สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
กฎหมาย (Law)
ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งประเภทของกฎหมายโดยทั่วไปจะยึดหลักการแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ
1.การแบ่งประเภทของกฎหมายโดยการคำนึงถึงการที่ก่อให้เกิดสิทธิเสรีภาพผลประโยชน์ของประชาชน และการคุ้มครองป้องกันสิทธิเสรีภาพ ผลประโยชน์ของประชาชน รวมทั้งการกำหนดกระบวนวิธีการในการป้องกันสิทธิเสรีภาพ ผลประโยชน์ของประชาชน โดยหลักการนี้จะแบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 กฎหมายที่ก่อให้เกิดสิทธิ (Substantive Law) ได้แก่
กฎหมายที่รัฐได้บัญญัติขึ้นเพื่อให้เป็นหลักประกันแก่ประชาชน
เพื่อรับรองสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งผลประโยชน์อันชอบธรรมของปวงชนโดยส่วนรวม
1.2 กฎหมายที่กำหนดวิธีการป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน (Pocedural Law) หรือ
(Adjective Law)
เป็นกฎหมายที่ป้องกันรักษาและให้การคุ้มครองสิทธิที่ชอบด้วยกฎหมายของปวงชน
โดยกำหนดกระบวนการวิธีพิจารณาคดีของศาลว่าผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพหรือผลประโยชน์จะเป็น
โจทก์ ส่วนผู้ที่ละเมิดเสรีภาพของโจทก์จะเป็น จำเลย
2. การแบ่งกฎหมายโดยพิจารณาตามขอบเขตของการใช้บังคับตามความมุ่งหมายที่จะควบคุมบังคับระหว่างเอกชนต่อเอกชน ระหว่างเอกชนต่อรัฐและระหว่างรัฐต่อรัฐนั้น คือ
2.1 กฎหมายภายในประเทศ (National Law)
2.2 กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
จากการแบ่งกฎหมายโดยการยึดหลักทางภูมิศาสตร์หรือตามลักษณะการใช้ควบคุมบังคับของประชาชนในรัฐและการควบคุมความประพฤติ การปฏิบัติต่อกันระหว่างรัฐต่อรัฐใน 2 ประเภทหลังนี้ สามารถให้คำอธิบายได้ดังนี้
ความหมายของกฎหมาย
ความสำคัญของกฎหมาย
หลักเกณฑ์บางประการของการใช้กฎหมาย
ที่มาของกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย