สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ

ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยในฐานะเป็นอุดมคติ หรืออุดมการณ์นั้นได้มีนักปราชญ์ทางการเมืองได้อธิบายความหมายไว้หลายท่าน เช่น

กระมล ทองธรรมชาติ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมการณ์ หมายถึงความเชื่อ ความยึดมั่นของบุคคล ซึ่งประกอบด้วยหลักการ คือ ความเสมอภาคของบุคคลทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการที่บุคคลมีเสรีภาพในการกระทำต่าง ๆ ได้ตามความสมัครใจ เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน การโฆษณา เป็นต้น ตราบเท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น”

ประชา กัลยาณชาติ และคณะ ได้อธิบายไว้ว่า ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ คือ การที่บุคคลมีศรัทธาและความเชื่อมั่นในสติปัญญา เหตุผล และความสามารถของมนุษย์ เทอดทูนอิสระภาพและเสรีภาพของมนุษย์ และเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน หรือเสมอภาคกัน

ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงพื้นฐานสำคัญของอุดมการณ์ประชาธิปไตยสมัยใหม่ และลักษณะสัมพันธ์กับประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมือง ดังนี้

1. การมีศรัทธาในความสามารถของมนุษย์ ในสติปัญญา การรู้จักใช้เหตุผล การยึดหลักเหตุผลด้วยวิธีการทดสอบค้นคว้าตามแบบวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการมองของมนุษย์ในแง่ดีว่าสามารถร่วมมือกันทำงานเพื่อความสุขส่วนรวมได้

2. ความเชื่อในความเป็นอิสระและเสรีภาพของมนุษย์ จากความคิดที่ว่า มนุษย์รู้จักใช้เหตุผลการค้นหาสิ่งที่พึงปรารถนาในการใช้ชีวิตร่วมกัน โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนอาศัยการพิจารณาตามเหตุผลนี้ ทำให้เกิดความเชื่อในความเป็นอิสระและเสรีภาพของมนุษย์ ความเป็นอิสระหมายถึงความสามารถที่จะเลือกใช้ชีวิตกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยตนเอง โดยไม่ตกอยู่ใต้อำนาจบงการของบุคคลอื่น เนื่องจากมนุษย์มีความสามารถที่จะใช้เหตุผลในการเลือกตัดสินใจตกลงใจนี้ ย่อมหมายถึงการที่ทำให้คนเราต้องผูกพันรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำลงไปแล้วด้วย

3. การยอมรับในความเท่าเทียมกันของคน ความเท่าเทียมกันหรือความเสมอภาคกันนี้ไม่ได้หมายถึง ความเท่าเทียมกันทางสติปัญญาหรือกายภาพแต่เป็นความเสมอภาคทางกฎหมายและทางการเมือง ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน ความมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและโอกาสต่าง ๆ ที่จะใช้ชีวิตในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ กำเนิด เพศ หรือฐานะทางเศรษฐกิจสังคม

แนวความคิดทางการเมือง
ประเภทของลัทธิการเมือง
ระบบประชาธิปไตย
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
องค์สามของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมคติ
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองการปกครอง
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต
ระบบเผด็จการ
ลักษณะสำคัญของระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
แนวความคิดทางเศรษฐกิจ
ประเภทของลัทธิเศรษฐกิจ
หลักสำคัญของระบบทุนนิยม
แบบสังคมนิยม (Socialism)
หลักสำคัญของระบบสังคมนิยม
ประเภทของระบบสังคมนิยม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย