สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

ประเภทของรัฐสภา

รัฐสภาที่มีมาแล้วในอดีตและที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 ประเภทสภาเดี่ยว (Unicameral System) คือ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) สมาชิกของสภานี้มาจากคนทั้งชาติ โดยวิธีการเลือกตั้งสมาชิกที่ได้รับเลือกเข้ามาทั้งหมดจะมาทำหน้าที่ประชุมปรึกษาหารือ ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และตรากฎหมายออกมาใช้ ประเทศที่เลือกใช้แบบสภาเดี่ยว เช่น สวีเดน เดนมาร์ก อิสราเอล กานา เซเนกัล ลักเซมเบอร์ก โมนาโค และลิซเตนส์ เป็นต้น

ข้อดีของสภาเดี่ยว

1. สมาชิกเกิดความรู้สึกว่าตนเองคือตัวแทนของประชาชนเพียงคนเดียว
2.ไม่มีความขัดแย้งกันทางความคิดเพราะทุกคนต่างถูกเลือกมาทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรด้วยกัน
3. การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว
4. เป็นการแสดงความสามารถได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องคอยให้พี่เลี้ยงเสนอแนะ เพราะถือว่าผู้ที่ประชาชนเลือกเข้ามีความรู้ความสามารถดีที่สุดแล้ว
5. เป็นการประหยัดงบประมาณของรัฐในการบริหารของรัฐสภา

ข้อเสียของสภาเดี่ยว

1. ความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนอาจผิดพลาดได้ ถ้าปราศจากการยับยั้งหรือการท้วงติงจากสภาสูงหรือวุฒิสภา
2. การผ่านกฎหมายบางฉบับ แม้จะผ่านไปได้อย่างรวดเร็วและประหยัดก็ตามก็อาจไม่ครอบคลุมเจตนารมณ์ของปวงชนได้ เนื่องจากต้องกระทำอย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย
3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน การปรับความคิดหรืออุดมการณ์เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของปวงชนร่วมกันจะกระทำได้ยาก
4. อาจเกิดระบบเผด็จการในสภาได้ เพราะไม่มีวุฒิสภาถ่วงดุลอำนาจไว้

2. ประเภทสองสภา (Bicameral System) หมายถึง รัฐสภาที่ประกอบไปด้วยสมาชิก 2 ประเภทตามแบบของสภา คือ สภาสูงหรือวุฒิสภาก็จะมีวุฒิสมาชิกซึ่งมาจากการแต่งตั้ง จากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในหลายสาขา ส่วนสภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎรก็จะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ แต่ในประเทศต่าง ๆ อาจจะเรียกชื่อทั้งสองสภานี้ไปต่าง ๆ กันเช่น “ในสหรัฐอเมริกาจะเรียกว่า สภาสูง (Senate) และสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) ในอังกฤษจะเรียกว่า สภาขุนนาง (House of Lords) และสภาสามัญ (House of Commons) และในประเทศอินเดียจะเรียกว่า ราชยสภา (The upper House) และโลกสภา (The Lower House) หรือ Lok Sabha การมีสภาสูงหรือวุฒิสภาเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งสภานี้เป็นการ เพิ่มดุลอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติมิให้ล้ำแดนหรือเอนเอียง อันจะเป็นผลเสียแก่ประเทศชาติโดยส่วนรวม แต่การมีสองสภาทำให้สภาสูงช่วยกลั่นกรองงานของสภาล่างให้เป็นไปอย่างรอบคอบ ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า ประมุขของรัฐที่ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยไม่ควรใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) การร่างกฎหมาย สภาสูงเป็นสภาที่ช่วยกลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านสภาล่างมาอย่างรอบคอบถี่ถ้วนยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะสมาชิกสภาสูงประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิสูง มีประสบการณ์มากและสุขุมคัมภีรภาพมากกว่าด้วย ยิ่งกว่านั้นการมีสภาสูงจะเป็นเครื่องช่วยไกล่เกลี่ย กรณีพิพาทระหว่างสภาล่างกับรัฐบาลมิให้ก้าวร้าวยิ่งขึ้น เพราะถ้าสภาใดเพียงสภาเดียวขัดแย้งกับฝ่ายบริหารหรือฝ่ายรัฐบาล อีกสภาหนึ่งก็อาจไกล่เกลี่ย ช่วยไม่ให้เกิดการรัฐประหารได้ แต่ถ้าสภาทั้งสองเห็นร่วมกันแล้วรัฐบาลย่อมมีการผ่อนผันตาม ประเทศที่ใช้เลือกแบบสองสภามีอยู่หลายประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และประเทศไทย เป็นต้น

ข้อดีของการมีสองสภา

1.การมีสองสภาทำให้เกิดการถ่วงดุลแห่งอำนาจนิติบัญญัติ มิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้อำนาจรัฐสภาเกินขอบเขต
2.การมีสองสภาทำให้เกิดความมั่นคงภายในยิ่งขึ้น แม้ว่าในบางประเทศจะมีการทำรัฐประหารบ้างก็ตาม แต่ถือได้ว่ารัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสองสภาได้ ทำหน้าที่สมบูรณ์แล้ว
3.การมีสองสภาจะก่อให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไปอย่างมั่นคงและรวดเร็ว เพราะประชาชนได้มีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้น
4. สภาสูงสามารถกลั่นกรองงานของสภาล่างได้เป็นอย่างดี ในฐานะที่เป็นสภาพี่เลี้ยงความผิดพลาดจะเกิดขึ้นได้น้อย

ข้อเสียของการมีสองสภา

1. การเลือกเฟ้นหาสมาชิกสภาสูงมิใช่เป็นการเลือกของประชาชนทั้งประเทศ แต่เป็นการเลือกจากคนกลุ่มน้อยในแต่ละอาชีพ และวิธีการเลือกเฟ้นก็เป็นไปอย่างหละหลวม คือบางครั้งก็จะเข้าในทำนองว่า “ พวกมากลากไป “
2. คุณสมบัติของสมาชิกสภาสูงก็มีความสำคัญ หากเลือกได้คนที่มีความรู้ความสามารถจริง ก็จะช่วยเสริมระบอบการปกครองได้มาก แต่หากเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ดีเข้ามาก็จะลดคุณค่าของสภาสูงลงไป
3. การผ่านร่างกฎหมายระเบียบต่าง ๆ อาจทำให้ล่าช้า เพราะต้องผ่านการกลั่นกรองของสมาชิกวุฒิสภาอีกครั้งหนึ่ง
4. การทำงานของสองสภาเป็นการทำงานแบบซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองเวลาและงบประมาณของประเทศ

รัฐสภา (Parliament)
ประเภทของรัฐสภา
พรรคการเมือง (Political Party)
ความหมายของพรรคการเมือง
องค์ประกอบของพรรคการเมือง
ความสำคัญของพรรคการเมือง
ระบบของพรรคการเมือง
โครงสร้างของพรรคการเมือง
บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองไทย
ประเภทของพรรคการเมืองไทย
การจัดตั้งพรรคการเมืองไทย
ลักษณะของพรรคการเมืองไทย
การเลือกตั้ง
ความสำคัญของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
หลักเกณฑ์ของการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย
วิธีการเลือกตั้งของไทย
การเลือกตั้งโดยวิธีรวมเขต
ข้อดีของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
ข้อเสียของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
การเลือกตั้งโดยวิธีแบ่งเขต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
วิธีดำเนินการเลือกตั้ง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย