สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
สิทธิหน้าที่ของประชาชน (Right Obigation of People)
คำว่า สิทธิ หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่จะกระทำการสิ่งใด ๆ ได้โดยไม่ถูกแทรกแซงหรือถูกขัดขวางจากผู้อื่น แต่การที่จะมีสิทธิและรักษาสิทธิได้นั้น รัฐองค์การเดียวเท่านั้น จะเป็นองค์การกำหนดขอบเขตแห่งสิทธิ และบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิของบุคคล โดยมีบทบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าบุคคลจะใช้สิทธิได้เพียงใด หรือจะมีสิทธิอะไรบ้างนอกเหนือจากสิทธิตามธรรมชาติ เมื่อกฎหมายได้กำหนดให้สิทธิขึ้นหน้าที่ก็จะเกิดขึ้นด้วยตามสิทธิ เพราะสิทธิกับหน้าที่เป็นสิ่งที่เกี่ยวพันซึ่งกันและกัน สำหรับการที่ประชาชนจะมีโอกาสแสดงบทบาทหรือเข้าร่วมทางการเมืองได้มากน้อยแค่ไหย่อมขึ้นอยู่กับสิทธิและหน้าที่ของประชาชน โดยเฉพาะสิทธิทางการเมือง (Political Right) ซึ่งหมายถึง การที่ยินยอมให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้มีโอกาสมีส่วนในการแสดงออกซึ่งเจตจำนงในทางการเมือง สิทธิทางการเมืองของประชาชน โดยปกติแล้วจะกำหนดไว้ในกฎหมายหลักของประเทศคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ในมาตรา 23 ได้กำหนดไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิทางการเมือง การใช้สิทธิเลือกตั้ง สิทธิสมัครสิทธิในการเข้าร่วมเป็นรัฐบาลหรือสิทธิในการปกครองประเทศ เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสิทธิทางการเมืองกับประชาธิปไตยจะเป็นของคู่กัน จึงสรุปได้ว่า ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนจะมีโอกาสแสดงบทบาททางการเมืองหรือเข้าร่วมทางการเมืองได้มากกว่าประเทศที่ปกครองในระบบเผด็จการและสิทธิหน้าที่ทางการเมืองของประชาชนจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลัทธิทางการเมืองเช่นกัน
สิทธิหน้าที่ของประชาชน (RightObigation of People)
ความสำนึกทางการเมือง
เสรีภาพทางการเมือง (Political Liberty)
สื่อมวลชน (Mass Media)
ความหมายของสื่อมวลชน
บทบาทของสื่อมวลชน
หน้าที่ของสื่อมวลชน
กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group)
ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัตถุประสงค์ของกลุ่มผลประโยชน์
พฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์
มติมหาชน (Public Opinion)
ปัจจัยที่เอื้อต่อมติมหาชน
ความสำคัญของมติมหาชน
อุปสรรคของการแสดงมติมหาชน