สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
หน้าที่ของสื่อมวลชน
ตามที่กล่าวถึงบทบาทและอิทธิพลของสื่อมวลชนมานั้น จะเห็นได้ว่าสื่อมวลชนได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนและทุกอาชีพ มีทั้งที่ก่อให้เกิดประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายได้ถ้าเลือกใช้ไม่เป็น โดยเฉพาะบทบาทในด้านการเมืองถ้าผิดพลาดก็หมายถึงความเสียหายทั้งชาติ เมื่อเป็นเช่นนั้นสื่อมวลชนจะต้องสำนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมคือ ประชาชนและประเทศชาติ โดยมิได้มุ่งแต่ทางธุรกิจการค้าเพียงอย่างเดียว ฉะนั้นสื่อมวลชนควรจะได้มีบทบาทหน้าที่ของตนโดยเฉพาะ ซึ่งพอสรุปประเด็นหน้าที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
1.ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข่าวสารที่มีสาระและความเป็นจริงต่อประชาชนทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม ข่าวที่ให้นี้ต้องมีความเป็นจริงหรือเชื่อว่าให้ข่าวด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเป็นความจริง ถ้าหากสื่อมวลชนให้ข่าวที่ไม่มีความเป็นจริงหรือไม่บริสุทธิ์ใจแล้วอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ ในขณะเดียวกันก็จะก่อให้เกิดผลเสียแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นที่เป็นส่วนรวมได้ตลอดถึงประเทศชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะการปกครองในระบอบประชาธิปไตยประชาชนจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ไปใช้ในการตัดสินเพื่อเข้าร่วมทางการเมืองอย่างถูกต้องและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
2. ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความรู้และข้อคิดเห็นต่าง ๆ แก่ผู้อ่าน ผู้ชม และผู้ฟัง เพราะสื่อมวลชนจะต้องให้ข่าวความรู้ ข้อคิดเห็น หรือข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่สอดแทรกลงไปในสื่อพร้อม ๆ กันไป สำหรับความรู้และข้อคิดเห็นต่าง ๆ นี้อาจจะเป็นเรื่องการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมควบคู่กันไป
3.ทำหน้าที่เป็นผู้คอยทักท้วงผู้มีอำนาจหรือมีบทบาทในการตรวจการปฏิบัติหน้าที่
4. ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางการติดต่อระหว่างรัฐบาลและประชาชน สื่อมวลชนจะเป็นผู้ติดตามเหตุการณ์เสนอข่าวสาร ทัศนะทางการเมือง เพื่อให้ผู้อ่านได้ข้อมูลในการตัดสินใจอย่างเพียงพอ เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของรัฐบาลหรือนักการเมือง ในขณะเดียวกับประชาชนก็เสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการเมืองไปสู่รัฐบาลโดยผ่านสื่อมวลชนได้
5. ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมความสำนึกความเป็นประเทศชาติในการเสนอข่าวสารและข้อคิดเห็นต่าง ๆ แก่สาธารณชนของสื่อมวลชนเป็นประจำนั้น สื่อมวลชนผู้เชื่อมประสานคนที่อยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ ให้มีความรู้สึกร่วมกันถึงความเป็นชาติเดียวกัน
6. ทำหน้าที่ในการรวบรวมกลั่นกรองข้อเรียกร้อง ต้องการตลอดจนช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มในสังคม เนื่องจากในสังคมหนึ่ง ๆ ย่อมมีข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งที่เกิดจากความเรียกร้องต้องการของกลุ่มแต่ละกลุ่มซึ่งมักไม่เหมือนกัน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรงแต่เนื่องจากรัฐบาลมีหน้าที่ต้องกระทำอยู่มากแล้ว สื่อมวลชนก็จะทำหน้าที่เป็นกลไกแทนรัฐบาล ซึ่งถือเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลและเป็นการป้องกันมิให้รัฐบาลต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความขัดแย้งหรือเรียกร้องกันอยู่ ประการสำคัญจะต้องรวบรวมกลั่นกรองข้อเรียกร้องความต้องการต่าง ๆ ของแต่ละกลุ่มที่แท้จริง
7. ทำหน้าที่ในการเลือกสรรทางการเมือง เนื่องจากการเมืองจะเข้าไปเกี่ยวพันกับองค์กรของรัฐ และแต่ละองค์กรของรัฐจำเป็นต้องมีบุคคลเพื่อเข้าดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคคลที่จะเข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ นี้ สื่อมวลชนก็จะสามารถเลือกสรรด้วยในระดับหนึ่ง
8. ทำหน้าที่ในเรื่องสังคมการณ์ทางการเมือง (Political Socialization) นั่นคือสื่อมวลชนจะเป็นตัวการ (Agent) ที่สำคัญที่ทำให้ประชาชนได้มีการเรียนรู้ทางการเมืองหรือสื่อมวลชนจะมีอิทธิพลต่อทัศนะคติ ความเชื่อ หรือการประพฤติปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อองค์กร หรือกระบวนการทางการเมืองในฐานะที่เขาเป็นสมาชิกอยู่ในสังคมการเมืองนั้น
9. ทำหน้าที่ช่วยให้ประชาชนสามารถมีอำนาจหรืออิทธิพลต่อรัฐบาล การที่ประชาชนทั่ว ๆ ไปจะมีอำนาจในการโน้มน้าวชักจูงรัฐบาลให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามความต้องการของตนนั้น จำเป็นต้องกระทำในรูปของกลุ่มพลัง ซึ่งสื่อมวลชนจะเป็นเครื่องมือช่วยได้อย่างดีในการกระตุ้นให้ประชาชนรวมกลุ่มกัน เพื่อให้มีอำนาจต่อรองกับรัฐบาล
10. ทำหน้าที่เป็นจักรกลของกระบวนการทางการเมืองแบบประชาธิปไตยซึ่งสื่อมวลชนจะมีบทบาทสำคัญหลายประการ เช่น ในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคการเมืองการบริหารประเทศของรัฐบาล และการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น
จากหน้าที่ของสื่อมวลชนดังกล่าวนี้จะเห็นว่าสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสถาบันอันหนึ่งในสังคม มีบทบาทหน้าที่สำคัญยิ่งในการปลูกฝังและพัฒนาความคิดเห็นทางการเมืองที่ถูกต้องแก่ประชาชน โดยเฉพาะในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย
สิทธิหน้าที่ของประชาชน (RightObigation of People)
ความสำนึกทางการเมือง
เสรีภาพทางการเมือง (Political Liberty)
สื่อมวลชน (Mass Media)
ความหมายของสื่อมวลชน
บทบาทของสื่อมวลชน
หน้าที่ของสื่อมวลชน
กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group)
ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัตถุประสงค์ของกลุ่มผลประโยชน์
พฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์
มติมหาชน (Public Opinion)
ปัจจัยที่เอื้อต่อมติมหาชน
ความสำคัญของมติมหาชน
อุปสรรคของการแสดงมติมหาชน