สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
หลักเกณฑ์ของการเลือกตั้ง
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า การเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่จะให้ประชาชนได้แสดงเจตจำนงของตนผ่านพรรคการเมืองหรือผ่านผู้แทนราษฎร แต่การเลือกตั้งนั้น เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมนั้นจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งไว้ดังนี้ คือ
1. หลักอิสระแห่งการเลือกตั้ง (Freedom of Election) อันหมายถึง การให้ความเป็นอิสระต่อการออกเสียงเลือกตั้ง โดยมิได้ขู่บังคับให้การเลือกตั้งถูกบิดเบือนไปจากเจตจำนงอันแท้จริงของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
2. หลักการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา (Periodic Election) หมายความว่า การเลือกตั้งจะต้องมีกำหนดเวลาไว้แน่นอน เช่น กำหนดให้มีการเลือกตั้งปกติทุก 4 ปี เป็นต้น
3. หลักการเลือกตั้งอย่างแท้จริง (Genuine Election) หมายถึง การเลือกตั้งได้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ รัฐบาลจะต้องถือเป็นหน้าที่สำคัญที่จะป้องกันไม่ให้มีการคดโกงในการเลือกตั้งเกิดขึ้น โดยการให้ราษฎรจัดการเลือกตั้งของตนเองให้มากที่สุดทั้งเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านการเลือกตั้งได้ เมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งนั้นไม่ได้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง
4. หลักการออกเสียงทั้งชายหญิง (Universal Suffrage) หมายถึง การเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงเลือกตั้งอย่างทั่วถึง เว้นแต่กรณีที่มีข้อจำกัดอันเป็นที่รับรองกันทั่วไป เช่น ไม่ให้สิทธิเลือกตั้งแก่เด็ก บุคคลวิกลจริตหรือมีจิตบกพร่อง เป็นต้น
5. หลักการเลือกตั้งอย่างเสมอภาค (Equal Suffrage) หมายความว่า บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง มีสิทธิคนละหนึ่งเสียงและคะแนนเสียงทุกคะแนนมีน้ำหนักเท่ากัน
รัฐสภา (Parliament)
ประเภทของรัฐสภา
พรรคการเมือง (Political Party)
ความหมายของพรรคการเมือง
องค์ประกอบของพรรคการเมือง
ความสำคัญของพรรคการเมือง
ระบบของพรรคการเมือง
โครงสร้างของพรรคการเมือง
บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองไทย
ประเภทของพรรคการเมืองไทย
การจัดตั้งพรรคการเมืองไทย
ลักษณะของพรรคการเมืองไทย
การเลือกตั้ง
ความสำคัญของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
หลักเกณฑ์ของการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย
วิธีการเลือกตั้งของไทย
การเลือกตั้งโดยวิธีรวมเขต
ข้อดีของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
ข้อเสียของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
การเลือกตั้งโดยวิธีแบ่งเขต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
วิธีดำเนินการเลือกตั้ง