สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ

ประเภทของลัทธิเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อระบบการปกครองประเทศอย่างยิ่ง เพราะถ้าระบบเศรษฐกิจของประเทศใดดีมีความมั่นคง นั่นหมายถึงความมั่นคงทางการเมืองการปกครองประเทศนั้นด้วย ดังนั้น เพื่อสะดวกในการศึกษาเรื่องนี้ “จึงได้แบ่งลัทธิเศรษฐกิจออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ลัทธิเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) และลัทธิเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)

1. แบบทุนนิยม ( Capitalism )

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนี้เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้ปัจเจกชนมีสิทธิทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านการผลิต การจำหน่าย การแสวงหากำไรและการเลือกบริโภค ปัจเจกชนมีอิสระอย่างเต็มที่โดยที่รัฐจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวและควบคุมบางอย่างที่มีความจำเป็นเท่านั้น เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาจึงขอนำความหมายของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของนักปราชญ์ทั้งหลายที่ให้ไว้มากล่าวดังนี้

สมพงศ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ ได้ให้ความหมายว่า ระบบทุนนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่ถือว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นเจ้าของและการลงทุนในการผลิตเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน และยอมให้ผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจมีโอกาสในการแข่งขันในทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดตามความสามารถและความปรารถนาของแต่ละคน

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา กล่าวว่า ระบบทุนนิยมหรือระบบเศรษฐกิจที่หน่วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีเอกชนเป็นเจ้าของ และเป็นอิสระที่จะดำเนินการผลิตและการบริโภคตามกลไกแห่งราคาของตลาด

Robert A. Dahl ให้ความหมายว่า ทุนนิยม คือ ระบบเศรษฐกิจซึ่งการประกอบการทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ถูกนำและควบคุมโดยบริษัทธุรกิจเอกชน

Douglas Greenwald ให้ความหมายว่า ระบบทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้เอกชนมีส่วนเป็นเจ้าของธุรกิจ

William Ebenstein ให้คำจำกัดความว่า ระบบทุนนิยมหมายถึง ระบบเศรษฐกิจซึ่งความเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ที่ดิน การเงิน เครื่องจักร และทรัพยากรธรรมชาติ ถูกยึดครองโดยปัจเจกชน มิใช้โดยรัฐ

อัมพร วิจิตรพันธ์ ให้ความเห็นว่า ลัทธิทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอันเป็นประเทศที่มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทุน เพื่อนำไปลงทุนทั้งในประเทศและนอกประเทศจนก่อให้เกิดผลผลิตจำนวนมาก เป็นระบบเศรษฐกิจแบบปล่อยตามสบาย ให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและใช้ทรัพย์สินลงทุนหากำไร ถือเอากำไรเป็นสำคัญ เอกชนมีเสรีภาพในการทำสัญญาและเข้าร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสมัครใจเพื่อหวังกำไรและความอยู่ดีกินดี การแข่งขันถือเป็นพลังที่ทำให้เกิดสมรรถภาพและการกำหนดราคา โดยรัฐจะเข้าแทรกแซงแต่น้อยเพื่อคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของสาธารณชน เช่น การป้องกันประเทศและการรักษาความสงบภายใน รัฐจะเข้าไปดำเนินธุรกิจที่เอกชนไม่สามารถทำได้ และเพราะไม่มีข้อบังคับมากมายในทางเศรษฐกิจ จึงเรียกว่า การประกอบการอย่างเสรี

จากความหมายระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวมานั้น พอจะสรุปสาระสำคัญดังนี้

1. ประชาชนมีเสรีภาพในการผลิต
2. ประชาชนสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
3. ประชาชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
4. ประชาชนมีอิสระในการดำเนินธุรกิจ
5. ประชาชนมีโอกาสในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
6. ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคและบริการตามประสงค์
7. เอกชนมีอิสระในการแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ
8. ระบบตลาดถือเอาราคาสินค้าเป็นแกนกลางในการควบคุม

แนวความคิดทางการเมือง
ประเภทของลัทธิการเมือง
ระบบประชาธิปไตย
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
องค์สามของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครอง
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต
ระบบเผด็จการ
ลักษณะสำคัญของระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
แนวความคิดทางเศรษฐกิจ
ประเภทของลัทธิเศรษฐกิจ
หลักสำคัญของระบบทุนนิยม
แบบสังคมนิยม (Socialism)
หลักสำคัญของระบบสังคมนิยม
ประเภทของระบบสังคมนิยม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย