐธรรมนูญ
ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญไทย(ฉบับแรก-ฉบับปัจจุบัน)
ประวัติรัฐธรรมนูญไทย
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2490
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475
แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สรุปและวิเคราะห์