สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

ประชาชนกับบทบาททางการเมือง

อุปสรรคของการแสดงมติมหาชน

การแสดงออกซึ่งบทบาทของประชาชนในทิศทางการเมืองซึ่งเรียกว่า มติมหาชนนั้นย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นได้ดังนี้

1. ทฤษฎีว่ามนุษย์เป็นผู้ใช้เหตุผลนั้น บางครั้งอาจไม่จริงเสมอไป เพราะมนุษย์ย่อมแตกต่างกันโดยสายโลหิต ประสบการณ์ การศึกษา ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้ใช้เหตุผลและไม่ใช้เหตุผล

2. แม้ว่าประชาชนทั่วไปอาจสนใจนโยบายของรัฐได้ แต่ก็มีเหตุผลอีกมากมายว่าเหตุใดบุคคลจึงมิอาจแสดงความคิดเห็นได้

3.บุคคลมีปัญหาแตกต่างกัน ปัญหาของประเทศบางเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องภายในหรือเรื่องต่างประเทศ เป็นเรื่องที่วุ่นวาย ซับซ้อนและลึกซึ้ง บางทีผู้มีปัญญาน้อยไม่อาจที่จะแสดงความคิดเห็นได้ และแม้แต่ผู้มีปัญญาดี ก็ไม่อาจที่จะหาทางออกได้ง่ายเช่นกัน

4.นโยบายหลายอย่างที่มาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น คำพิพากษาของศาลสูงรายงานของคณะกรรมการพิเศษนโยบายงบประมาณ สนธิสัญญาต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แม้ว่าประชาชนผู้สนใจก็ไม่อาจทำความเข้าใจได้อย่างแน่แท้จนสามารถให้ความคิดเห็นได้จริงจัง

5.บุคคลในปัจจุบันจะต้องดิ้นรนต่อสู้กับการทำมาหาเลี้ยงชีพในสังคมที่มีการแข่งขันกันอย่างมากมาย จนกระทั่งถึงทำให้ตนเองไม่มีเวลาเหลือพอที่จะใช้ความคิดไตร่ตรอง หรือใช้ความสนใจในกิจกรรมสาธารณะได้

จากปัญหาและอุปสรรคทั้ง 5 ประการดังที่กล่าวมานั้นจะทำให้ผลของการแสดงมติมหาชนไม่ตรงเป้าหมายหรือไม่เกิดประโยชน์ต่อการเมืองการปกครอง คือมติมหาชนอาจจะถูกโน้มน้าวชักจูงไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ฉะนั้นมติมหาชนจะดีมีประโยชน์นั้นจะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในระดับสติปัญญาความสามารถของประชาชนทั่วไปเท่านั้น

สิทธิหน้าที่ของประชาชน (Right–Obigation of People)
ความสำนึกทางการเมือง
เสรีภาพทางการเมือง (Political Liberty)
สื่อมวลชน (Mass Media)
ความหมายของสื่อมวลชน
บทบาทของสื่อมวลชน
หน้าที่ของสื่อมวลชน
กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group)
ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัตถุประสงค์ของกลุ่มผลประโยชน์
พฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์
มติมหาชน (Public Opinion)
ปัจจัยที่เอื้อต่อมติมหาชน
ความสำคัญของมติมหาชน
อุปสรรคของการแสดงมติมหาชน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย