สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

ความหมายของพรรคการเมือง

พรรคการเมืองได้มีนักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ได้ให้ความหมายแตกต่างกันตามแนวความคิดของตนดังนี้

พรรคการเมือง คือกลุ่มของเอกชนที่มีผลประโยชน์คล้ายคลึงกัน และมีความต้องการอย่างเดียวกัน ได้รวมกันขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะเข้าควบคุมและกำหนดนโยบายของรัฐ โดยการเอาชนะในการเลือกตั้ง การออกกฎหมายและการบริหารประเทศ

Edmund Burke ได้ให้ทัศนะว่า พรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่เห็นพ้องในหลักการสำคัญที่จะรักษาส่วนประโยชน์ของชาติและส่วนรวม

พรรคการเมืองเป็นสมาคม (Association) ซึ่งจัดระเบียบที่จะส่งเสริมหลักการหรือนโยบายขึ้นโดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ โดยพยายามให้เป็นหลักการพิจารณาการจัดตั้งรัฐบาล (Government)

หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า พรรคการเมือง คือ คณะบุคคลซึ่งรวบรวมกันเพราะมีความเห็นในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในแนวทางกว้างตรงกัน และมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาลอำนวยการปกครองตามความคิดเห็นนั้น

Benjemin Constant อธิบายความหมายของพรรคการเมืองไว้ว่า พรรคการเมือง คือ ที่รวมเขตชุมชนที่มีความคิดอ่านทางการเมืองเหมือนกัน มีความต้องการที่จะเข้ามาบริหารประเทศเพื่อให้บรรลุผลตามอุดมการณ์และผลประโยชน์ของตน

จากทัศนะความหมายของพรรคการเมืองตามที่นักปราชญ์ได้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ ในข้างต้นนั้น พอจะสรุปประเด็นความหมายที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1.พรรคการเมืองเป็นกลุ่มหรือคณะบุคคลหรือสมาคมที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน และมีผลประโยชน์พื้นฐานร่วมกัน ปรารถนารวมตัวกันเพื่อแสวงหาอำนาจในการปกครองประเทศในที่สุด

2.พรรคการเมืองเป็นกลไกที่รัฐธรรมนูญยอมรับให้เข้ามาทำการควบคุมดูแลกิจการของประชาชนซึ่งรัฐบาลดำเนินการอยู่ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน

3. พรรคการเมืองเป็นองค์กรที่มีการจัดระบบที่ดีในการควบคุม โดยมีคณะผู้บริหารพรรคและมีสมาชิกพรรค

รัฐสภา (Parliament)
ประเภทของรัฐสภา
พรรคการเมือง (Political Party)
ความหมายของพรรคการเมือง
องค์ประกอบของพรรคการเมือง
ความสำคัญของพรรคการเมือง
ระบบของพรรคการเมือง
โครงสร้างของพรรคการเมือง
บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองไทย
ประเภทของพรรคการเมืองไทย
การจัดตั้งพรรคการเมืองไทย
ลักษณะของพรรคการเมืองไทย
การเลือกตั้ง
ความสำคัญของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
หลักเกณฑ์ของการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย
วิธีการเลือกตั้งของไทย
การเลือกตั้งโดยวิธีรวมเขต
ข้อดีของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
ข้อเสียของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
การเลือกตั้งโดยวิธีแบ่งเขต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
วิธีดำเนินการเลือกตั้ง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย