สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองถือว่าเป็นองค์การที่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการเมืองการปกครอง ยิ่งในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยพรรคการเมืองมีความสำคัญมาก เพราะประชาชนจะได้ยึดถือเป็นสื่อกลางในการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ดังนั้นพรรคการเมืองเองจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละพรรคให้ดีว่า พรรคของตนจะดำเนินการไปในนโยบายแบบไหนและจะมีบทบาทหน้าที่อย่างไรเกี่ยวกับประชาชนและการบริหารประเทศ อีกอย่างหนึ่งพรรคการเมืองยังเป็นส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้การปกครองประเทศไปสู่จุดหมายปลายทางที่จะทำให้ประเทศชาติมีความเจริญและมั่นคงอีกด้วย ฉะนั้นพรรคการเมืองโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นระบบพรรคเดียว ระบบสองพรรคหรือระบบหลายพรรคก็จะมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ของพรรคไว้อย่างชัดเจน
สมพงศ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ ได้ประมวลบทบาทหน้าที่ของพรรคการเมืองไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาดังนี้
1. เป็นเครื่องเชื่อมโยงกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมเข้าด้วยกัน
2. รวมเอาประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเข้าเป็นกลุ่มก้อน เพื่อให้ได้เกิดความผูกพันต่อกัน ด้วยหวังว่าจะทำให้งานทางการเมืองดำเนินไปอย่างถูกต้อง ได้ผล และทำให้เกิดพลังทางการเมือง
3. กระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปได้สนใจที่จะมีส่วนในการปกครองด้วยวิธีการเสนอตัวผู้แข่งขันเข้ารับสมัครเลือกตั้งที่มีชื่อเสียง จัดตั้งสโมสรหรือจัดตั้งให้มีชมรมต่าง ๆ รวมทั้งการพักผ่อนหย่อนใจ โดยหวังที่จะสร้างความสนใจทางการเมือง
4. ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป ด้วยการแจกจ่ายเอกสาร แสดงสุนทรพจน์และใช้สื่อมวลชนต่าง ๆ
5. กำหนดพื้นฐานหรือหลักเกณฑ์ในการที่จะทำให้กลุ่มต่าง ๆ ของประชาชนสามารถร่วมมือปฏิบัติงาน เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยเฉพาะการรวมกันเช่นนี้ จะเห็นได้ชัดในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคการเมืองมีส่วนช่วยให้คนจำนวนมากได้เห็นพ้องกันในปัญหาต่าง ๆ ยอมรับในเรื่องทางออกแห่งปัญหา และเสนอตัวผู้เข้าแข่งขันที่จะเป็นผู้แก้ปัญหานั้น
6. พรรคการเมืองมีบทบาทในการเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพ และการเลือกตั้งนี้เองจะเป็นเครื่องผ่อนคลายความตึงเครียดและความต้องการของประชาชน
7. พรรคการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ซึ่งจะแสดงนโยบายนี้ต่อประชาชน ในการรณรงค์หาเสียง
8.พรรคการเมืองมีส่วนร่วมในการค้นหามติมหาชน และการที่ทำให้ประชาชนสนับสนุนนโยบายได้และความคิดเห็นใด ๆ นั้น เท่ากับมีส่วนส่งเสริมความยินยอมพร้อมใจในปัญหาต่าง ๆ
9. มีส่วนแสวงหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง และฝึกฝนอบรมคนเหล่านี้เพื่อเป็นผู้แทนราษฎร
10. นำเอาแผนการนโยบายและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปชี้แจงให้ประชาชนได้ทราบ
11. เป็นกลไกที่จะรับภาระในทางการเมืองและพร้อมที่จะดำเนินการทางการเมืองอยู่เสมอ
12. เมื่อใดได้รับเสียงข้างมากก็จะทำหน้าที่เป็นรัฐบาล และเมื่อใดได้รับเสียงข้างน้อยก็จะเป็นผู้ควบคุมคัดค้านนโยบายรัฐบาล เป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจของผู้ที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งไม่ให้เหลิงหรือหลงอำนาจ
ในประเทศที่ใช้ระบบแยกอำนาจและถ่วงอำนาจ พรรคการเมืองทำให้เกิดผลสำคัญ กล่าวคือ การถ่วงดุลอำนาจกันจริง ๆ ถ้าองค์กรสำคัญของรัฐบาลมาจากคนละพรรค แต่จะช่วยให้เกิดการร่วมมือประสานงานกันระหว่างหน่วยอำนาจต่าง ๆ ถ้าหน่วยอำนาจเหล่านี้มาจากพรรคเดียวกัน
13. พรรคการเมืองเป็นผู้รักษาผลประโยชน์ของชาติด้วยการชี้แจงให้ประชาชนได้ทราบความเป็นไปของประเทศ และรับใช้ชาติด้วยการนำเอานโยบายที่ประชาชนรับรองแล้วไปปฏิบัติด้วยการวางแผน และปฏิบัติตามแผนอย่างมีเหตุผล
14. พรรคการเมืองเชื่อมโยงช่องว่างในทางเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ (ภูมิภาคนิยม) ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของประเทศเข้ามารวมกันอยู่ได้
15. พรรคการเมืองมีหน้าที่จะต้องหาข้อประนีประนอมต่าง ๆ เพื่อกำหนดนโยบายของชาติ ทำให้ความต้องการของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้รับผลคือ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ๆ
16. เป็นช่องทางที่มติมหาชนสามารถแสดงออกได้อย่างชัดเจน
จะเห็นได้ว่าภาระหน้าที่และบทบาทของพรรคการเมืองนั้นมีมาก แต่การที่พรรคการเมืองพรรคไหนจะปฏิบัติได้ขนาดไหนเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของพรรคการเมืองและสมาชิกของพรรคการเมืองว่าจะมีความจริงใจกับประชาชนมากน้อยแค่ไหนเพียงไรเท่านั้น แต่ถ้าสมาชิกพรรคการเมืองมุ่งแต่หาอำนาจและผลประโยชน์แล้วก็คงจะลืมบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของพรรคการเมืองไป
รัฐสภา (Parliament)
ประเภทของรัฐสภา
พรรคการเมือง (Political Party)
ความหมายของพรรคการเมือง
องค์ประกอบของพรรคการเมือง
ความสำคัญของพรรคการเมือง
ระบบของพรรคการเมือง
โครงสร้างของพรรคการเมือง
บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองไทย
ประเภทของพรรคการเมืองไทย
การจัดตั้งพรรคการเมืองไทย
ลักษณะของพรรคการเมืองไทย
การเลือกตั้ง
ความสำคัญของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
หลักเกณฑ์ของการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย
วิธีการเลือกตั้งของไทย
การเลือกตั้งโดยวิธีรวมเขต
ข้อดีของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
ข้อเสียของการเลือกตั้งแบบรวมเขต
การเลือกตั้งโดยวิธีแบ่งเขต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
วิธีดำเนินการเลือกตั้ง