สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

ประชาชนกับบทบาททางการเมือง

ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์

กลุ่มผลประโยชน์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคมหรือในรัฐนั้น เกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลประโยชน์และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนหรือของกลุ่มทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ถึงอย่างไรก็ตามก็สามารถสรุปประเภทของกลุ่มผลประโยชน์ได้ดังนี้

1. กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่รวมกันขึ้นเพื่อแสวงหาและรักษาผลประโยชน์หรืออำนาจทางการเมือง เช่น พรรคการเมือง สมาคม นักข่าว องค์การนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กลุ่มกระทิงแดง กลุ่มลูกเสือชาวบ้านและสมาคมปัญญาชน เป็นต้น

2. กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่รวมกันเพื่อแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มนักธุรกิจการค้า กลุ่มเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มพ่อค้าผู้ส่งออก กลุ่มกรรมกร สมาคมชาวไร่อ้อย กลุ่มอาชีพต่าง ๆ และสมาคมการค้า เป็นต้น

3. กลุ่มผลประโยชน์ทางสังคมวัฒนธรรม เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่รวมกันขึ้นเพื่อแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของตนหรือของกลุ่มสังคมและวัฒนธรรม เช่น สมาคมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สมาคมศิษย์เก่า สมาคมผู้นับถือศาสนาอิสลาม พุทธสมาคม ยุวพุทธิกสมาคม เป็นต้น

4. กลุ่มผลประโยชน์ทางการศึกษา เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่รวมกันเพื่อแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ทางการศึกษา เช่น สมาคมครู สมาคมอาจารย์วิทยาลัย สมาคมผู้ปกครองนักเรียน และสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

5.กลุ่มผลประโยชน์แบบมาตุภูมิ เป็นผลประโยชน์ที่รวมกันเพื่อรักษาและแสวงหาผลประโยชน์เพื่อกลุ่มมาตุภูมิของตน เช่น กลุ่มชาวเหนือ สมาคมชาวใต้ สมาคมชาวอีสาน เป็นต้น

จากการแบ่งกลุ่มผลประโยชน์ออกเป็น 5 ประเภทนั้น เพื่อจะได้เห็นกลุ่มตัวอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถแบ่งออกจากกันได้เด็ดขาด เพราะกลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้บางครั้งก็จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และสามารถแสดงบทบาทได้ในหลาย ๆ ด้าน เช่น องค์การนิสิตนักศึกษาจะเคลื่อนไหวแสดงบทบาทเพื่อรักษาผลประโยชน์ทั้งด้านการเมือง (14 ตุลาคม 2516) เศรษฐกิจและสังคม วัฒนธรรม และสมาคมหรือกลุ่มอื่น ๆ ก็เช่นกันโดยปกติแล้วจะไม่มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเพียงอันเดียว จึงมักจะเห็นกลุ่มต่าง ๆ แสวงหาบทบาทในหลายด้านควบคู่กันไป

สิทธิหน้าที่ของประชาชน (Right–Obigation of People)
ความสำนึกทางการเมือง
เสรีภาพทางการเมือง (Political Liberty)
สื่อมวลชน (Mass Media)
ความหมายของสื่อมวลชน
บทบาทของสื่อมวลชน
หน้าที่ของสื่อมวลชน
กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group)
ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัตถุประสงค์ของกลุ่มผลประโยชน์
พฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์
มติมหาชน (Public Opinion)
ปัจจัยที่เอื้อต่อมติมหาชน
ความสำคัญของมติมหาชน
อุปสรรคของการแสดงมติมหาชน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย