สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
ประโยชน์และความจำเป็นของการมีรัฐธรรมนูญ
การปกครองประเทศไม่ว่าการจัดการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยหรือสังคมนิยมก็ตามจะต้องมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการจัดการปกครองว่า ผู้มีอำนาจบริหารประเทศจะต้องบริหารไปในแนวและทิศทางใด ผู้บริหารและประชาชนของประเทศย่อมที่จะได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญนั้น เพราะรัฐธรรมนูญจะกำหนดบทบาทหน้าที่สิทธิเสรีภาพของทุกฝ่ายไว้ในบทบัญญัตินั้นอย่างชัดเจน จึงเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญมีประโยชน์และมีความจำเป็นอย่างน้อย 4 ประการ คือ
1. รัฐธรรมนูญไม่ได้ก่อให้กำเนิดรัฐ แต่เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งต่อความเป็นอยู่ของรัฐสมัยปัจจุบัน รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องจักรกลการเมืองที่สำคัญที่สุดที่จะขาดเสียมิได้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศหรือประชาชนในประเทศต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด อันจักเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี และแม้ในประเทศที่ปกครองในระบอบสังคมนิยมก็ย่อมมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักสำคัญในการบริหารประเทศเช่นกัน
2. การมีรัฐธรรมนูญย่อมหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของรัฐ และเป็นเครื่องบ่งบอกว่า ผู้ปกครองรัฐนั้นปกครองประชาชนด้วยหลักนิติธรรม ซึ่งอำนาจการปกครองของประเทศถูกตราไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน มิได้ขึ้นอยู่กับการชอบใจหรือไม่ชอบใจของผู้ปกครองแต่อย่างไร (Government of Law, not of man)
3. รัฐธรรมนูญกำหนดบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการไว้อย่างชัดแจ้งว่ามีอย่างไร มากน้อยแค่ไหนเพียงไร ทั้งนี้ป้องกันมิให้แต่ละฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งนำสู่การปฏิวัติหรือรัฐประหารได้
4. รัฐธรรมนูญจำกัดอำนาจให้มีเพียงแต่ที่รัฐกำหนดไว้ รัฐสภามีหน้าที่ออกกฎหมายโดยความยินยอมเห็นชอบของตัวแทนราษฎร ฝ่ายบริหารจะจับกุมผู้ใดมาสอบสวนฟ้องร้องก็ต้องปรากฏว่ามีการกระทำผิดกฎหมาย และเช่นเดียวกันศาลจะมีอำนาจลงโทษได้ก็ต่อเมื่อบุคคลกระทำผิดกฎหมายเท่านั้น การจำกัดอำนาจไว้เช่นนั้นจะเป็นหลักประกันและช่วยผดุงความยุติธรรมให้ราษฎรมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรม
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเภทของรัฐธรรมนูญ (Classification of Constitution)
วิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ที่มาของรัฐธรรมนูญ
ประโยชน์และความจำเป็นของการมีรัฐธรรมนูญ
ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญไทย(ฉบับแรก-ฉบับปัจจุบัน)
ประวัติรัฐธรรมนูญไทย
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2490
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475
แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สรุปและวิเคราะห์