สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

ประชาชนกับบทบาททางการเมือง

สื่อมวลชน (Mass Media)

สื่อมวลชนเป็นแหล่งความรู้ ความคิดที่นำไปสู่พฤติกรรมของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เพราะมนุษย์จะมีความคิดได้นั้น มีสาเหตุหลายประการ เช่น จากการได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น สัมผัส จากสื่อมวลชน และความคิดเห็นของคนอื่น เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้บทบาทของสื่อมวลชนได้กระตุ้นให้คนมีแนวความคิดมีพฤติกรรมต่าง ๆ ได้มาก อันได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์และภาพยนตร์

สื่อมวลชน คือ สถาบันที่แสดงความคิด ความเคลื่อนไหวในรูปร่าง ข่าวสาร ปรากฏการณ์ของประชาชนต่อรัฐบาลและของรัฐต่อประชาชน ตลอดถึงเป็นแหล่งสื่อสารระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกัน สื่อมวลชนจึงมีความสำคัญต่อระบบการเมืองการปกครองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันถือว่าเสียงประชาชนหรือปรากฏการณ์ของประชาชนคือเสียงสวรรค์หรือสวรรค์บันดาล ฉะนั้นสื่อมวลชนในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยจึงเปรียบเสมือน “หน้าต่างประชาชน” โดยทำหน้าที่เป็นหู เป็นตา เป็นขา เป็นแขนของประชาชนในทุกกรณี ประชาชนสามารถแสดงความรู้สึกนึกคิดหรือเข้าถึงรัฐบาลโดยผ่านสื่อมวลชน ในทำนองเดียวกัน รัฐบาลก็สามารถแจ้งข่าวสารและเข้าถึงประชาชนได้โดยอาศัยสื่อมวลชนแต่ละแขนงได้เป็นอย่างดี สื่อมวลชนที่มีความสำนึกต่อวิชาชีพและมีความรับผิดชอบสูงนั้นมีความสำคัญมากที่จะช่วยจรรโลงความเป็นประชาธิปไตยในสังคม ในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยรัฐบาลจักออกกฎระเบียบรับรองการมีและการประกอบอาชีพสื่อมวลชนได้อย่างกว้างขวาง ยอมให้สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่แสดงบทบาทต่อบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่ภายใต้ขอบเขตระเบียบที่ให้ไว้

สิทธิหน้าที่ของประชาชน (Right–Obigation of People)
ความสำนึกทางการเมือง
เสรีภาพทางการเมือง (Political Liberty)
สื่อมวลชน (Mass Media)
ความหมายของสื่อมวลชน
บทบาทของสื่อมวลชน
หน้าที่ของสื่อมวลชน
กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group)
ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัตถุประสงค์ของกลุ่มผลประโยชน์
พฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์
มติมหาชน (Public Opinion)
ปัจจัยที่เอื้อต่อมติมหาชน
ความสำคัญของมติมหาชน
อุปสรรคของการแสดงมติมหาชน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย