สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

ระบบของพรรคการเมือง

พรรคการเมืองคือ องค์กรที่สำคัญทางการเมือง การปกครอง ยิ่งระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย พรรคการเมืองยิ่งมีความจำเป็นมาก แต่การปกครองของแต่ละประเทศย่อมจะไม่เหมือนกัน แม้ลัทธิการปกครองเหมือนกัน ระบบพรรคการเมืองอาจจะแตกต่างกันได้และยิ่งลัทธิการปกครองต่างกัน ระบบพรรคการเมืองยิ่งจะต่างกันออกไปอีก ดังนั้น จำนวนพรรคการเมือง ระบบพรรคการเมืองในประเทศต่าง ๆ นั้น ย่อมจะมีลักษณะรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างแน่นอน แต่ระบบพรรคการเมืองเท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบ คือ

1. ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว (Single – party System)

ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียวนี้ส่วนใหญ่มักจะพบในประเทศที่ปกครองแบบเผด็จการ คือทั่วทั้งประเทศนั้นมีพรรคการเมืองอยู่เพียงพรรคเดียว เมื่อมีการเลือกตั้งประชาชนก็จะเลือกตั้งคนเท่านั้น ไม่มีโอกาสในการเลือกพรรคการเมืองหลาย ๆ พรรคได้อย่างพรรคการเมืองในประเทศเยอรมนีและอิตาลี สมัยก่อนมีพรรคนาซีและพรรคฟาสชีสต์หรือในปัจจุบันก็มีพรรคคอมมิวนิสต์ ในประเทศที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ แต่ประเทศที่มีพรรคการเมืองพรรคเดียวขึ้นเป็นรัฐบาลมิได้หมายความว่าประเทศนั้นเป็นประเทศเผด็จการเสมอไป เช่น ประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น ซึ่งมักจะมีพรรคการเมืองพรรคเดียวจัดตั้งรัฐบาลหลายสมัยคือ เมื่อมีการเลือกตั้งคราวใดพรรคการเมืองพรรคเดิมก็มักจะได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภามากที่สุด ส่วนพรรคเล็กพรรคน้อยนั้นมีเหมือนกัน แต่ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาน้อยมาก ตามตัวอย่างที่ว่านี้ประเทศอินเดียหรือประเทศญี่ปุ่นก็มิได้เป็นการปกครองด้วยเผด็จการ อย่างอินเดียอาจจะเป็นประชาธิปไตยมากกว่าหลาย ๆ ประเทศในแถบเอเชียเสียอีก

2. ระบบสองพรรค (Two – party System)

ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคนี้มักจะพบในประเทศที่ใช้ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งในประเทศนั้นจะมีพรรคการเมืองเพียงสองพรรคใหญ่เท่านั้นที่หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันจัดตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้งของประชาชนคือ ในสองพรรคนั้นถ้าพรรคใดได้เสียงข้างมากในสภา พรรคนั้นก็มีสิทธิจัดตั้งรัฐบาลจะเห็นได้ว่าจะให้พรรคใดจัดตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับความต้องการของประชาชนในประเทศ จากลักษณะของการมีพรรคการเมืองสองพรรคสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นรัฐบาลนี้ก็มิใช่ว่าประเทศนั้น ๆ จะมีพรรคการเมืองเพียงสองพรรคเท่านั้น ความจริงแล้วในประเทศนั้น ๆ มีพรรคการเมืองหลายพรรคแต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนในประเทศ เช่น ในประเทศอังกฤษ

3. ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค (Multi-party System)

ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค ปรากฏอยู่ในประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย หลายประเทศที่พรรคการเมืองหลายพรรคได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาจำนวนไล่เลี่ยกัน ไม่มีพรรคใดพรรคหนึ่งได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาเกินกึ่งของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด จึงทำให้มีความจำเป็นต้องจัดตั้งแบบผสม เมื่อรัฐบาลผสมหลายพรรคทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพอยู่ได้ไม่นาน เพราะต่างพรรคก็จะดึงผลประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองของตนเอง ก็แสดงว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองที่เป็นของประชาชนทั้งประเทศ แต่พรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาลกลับไปแย่งกันเอง เพราะพรรคการเมืองหลายพรรคผสมกันจัดตั้งรัฐบาลนี้แหละจึงทำให้รัฐบาลไม่อยู่ครบเทอม ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายกับระบบการเมืองที่รัฐบาลแย่งผลประโยชน์กันเอง แต่อย่างไรก็ตามระบบหลายพรรคนี้ทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสามารถเลือกผู้แทนที่มีความคิดเห็นใกล้เคียงกับตนได้มากที่สุด แต่รัฐบาลจะอ่อนแอพรรคการเมืองในลักษณะนี้มักจะพบในประเทศประชาธิปไตยที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ประเทศอิตาลี เป็นต้น

รัฐสภา (Parliament)
ประเภทของรัฐสภา
พรรคการเมือง (Political Party)
ความหมายของพรรคการเมือง
องค์ประกอบของพรรคการเมือง
ความสำคัญของพรรคการเมือง
ระบบของพรรคการเมือง
โครงสร้างของพรรคการเมือง
บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองไทย
ประเภทของพรรคการเมืองไทย
การจัดตั้งพรรคการเมืองไทย
ลักษณะของพรรคการเมืองไทย
การเลือกตั้ง
ความสำคัญของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
หลักเกณฑ์ของการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย
วิธีการเลือกตั้งของไทย
การเลือกตั้งโดยวิธีรวมเขต
ข้อดีของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
ข้อเสียของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
การเลือกตั้งโดยวิธีแบ่งเขต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
วิธีดำเนินการเลือกตั้ง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย