สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ

หลักสำคัญของระบบสังคมนิยม

วีระ รักความสุข ได้กล่าวถึงหลักสำคัญของระบบสังคมนิยมไว้ดังนี้

1. ในทางการเมืองการปกครอง จะต้องใช้ระบอบประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานคือ ให้ประชาชนปกครองตนเอง การกำหนดนโยบายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสวัสดิการหรือการกำจัดเสรีภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน หรือการให้รัฐบาลมีอำนาจและบทบาทในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ จะต้องให้ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมตัดสินใจด้วย

2. มีความปรารถนาที่จะต่อต้านความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจ

3. ต่อต้านอิทธิพลของเงินตรา คือไม่ต้องการให้เงินตรามีอำนาจหรืออิทธิพลเหนือชีวิตของบุคคล

4. สังคมนิยมแบบประชาธิปไตย ได้ก่อรูปขึ้นอย่างชัดเจน ภายหลักที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม

5. ให้กิจการสำคัญ ๆ ที่มีขนาดใหญ่และเป็นความต้องการของประชาชนทั่วไปเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์การหรือหน่วยงานสาธารณะ เช่น รัฐบาล เป็นต้น หรือให้องค์การรัฐบาลได้มีส่วนเข้ามาควบคุม ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม

6. ให้มีการโอนกิจการอุตสาหกรรมที่สำคัญเป็นรัฐ

7. ไม่ยอมรับวิธีการปฏิวัติหรือความรุนแรงใด ๆ เพื่อใช้เป็นวิถีทางไปสู่อำนาจ

8. ใช้วิธีการแบบรัฐสภาซึ่งเชื่อมั่นว่าประชาธิปไตยแบบรัฐสภาจะสามารถก่อให้เกิดการปฏิรูป ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ได้ และนำไปสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการ อันจะส่งผลแห่งความเจริญและความเป็นธรรมที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระบบอื่น

9. พร้อมที่จะมีส่วนร่วมรัฐบาลผสมที่ไม่ใช่สังคมนิยมล้วน

10. ยึดมั่นว่าสังคมนั้นแม้จะเป็นระบบและอุดมการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่ไม่อาจแยกออกจากระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยได้ จะต้องใช้ประชาธิปไตยเป็นทั้งวิถีทางและจุดหมายปลายทาง

11. ยอมให้โอนกิจการเป็นของรัฐ เพื่อให้บรรลุถึงความเจริญทางเศรษฐกิจและการจัดสรรรายได้ให้แก่ประชาชนด้วยความเป็นธรรมมากขึ้น

12. การประกอบการทางเศรษฐกิจนั้นจะต้องได้สัดส่วนระหว่างกิจการซึ่งรัฐเข้าทำกับกิจการที่เอกชนดำเนินการได้เอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสังคมนิยมแบบประชาธิปไตยมิได้ถือว่ากิจการทุกอย่างเป็นของรัฐ แต่ยอมให้เอกชนมีสิทธิเสรีภาพในการประกอบการไปด้วย

13. สังคมนิยมต้องการต่อต้านระบบเผด็จการทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ สังคมนิยมจึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ขัดแย้งกับระบบทุนนิยม เพราะไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้เอกชนประกอบการหรือวางแผนเศรษฐกิจตามระบบทุนนิยม แต่ขณะเดียวกันก็ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้รัฐเข้าดำเนินการ และเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างแต่ฝ่ายเดียว

แนวความคิดทางการเมือง
ประเภทของลัทธิการเมือง
ระบบประชาธิปไตย
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
องค์สามของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครอง
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต
ระบบเผด็จการ
ลักษณะสำคัญของระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
แนวความคิดทางเศรษฐกิจ
ประเภทของลัทธิเศรษฐกิจ
หลักสำคัญของระบบทุนนิยม
แบบสังคมนิยม (Socialism)
หลักสำคัญของระบบสังคมนิยม
ประเภทของระบบสังคมนิยม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย