สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ระบบประชาธิปไตย
ระบบการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยนั้น คือ การปกครองที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากที่สุด นั้นหมายถึงการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติประชาชนจะใช้วิธีการปกครองโดยเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารประเทศแทนตนในสภา เพราะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังนั้นบุคคลหรือคณะบุคคลจะรับตำแหน่งเป็นผู้ปกครองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนนโยบายในการปกครองประเทศจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ การที่จะเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นต้องเป็นการปกครองโดยอาณัติของคนส่วนใหญ่ และเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนมาก ดังนั้นการปกครองแบบนี้จึงเป็นการปกครองของประชาชนโดยประชาชน และเพื่อประชาชน จึงได้มีนักปราชญ์ได้ให้ความหมายดังนี้
คำว่า ประชาชน ถอดศัพท์มาจากคำว่า Democracy มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Demos แปลว่า ปวงชน และ Kratien ซึ่งมีความหมายว่า การปกครอง เมื่อรวมความหมายของคำทั้ง 2 แล้ว ประชาธิปไตยจึงหมายถึง ระบบการปกครองซึ่งประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ
Austin Ranney ได้กล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นรูปการปกครอง ซึ่งเป็นไปตามหลักการของการใช้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) การศึกษากับประชาชน (Popular Consultation) และการปกครองโดยกฎหมายเสียงข้างมาก
บรรพต วีระสัย สุรพล ราชทัณฑารักษ์และบวร ประพฤติดี ได้รวบรวมคำนิยามของคำว่าประชาธิปไตยไว้ 7 ประการดังนี้
1. การปกครองของประชาชน โดยประชาชนเพื่อประชาชน
2. การปกครองซึ่งรัฐบาลมีอำนาจจำกัด
3. การปกครองโดยเสียงของคนส่วนมาก โดยไม่ลืมสิทธิของคนส่วนน้อย
หรือคนที่มีเสียงข้างน้อยในสังคม
4. การปกครองโดยหลักนิติธรรม
5. การปกครองที่ถือว่าเสียงของประชาชนเป็นเสียงสวรรค์
6.
การปกครองซึ่งเน้นในเรื่องความเสมอภาคโดยเป็นโอกาสให้ทุกคนเป็นผู้นำโดยทัดเทียมกัน
7. การปกครองที่เจริญรอยตามพุทธภาษิตที่ว่า ปชาสุขํ มหุตตมํ
แนวความคิดทางการเมือง
ประเภทของลัทธิการเมือง
ระบบประชาธิปไตย
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
องค์สามของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครอง
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต
ระบบเผด็จการ
ลักษณะสำคัญของระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
แนวความคิดทางเศรษฐกิจ
ประเภทของลัทธิเศรษฐกิจ
หลักสำคัญของระบบทุนนิยม
แบบสังคมนิยม (Socialism)
หลักสำคัญของระบบสังคมนิยม
ประเภทของระบบสังคมนิยม