สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ลักษณะสำคัญของระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
สมพงศ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ ได้กล่าวถึงลักษณะที่สำคัญของระบบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จไว้ดังนี้
1. ความหมาย ระบบเผด็จการแบบนี้ตรงกับภาษาอังกฤษ Totalitarianism ซึ่งมาจากภาษาลาตินว่า โตตุส (Totus) ซึ่งแปลว่า ทั้งหมด ระบบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จเป็นทั้งระบบการปกครองและระบบทางสังคม มีสาระสำคัญคือ อำนาจการปกครองในระบบนี้มีมากที่สุด และอำนาจนั้น ๆ ยังสามารถกำหนดจุดหมายปลายทางและวิธีการต่าง ๆ ได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัด
2. วัตถุประสงค์ ความมุ่งหมายของเผด็จการแบบนี้ต้องการควบคุมบุคคลทุกอย่างโดยอำนาจรัฐ คือทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษา เป็นต้น ผู้ปกครองหรือรัฐสามารถละเมิดสิทธิของบุคคลได้เสมอ
3. วิธีการ วิธีการดำเนินการของระบบนี้ทำได้โดยไม่มีขอบเขตเป็นวิธีทำให้คนเกรงกลัวในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจองจำ การทรมานค่ายกักกัน ค่ายแรงงานแบบทาส ฆาตกรรม ทำได้ทั้งนั้น วิธีโฆษณาชวนเชื่อให้คนหลงคลั่งไคล้ในลัทธิหรือกระตุ้นอารมณ์ ทำได้อย่างไม่มีขอบเขตอีกเช่นกัน
4. อุดมการณ์ ถือว่าอุดมการณ์ของตนเป็นเลิศ อุดมการณ์อื่นจะขัดแย้งหรือทัดทานไม่ได้จะต้องขจัดให้หมดและเป็นอุดมการณ์ที่มุ่งควบคุมลักษณะต่าง ๆ แห่งพฤติกรรมของมนุษย์ที่สำคัญ เช่น ความคิด ความรู้สึกและการปฏิบัติ ไม่ต้องการให้มีความเชื่อ แนวความคิด ทัศนคติใดมาขัดขวางหรือขัดแย้งกับอุดมการณ์ที่มีอยู่ มีความต้องการให้บุคคลมีความเชื่ออย่างคลั่งไคล้หลงใหลตามอุดมการณ์อย่างปราศจากเหตุผล อุดมการณ์นี้มิใช่เป็นเพียงอุดมการณ์ทางการเมืองเท่านั้น แต่เป็นเพียงอุดมการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจที่มุ่งส่งเสริมอำนาจการปกครองให้อยู่เหนือชีวิตและความคิดของมนุษย์
ประเทศที่ปกครองด้วยระบบเผด็จการจะไม่ยอมรับความเสมอภาคของมนุษย์ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์เกิดมาจะมีความเสมอเหมือนกัน ความสามารถสติปัญญาย่อมแตกต่างกัน เพศวัยย่อมแตกต่างกัน ผิวพรรณย่อมแตกต่างกัน ฉะนั้นผู้ปกครองย่อมเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเท่านั้น กล่าวคือ เป็นคนดีมีสติปัญญาสูง มีความสามารถพิเศษในการทำงานและในการใช้อำนาจ มีความสามารถในการรวบรวมกลุ่มบุคคลและมีคุณสมบัติในการใช้กำลัง นอกจากนั้นระบบเผด็จการยังถือว่า รัฐมีความสำคัญเหนือเสรีภาพส่วนบุคคล ประชาชนมีบทบาทและความรับผิดชอบเพียงการเชื่อฟังคำสั่งและปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐเท่านั้น ประชาชนไม่มีสิทธิ์ที่จะมาขัดแย้งวิจารณ์คำสั่งของผู้ปกครอง และประชาชนจะต้องอยู่ในระเบียบวินัยตามที่รัฐกำหนดให้ จึงกล่าวได้ว่าระบบการเมืองแบบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จนั้นเป็นการปกครองที่ให้รัฐใช้อำนาจเด็ดขาด รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทุกอย่างของประชาชนคือทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐที่คนชั้นนำหรือชนชั้นผู้ปกครองได้กำหนดขึ้นได้แล้ว แม้ว่าประชาชนจะเดือดร้อนทรมานหรือเอาชีวิตเข้าแลกก็ยอม เพื่อความอยู่รอด เพื่อความมั่นคงของรัฐเท่านั้น จึงเห็นได้ว่าผู้นำที่เป็นเผด็จการมักจะยกคำว่า รัฐ หรือ ชาติ มาเป็นข้ออ้างเสมอเมื่อจะใช้อำนาจเด็ดขาดกับประชาชน
แนวความคิดทางการเมือง
ประเภทของลัทธิการเมือง
ระบบประชาธิปไตย
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
องค์สามของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครอง
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต
ระบบเผด็จการ
ลักษณะสำคัญของระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
แนวความคิดทางเศรษฐกิจ
ประเภทของลัทธิเศรษฐกิจ
หลักสำคัญของระบบทุนนิยม
แบบสังคมนิยม (Socialism)
หลักสำคัญของระบบสังคมนิยม
ประเภทของระบบสังคมนิยม