สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

ประเภทของพรรคการเมืองไทย

พรรคการเมืองไทยนับตั้งแต่เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2489 นั้นจนถึงปัจจุบันมีพรรคการเมืองถูกตั้งขึ้นเป็นจำนวนมากมาย จะเห็นได้จากการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้งจะมีพรรคการเมืองจำนวนมากส่งสมาชิกพรรคลงรับสมัครเช่นในปี พ.ศ. 2518 มีพรรคการเมือง 45 พรรคได้ส่งสมาชิกลงสมัคร แต่การเกิดขึ้นหรือการก่อตั้งพรรคการเมืองจำนวนมากในประเทศไทยนั้น สามารถแยกประเภทตามวัตถุประสงค์และที่มาของพรรคการเมืองไทยได้ 5 ประเภท คือ

1.พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่บริหารประเทศก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง เพื่อหวังผลประโยชน์ในการที่จะให้พรรคการเมืองนั้นได้มีโอกาสรับเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด และได้จัดตั้งรัฐบาลต่อไป

2. พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่มีความคิดเห็นตรงกันข้ามกับพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลอยู่เดิม

3. พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนรัฐบาล

4. พรรคการเมืองที่ตั้งในลักษณะที่เป็นกลาง คือ มีความเห็นหรือแนวดำเนินการในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ เช่น กรณีที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกับรัฐบาลก็ให้ความสนับสนุน ส่วนในกรณีที่ไม่เห็นด้วยก็จะคัดค้าน พรรคการเมืองดังกล่าวนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นพรรคที่มีแนวนโยบายเพื่อประชาชนที่แท้จริง

5. พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ พรรคการเมืองในลักษณะนี้มักไม่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แน่นอน หากแต่ฝ่ายใดให้ประโยชน์ได้ก็จะเข้าดำเนินการทางการเมืองช่วยเหลือฝ่ายนั้น

พรรคการเมืองของไทยที่เป็นอยู่และมีมาในอดีตนั้นย่อมมีการจัดตั้งขึ้นมาบนพื้นฐานแห่งวัตถุประสงค์และอุดมการณ์ที่แตกต่างกันไป แต่อาจจะไม่มากนักเพราะจะเห็นได้ว่า เมื่อหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว พรรคการเมืองไม่ต่ำกว่า 3 พรรคมักจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาบริหารประเทศ จึงแสดงให้เห็นว่าวัตถุประสงค์ หลักการ อุดมการณ์ และนโยบายที่ไม่แตกต่างกันมาก สามารถที่จะปรับเข้าด้วยกันได้ ถ้ามีการจัดสรรผลประโยชน์ให้เกิดความยุติธรรม

รัฐสภา (Parliament)
ประเภทของรัฐสภา
พรรคการเมือง (Political Party)
ความหมายของพรรคการเมือง
องค์ประกอบของพรรคการเมือง
ความสำคัญของพรรคการเมือง
ระบบของพรรคการเมือง
โครงสร้างของพรรคการเมือง
บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองไทย
ประเภทของพรรคการเมืองไทย
การจัดตั้งพรรคการเมืองไทย
ลักษณะของพรรคการเมืองไทย
การเลือกตั้ง
ความสำคัญของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
หลักเกณฑ์ของการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย
วิธีการเลือกตั้งของไทย
การเลือกตั้งโดยวิธีรวมเขต
ข้อดีของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
ข้อเสียของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
การเลือกตั้งโดยวิธีแบ่งเขต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
วิธีดำเนินการเลือกตั้ง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย