สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
พฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์
กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อจะดำเนินงานของกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม กลุ่มมักจะใช้วิธีการหรือพฤติกรรมดังนี้
1. ดำเนินการบีบคั้นผู้มีอำนาจทางการเมือง ซึ่งอาจจะเป็นนักการเมืองหรือรัฐบาล แต่ส่วนมากมักจะเป็นรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลหันมาสนใจแก้ปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มตน เช่น ผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำประสบปัญหาขาดทุนในปี 2532 ขอให้รัฐบาลหาทางช่วยเหลือและสหภาพแรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลปรับราคาค่าแรงขั้นต่ำใหม่ เป็นต้น
2. ดำเนินการบีบคั้นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่สามารถบันดาลผลประโยชน์ให้กลุ่มตน เช่น กลุ่มชาวไร่อ้อยชุมชุมเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแก้ปัญหาในเรื่องราคาอ้อยตกต่ำ เป็นต้น
3. ชุมนุมประท้วงเรียกร้องขับไล่ผู้มีอำนาจทางการเมือง เช่น การประชุมเดินขบวนขับไล่รัฐบาลถนอม ประภาส เมื่อ 14 ตุลาคม 2516
4. ทำหนังสือเรียกร้องหรือประท้วงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ เช่น องค์การนิสิตนักศึกษาทำหนังสือถึงรัฐบาลเพื่อให้รัฐบาลดำเนินการปิดป่า เมื่อเห็นภัยจากน้ำท่วมภาคใต้เมื่อ 2531
5. ทำการโฆษณาเผยแพร่ กิจกรรมของกลุ่มหรือสมาคม เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและให้ความร่วมมือ เช่น พุทธสมาคมพยายามโฆษณาเผยแพร่คุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาทำความเข้าใจและเรียนรู้ เพื่อจะได้หันมายึดมั่นเอาพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เป็นต้น
สิทธิหน้าที่ของประชาชน (RightObigation of People)
ความสำนึกทางการเมือง
เสรีภาพทางการเมือง (Political Liberty)
สื่อมวลชน (Mass Media)
ความหมายของสื่อมวลชน
บทบาทของสื่อมวลชน
หน้าที่ของสื่อมวลชน
กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group)
ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัตถุประสงค์ของกลุ่มผลประโยชน์
พฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์
มติมหาชน (Public Opinion)
ปัจจัยที่เอื้อต่อมติมหาชน
ความสำคัญของมติมหาชน
อุปสรรคของการแสดงมติมหาชน