สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ความสำนึกทางการเมือง
ความสำนึกทางการเมือง หมายถึง การที่บุคคลมีความรู้สึกสำนึกในทางการเมืองการปกครอง มีความสามารถเรียนรู้สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลง มีความสามารถที่จะแยกแยะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นว่าเป็นสถานการณ์ที่ตนควรเข้าร่วมสนับสนุนหรือเป็นเรื่องที่ตนจะต้องคัดค้าน นั้นหมายถึงว่า ถ้าเหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงนั้นยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่สังคมส่วนรวมหรือแก่ประเทศชาติแล้ว เหตุการณ์นั้นก็เป็นสิ่งที่จะต้องส่งเสริมเข้าร่วมและให้การสนับสนุนโดยวิธีการต่าง ๆ แต่ถ้าเหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงและยังผลให้เกิดความเสียหายหรือความไม่เป็นธรรมแก่สังคมส่วนรวมแล้ว เหตุการณ์ทางการเมืองอันนั้นควรจะต้องคัดค้านต่อต้านมิให้มีหรือเกิดขึ้นในสังคม
ความสำนึกทางการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของประชาชนโดยปราศจากการข่มขู่บังคับหรือชักจูงจ้างวานใด ๆ เช่นเดียวกับความสำนึกบาปของบุคคลผู้หนักในธรรมจะไม่ยอมทำบาปใด ๆ แม้ว่าจะมีโอกาสที่จะทำบาปย่อมที่จะละเว้นการกระทำนั้น ๆ เสีย โดยมุ่งจะทำแต่ความดีมีประโยชน์ต่อตนและส่วนรวม นี้เป็นสำนึกทางศีลธรรม ส่วนผู้ที่สำนึกทางการเมืองนั้นจะแสดงบทบาททางการเมืองตามสิทธิเสรีภาพของตน เช่น การไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การเข้าร่วมอภิปรายหรือการพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง การเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การร่วมมือก่อตั้งพรรคการเมือง และการลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
ความสำนึกทางการเมืองของประชาชนจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะต่าง ๆ ตามที่กล่าวแล้วโดยการผ่านพรรคการเมืองหรือสถาบันทางการเมืองอื่น ๆ จะเห็นได้ว่าความสำนึกทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แต่ประชาชนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากน้อยแค่ไหนเพียงไรขึ้นอยู่กับระบบการเมือง ลักษณะของสังคมและระบบเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เช่น ถ้าประเทศใดปกครองในระบบเผด็จการ อำนาจการปกครองการแสดงบทบาททางการเมืองจะอยู่กับบุคคลบางคนหรือบางกลุ่มเท่านั้น การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจะถูกจำกัดหรือบังคับ แต่ถ้าระบบการเมืองของประเทศใดเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเชื่อกันว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เชื่อในสิทธิเสรีภาพและความสามารถความเสมอภาคของประชาชน โอกาสที่ปวงชนจะเข้าร่วมแสดงบทบาททางการเมืองย่อมจะมีมากกว่าระบบการปกครองอื่น ๆ
สิทธิหน้าที่ของประชาชน (RightObigation of People)
ความสำนึกทางการเมือง
เสรีภาพทางการเมือง (Political Liberty)
สื่อมวลชน (Mass Media)
ความหมายของสื่อมวลชน
บทบาทของสื่อมวลชน
หน้าที่ของสื่อมวลชน
กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group)
ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัตถุประสงค์ของกลุ่มผลประโยชน์
พฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์
มติมหาชน (Public Opinion)
ปัจจัยที่เอื้อต่อมติมหาชน
ความสำคัญของมติมหาชน
อุปสรรคของการแสดงมติมหาชน