สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ลักษณะของพรรคการเมืองไทย
แม้ว่าประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ยุคแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 และมีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นตั้งแต่ปี 2489 เป็นต้นมา พรรคการเมืองของไทยมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปในที่สุดตามกฎอนิจจังของพระพุทธองค์ แม้พรรคการเมืองจะมีการก่อตั้งขึ้นมาแล้วหลายสิบปี พรรคการเมืองของไทยในสมัยแรก ๆ ก็เกิดขึ้นจากกลุ่มข้าราชการทหารตำรวจที่เกิดจากสามัญชนจริง ๆ นั้นมีน้อยมาก และการดำเนินการตามขบวนการของพรรคการเมืองเป็นไปได้ไม่มาก เพราะสาเหตุหลายประการ เช่น คณะรัฐบาลบางยุคทำการควบคุมพรรคการเมืองมากเกินไป มีการปฏิวัติรัฐประหารและยุบสภา เป็นต้น ทำให้พรรคการเมืองไม่สามารถจะเผยแพร่อุดมการณ์ นโยบายให้หยั่งรากฝังแน่นลงไปในชุมชนได้ อีกอย่างหนึ่งพรรคการเมืองของไทยมีการจัดตั้งขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะเหตุที่ว่าพระราชบัญญัติพรรคการเมืองไม่ได้กำหนดจำนวนสมาชิกพรรคใน การเริ่มก่อตั้งพรรคครั้งแรกไว้อย่างรัดกุม จึงทำให้บางพรรคการเมืองในการเลือกตั้งในบางปี พรรคการเมืองหนึ่งมีผู้ลงรับสมัครผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียว ซึ่งเท่ากับพรรคอิสระหรือบางพรรคเมื่อตั้งขึ้นแล้วก็ไม่ส่งสมาชิกพรรคลงรับสมัครเมื่อมีคราวเลือกตั้งพรรคการเมืองของไทยจึงเป็นลักษณะกระจัดกระจายไม่เป็นพรรคใหญ่ มีพรรคการเมืองพรรคใหญ่ในประเทศไม่กี่พรรค และพรรคที่มีอุดมการณ์จริง ๆ ก็ไม่มาก สมาชิกพรรคเองก็ขาดอุดมการณ์ที่แน่นอน จะเห็นได้จากการเปลี่ยนพรรคสังกัดของผู้แทนราษฎรของไทยหลายสิบคนได้ประโยชน์จากพรรคไหนไปพรรคนั้น แม้ก่อนลงเลือกตั้งแต่ละครั้งผู้ที่จะสมัครบางคนมีการรอ มีการชั่งดู พรรคไหนให้เงินมากจะลงพรรคนั้น และพรรคไหนลงแล้วจะได้รับการเลือกตั้งก็จะลงพรรคนั้น อย่างสมัยพรรคกิจสังคมได้รับความนิยม ใคร ๆ ก็ลงสมัยสมัครในนามพรรคกิจสังคม เมื่อไม่ได้สังกัดก็ไม่ลงรับสมัคร อันนี้แสดงให้เห็นว่า นักการเมืองในเมืองไทยลงสมัครเลือกตั้งโดยไม่คำนึงถึงอุดมการณ์ของพรรค นโยบายของพรรคหวังแต่ได้เป็นผู้แทนเป็นสำคัญ มีจำนวนอยู่ไม่น้อย แต่นักการเมืองที่ดีมีอุดมการณ์ของเมืองไทยก็มีอยู่มาก ท่านเหล่านี้ก็ได้รับเลือกเกือบทุกครั้งที่ลงสมัคร
เมื่อพรรคการเมืองของไทยมีมาก นักการเมืองบางคนขาดอุดมการณ์จึงทำให้ประชาชนหันมาเลือกคนมากกว่าเลือกพรรค ดังนั้นในคราวหนึ่ง ๆ ที่มีการเลือกตั้งจึงทำให้พรรคการเมืองหลายพรรคมีสมาชิกพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภา เป็นการยากแก่การจัดตั้งรัฐบาล และเป็นการยากที่จะทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลแต่ละชุดมั่นคง ฉะนั้นจึงพอสรุปลักษณะของพรรคการเมืองโดยทั่ว ๆ ไปได้ดังนี้
1. พรรคการเมืองไทยจะคึกคักมีบทบาทเฉพาะคราวที่มีการเลือกตั้งเท่านั้น โดยเฉพาะพรรคที่มีสาขาอยู่ตามต่างจังหวัดแทบจะไม่มีการทำงานเลย และบางสาขาก็ขึ้นป้ายไว้แต่สมัยที่มีการเลือกตั้ง เมื่อการเลือกตั้งผ่านพ้นไปสำนักงานนั้นก็จะปิดตาย ประชาชนไม่สามารถไปติดต่ออะไรได้
2. พรรคการเมืองไทย ต้องใช้เงินมหาศาลในการบริหารพรรค จะเห็นได้จากการเลือกตั้งแต่ละสมัย พรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกพรรคลงรับสมัครและหวังที่จะได้รับการเลือกตั้งนั้นพรรคจะจ่ายเงินสนับสนุนเป็นจำนวนล้าน แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดไว้สามแสนห้าหมื่นบาทก็ตามนั้นเป็นเพียงบทบัญญัติ จะเห็นว่าผู้แทนราษฎรคนหนึ่งนั้นกว่าจะได้รับเลือกตั้งจะต้องจ่ายเงินเป็นล้าน ยกเว้นเฉพาะผู้แทนเก่าบางคน แต่ก็มีไม่กี่คนที่ประชาชนศรัทธาเลื่อมใสมาโดยตลอดที่ไม่ต้องใช้เงินมากเกินที่กำหนดไว้ แต่ส่วนมากจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนล้านถึงจะได้ดังที่กล่าวแล้ว เมื่อลักษณะการเมืองไทยเป็นอยู่อย่างนี้โอกาสที่คนชั้นกลางที่จะก่อตั้งพรรคการเมืองและจะได้รับเลือกตั้งเข้าไปเป็นผู้แทนนั้นมีน้อยมาก จึงทำให้พวกนายทุนเศรษฐีมีเงินเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองเสียเป็นส่วนมาก
3. พรรคการเมืองไทย จะมีบทบาทในการรักษาผลประโยชน์ของพรรค ผลประโยชน์ของคนในพรรคมากกว่าผลประโยชน์ของชาติ หรือผลประโยชน์ของประชาชนในบางครั้งพรรค เพราะสมาชิกพรรคบางคนเป็นนายทุนเจ้าของธุรกิจมากมายในประเทศ และเป็นสมาชิกที่มีตำแหน่งสำคัญในพรรค ฉะนั้นการที่จะดำเนินการใด ๆ เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่พวกนายทุนเหล่านั้นย่อมเป็นไปได้ง่าย
4. พรรคการเมืองไทยยังไม่เป็นที่สนใจของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนส่วนมากในชนบทเมื่อมีสมัยการเลือกตั้ง แม้จะมีสมาชิกพรรคการเมืองไปหาเสียงตามชนบทไปแล้วไปอีก ประชาชนยังไม่สนใจที่จะจดจำว่านาย ก. นาย ข. คนนี้สังกัดพรรคไหน ฉะนั้นส่วนใหญ่ประชาชนจะเลือกคนมากกว่าพรรค ด้วยเหตุนี้แสดงให้เห็นว่าพรรคการเมืองขาดพื้นฐานการรองรับจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
5.การคัดเลือกสมาชิกพรรคการเมือง โดยทั่วไปพรรคการเมืองจะไม่ค่อยคำนึงเพ่งเล็งถึงอุดมการณ์และคุณธรรมของผู้ยื่นความจำนง แต่จะเพ่งเล็งว่าผู้นั้นมีเงินมีชื่อเสียงที่จะเอาชนะการเลือกตั้งในเขตนั้น ๆ ได้รับการเลือกเป็นสมาชิกพรรค เมื่อเป็นเช่นนั้นพรรคการเมืองจึงไม่ค่อยจะได้คนดีมีคุณธรรมและมีอุดมการณ์เข้าสังกัดพรรค
6.พรรคการเมืองไทยยังหย่อนยานในเรื่อระเบียบวินัยในการควบคุมสมาชิกพรรคจึงทำให้เกิดปัญหาการควบคุมสมาชิกพรรคในสภา คือไม่ทำตามมติของพรรคเมื่อพรรคมีมติว่า ญัตตินี้พรรคของเราสนับสนุน แต่เมื่อมีการประชุมสมาชิกจะมีสมาชิกพรรคบางคนไม่เอาด้วยและอาจจะอภิปรายโจมตีฝ่ายตนด้วยก็มี
7.พรรคการเมืองไทยรวบรวมสมาชิกเพื่อหวังชนะการเลือกตั้งมากกว่าเพ่งเล็งอุดมการณ์จะเห็นได้จากการเปลี่ยนพรรคในการเลือกตั้งเมื่อ 2518 และ 2519 เป็นไปอย่างกว้างขวาง ผู้สมัครซึ่งเคยสังกัดพรรคหนึ่งในการเลือกตั้ง 2518 ครั้นพรรคเดิมไม่ยอมส่งสมัครในการเลือกตั้ง 2519 ก็จะย้ายไปสมัครในนามพรรคอื่นทันที ซึ่งพรรคอื่นก็ยินดีรับในกรณีที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือเคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
8. รัฐธรรมนูญของไทย ให้โอกาสแก่ประชาชนในการจัดตั้งพรรคการเมืองอย่างกว้างขวางจึงทำให้มีพรรคการเมืองมีจำนวนมาก เมื่อมีการเลือกตั้งจึงทำให้สมาชิกพรรคการเมืองหลายพรรคได้รับการเลือกตั้ง ไม่มีพรรคใดได้เสียงเด็ดขาดในสภา ทำให้ต้องมีรัฐบาลผสมขึ้นมาบริหารประเทศซึ่งเป็นเหตุให้เสถียรภาพของรัฐบาลมีน้อย
9. แม้จะมีพรรคการเมืองหลายพรรคในประเทศ แต่นโยบายของพรรคมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ก็ไม่สามารถจะรวมพรรคการเมืองเข้าด้วยกันได้ เพราะนักการเมืองส่วนมากมีความต้องการจะได้ตำแหน่งที่สำคัญในพรรค พึ่งจะมีปรากฏการณ์เมื่อปี พ.ศ. 2532 ที่พรรคการเมือง 4 พรรค คือ พรรคก้าวหน้า พรรคประชาชน พรรคกิจประชาคมและพรรครวมไทย ได้รวมกันเป็นพรรคเอกภาพ
10.สมาชิกพรรคบางส่วนขาดอุดมการณ์และไม่เชื่อมั่นในอุดมการณ์ของพรรค จึงทำให้สมาชิกพรรคแยกตัวออกจากพรรคหนึ่งไปเข้ากับอีกพรรคหนึ่ง หรือบางครั้งก็แยกตัวออกไปตั้งพรรคใหม่ เช่น กลุ่ม 10 มกราแยกตัวไปตั้งพรรคประชาชน
11. พรรคการเมืองไทยยังขาดความมั่นคงทั้งนี้อาจจะเนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น พรรคไม่มีอุดมการณ์แน่นอน สมาชิกพรรคไม่มีอุดมการณ์ที่มั่นคง การบำรุงรักษาพรรคต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ประชาชนขาดความสนใจและให้การสนับสนุน เป็นต้น
จากลักษณะพรรคการเมืองของไทยเรานั้นจะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองไทยจะต้องได้มีการพัฒนาปรับปรุงอยู่อีกมาก แต่พระราชบัญญัติพรรคการเมืองที่ออกมาใช้ปี 2524 นี้ก็จะทำให้พรรคการเมืองลดลงบ้างและนักการเมืองของไทยก็ต้องยึดมั่นในอุดมการณ์ของตนแล้วเข้าสังกัดพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์เช่นเดียวกับตนหรือใกล้เคียงกัน สามารถที่จะปรับเข้ากันได้ จะเล่นเปลี่ยนพรรคเหมือนเปลี่ยนเสื้อผ้า พรรคการเมืองไทยก็หวังการพัฒนา หวังความเจริญได้ยาก เมื่อเป็นเช่นนี้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันทำให้พรรคการเมืองของไทยมั่นคงและมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ไม่ว่ารัฐบาล นักการเมือง และประชาชนต้องช่วยเหลือกันทุกฝ่าย
รัฐสภา (Parliament)
ประเภทของรัฐสภา
พรรคการเมือง (Political Party)
ความหมายของพรรคการเมือง
องค์ประกอบของพรรคการเมือง
ความสำคัญของพรรคการเมือง
ระบบของพรรคการเมือง
โครงสร้างของพรรคการเมือง
บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองไทย
ประเภทของพรรคการเมืองไทย
การจัดตั้งพรรคการเมืองไทย
ลักษณะของพรรคการเมืองไทย
การเลือกตั้ง
ความสำคัญของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
หลักเกณฑ์ของการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย
วิธีการเลือกตั้งของไทย
การเลือกตั้งโดยวิธีรวมเขต
ข้อดีของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
ข้อเสียของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
การเลือกตั้งโดยวิธีแบ่งเขต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
วิธีดำเนินการเลือกตั้ง