สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

การเมืองการปกครองไทย

เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ธรรมนูญ

เมื่อคณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจการปกครองได้อย่างเด็ดขาดและวันที่ 27 มิถุนายน 2475 จึงได้ดำเนินการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว โดยที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โครงสร้างรัฐธรรมนูญได้กำหนดใช้อำนาจอธิปไตยใน 3 ทาง คือ สภาผู้แทนเป็นองค์กรนิติบัญญัติ คณะกรรมการราษฎร (หรือคณะรัฐมนตรี) เป็นองค์กรบริหาร และศาลเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ
ก้าวแรกของการบริหารตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร คือ หัวหน้าคณะราษฎรได้แต่งตั้งผู้แทนราษฎรขึ้น 70 คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร และได้ตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการ (นายกรัฐมนตรี) พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการราษฎรขึ้นอีก 19 คน (รัฐมนตรี)

หลังจากที่การจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศเป็นรูปเป็นร่างแล้ว คณะผู้บริหารโดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธาน จึงได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูญธรรม) เป็นผู้จัดทำเค้าโครงเศรษฐกิจ เพื่อมาใช้ในการบริหารประเทศทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปัจจุบัน

นายปรีดี พนมยงค์ เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำเค้าโครงเศรษฐกิจ เพื่อให้การบริหารประเทศที่เป็นไปตามเป้าหมายที่คณะราษฎรได้กำหนดไว้คือ จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะไม่ปล่อยให้ราษฎรอยู่อย่างอดอยากและมีความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างนี้

ดังนั้นเค้าโครงเศรษฐกิจที่นายปรีดี พนมยงค์ ได้ร่างขึ้นนั้นได้สอดคล้องกับหลักการบริหารประเทศของคณะราษฎรแล้วนำขึ้นเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณานำใช้ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

1. ให้สิทธิประชาชนมีโอกาสเป็นข้าราชการทุกคน บุคคลที่มีอายุระหว่าง 18-55 ปี ให้รับราชการตามประเภทของงานและความสามารถโดยรับเงินเดือนประจำจากทางราชการหรือสหกรณ์ ข้าราชการแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ข้าราชการประเภทนั่งโต๊ะทำงานหรือทำงานในที่ทำการ และข้าราชการที่ใช้แรงงานกลางแจ้งหรือแบบกรรมกร ทั้งนี้เพื่อสนองค่านิยมของคนส่วนใหญ่ที่ชอบจะรับราชการและเป็นประโยชน์ในการระดมแรงงานในประเทศออกใช้อย่างเต็มที่

2. รัฐดำเนินการปฏิรูปที่ดินโดยบังคับซื้อที่ดินอันเป็นนา, เป็นสวน, และใช้ประโยชน์ทางกสิกรรมมาเป็นของรัฐบาลหรือสหกรณ์และดำเนินการเกษตรกรรมเอง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตต่าง ๆ เป็นของรัฐบาลหรือสหกรณ์ สามารถที่จะควบคุมราคาจำหน่ายได้เพราะตัดพ่อค้าคนกลางออก

3. รัฐดำเนินการในเรื่องธนาคาร, การขนส่งคมนาคม, รวมทั้งการอุตสาหกรรมเอง เพื่อตัดคนกลางหรือนายทุนที่แสวงหากำไรออก

จากการที่คณะราษฎรได้นำเค้าโครงทางเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ไปพิจารณาแล้วทำให้เกิดการแตกแยกในหมู่ผู้นำของคณะราษฎร จึงเกิดความปั่นป่วนในรัฐบาลของคณะราษฎร คือฝ่ายหนึ่งได้สนับสนุนเค้าโครงเศรษฐกิจแต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยจึงไม่ได้สนับสนุนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา

ในที่สุดได้มีพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎรและมีการงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อันก่อให้เกิดความปั่นป่วนมิใช่น้อยในวงการเมืองขณะนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้รัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ต้องจัดส่งหลวงประดิษฐ์มนูญธรรมไปอยู่ฝรั่งเศสในข้อหาว่า หลวงประดิษฐ์ธรรมนูญจะนำเอาลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาใช้ในประเทศไทย

 

การปกครองไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สมัยกรุงสุโขทัย
ลักษณะการปกครอง
พ่อขุนรามคำแหงปรับปรุงการปกครอง
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ลักษณะการปกครอง
การจัดการปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง
การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
การปกครองสมัยรัชกาลที่ 6
การปรับปรุงโครงสร้างการปกครอง
การปกครองรัชกาลที่ 7
ทรงปรับปรุงการปกครอง
การปกครองในสมัยประชาธิปไตย
กระแสความคิดการปกครองแบบประชาธิปไตย
มูลเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ธรรมนูญ
พื้นฐานประชาธิปไตยของคณะราษฎร
รัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยของไทย
รัฐสภาไทย
บทบาทและอำนาจหน้าที่รัฐสภา
การใช้อำนาจของรัฐสภา
การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
การเสนอญัตติ
การตั้งกระทู้ถามและตอบกระทู้ถาม
การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมาธิการ
หลักประกันของสมาชิกรัฐสภา
ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
หน้าที่ของชนชาวไทย
แนวนโยบายแห่งรัฐ
รัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
สมัยประชุมสามัญของรัฐสภา
ที่มาของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีกับอำนาจทางการเมือง
คณะรัฐมนตรีกับฝ่ายบริหาร
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ตุลาการรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย