สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

การเมืองการปกครองไทย

รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย

นับแต่ตั้งประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย เมื่อ24 มิถุนายน 2475 ประเทศไทยเราได้มีรัฐบาลมาแล้วจนถึงปัจจุบัน 55 ชุด คือ

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 1 (28 มิถุนายน – 9 ธันวาคม 2475)
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานกรรมการราษฎร หรือนายกรัฐมนตรี
สิ้นสุดวาระเนื่องจากการประกาศและบังคับใช้“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 2 (10 ธันวาคม 2475 – 1 เมษายน 2476)
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 3 (1 เมษายน – 20 มิถุนายน 2476)
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476 ของ “คณะทหารบก ทหารเรือ” อันมีนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นหัวหน้า มีนายพันโทหลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) เป็นเลขานุการฝ่ายทหารบก นายนาวาโทหลวงศุภชลาศัย (บุค ศุภชลาศัย) เป็นเลขานุการฝ่ายทหารเรือ

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 4 (24 มิถุนายน – 25 ธันวาคม 2476)
นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” เพราะการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 5 (16 ธันวาคม 2476 – 21 กันยายน 2477)
นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วยกับการเซ็นสัญญาตกลงระหว่างประเทศเรื่องการควบคุมจำกัดยาง

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 6 (22 กันยายน 2477 – 9 สิงหาคม 2480)
นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากกระทู้ถามเรื่องเกี่ยวกับการขายที่ดินของพระคลังข้างที่ของนายเลียง ไชยกาล สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี และญัตติเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจของนายไต๊ ปาณิกบุตร สมาชิกสภาจังหวัดพระนคร
นายกรัฐมนตรีจึงได้ลาออกเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายดำเนินการสอบสวน

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 7 (9 สิงหาคม – 20 ธันวาคม 2480)
นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” เพราะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 8 (21 ธันวาคม 2480 – 11 กันยายน 2481)
นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” เพราะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481
ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลแพ้มติสภาผู้แทนราษฎร ในญัตติขอให้แก้ไขข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับวิธีการเสนอร่างงบประมาณของนายถวิล อุดล สมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ดและพวก เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2481 จึงได้ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2481

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 (16 ธันวาคม 2481 – 6 มีนาคม 2485)
นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) เป็นนายกรัฐมนตรี
สิ้นสุดวาระเพราะรัฐบาลลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์เนื่องจากเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทย และเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485 ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่และสหรัฐ

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 10 (7 มีนาคม 2485 – 24 กรกฎาคม 2487)
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติพระราชกำหนดระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2487 และไม่อนุมัติพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2487 นายกรัฐมนตรีจึงได้ลาออก

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 11 (1สิงหาคม 2487 – 17 กรกฎาคม 2488)
นายพันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากสงครามยุติ นายกรัฐมนตรีจึงได้ลาออก “เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเหมาะสมในอันที่จะยังมิตรภาพและดำเนินการเจรจาเพื่อความวัฒนาถาวรของชาติ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบไป”

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 12 (31 สิงหาคม – 17 กันยายน 2488)
นายทวี บุญเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออกด้วยเหตุผลเพราะ “ภารกิจเร่งที่รัฐบาลนี้พึงปฏิบัติได้สำเร็จลุล่วงไปแล้ว ต่อไปก็เป็นปัญหาการเมือง การทำความเข้าใจอันดีของฝ่ายสหประชาชาติ จึงเปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมได้เข้าบริหารประเทศสืบแทนต่อไป”

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 13 (17 กันยายน 2488 – 24 มกราคม 2489)
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2482 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2483 และแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2485” เพราะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 หลังจากยุบสภาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2488

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 14 (13 มกราคม – 18 มีนาคม 2489)
นายพันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากแพ้มติสภาผู้แทนราษฎร เรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน ของนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี และพวก นายกรัฐมนตรีจึงได้ลาออก

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 15 (24 มีนาคม – 8 มิถุนายน 2489)
นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดวาระตามรัฐธรรมนูญภายหลังการประกาศและบังคับใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489” เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2489 และ เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2489

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 16 (11 มิถุนายน – 21 สิงหาคม 2489)
นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดวาระเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต นายกรัฐมนตรีจึงได้ลาออกโดยที่ยังไม่ทันได้ตั้งคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 17 (23 สิงหาคม 2489 – 30พฤษภาคม 2490)
นายพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
สิ้นสุดวาระเนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ระหว่างวันที่ 19 – 27 พฤษภาคม 2490 แม้รัฐบาลจะได้รับความไว้วางใจด้วยคะแนน 86 ต่อ 55 งดออกเสียง 16 แต่นายกรัฐมนตรีก็ยื่นใบลาออกเพื่อให้โอกาสได้มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 18 (30 พฤษภาคม – 8 พฤศจิกายน 2490)
นายพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากการรัฐประหารของ “คณะทหารของชาติ” เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยพลโทผิน ชุณหะวัณ นายทหารกองหนุนเป็นหัวหน้า

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 19 (10 พฤศจิกายน 2490 – 6 กุมภาพันธ์ 2491)
นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490” เพราะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2491

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 20 (21 กุมภาพันธ์ – 8 เมษายน 2491)
นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจาก “คณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490” ทำรัฐประหารเงียบ บีบบังคับให้ลาออก

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 21 (8 เมษายน 2491 – 24 มิถุนายน 2493)
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตามรัฐธรรมนูญภายหลังการประกาศและบังคับใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492” เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2492

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 22 (25 มิถุนายน 2492 – 28 พฤศจิกายน 2494)
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากการรัฐประหารของ “คณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490” ซึ่งตั้งชื่อใหม่ว่า “คณะทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490” มีพลเอกผิน ชุณหะวัณ ผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้า

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 23 (29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2494)
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระภายหลังจากการ “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” ของ “คณะทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490” รับสนองพระบรมราชโองการประกาศให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 24 (16 ธันวาคม 2494 – 24 มีนาคม 2495)
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495” และการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 25 (24 มีนาคม 2495 – 25 กุมภาพันธ์ 2500)
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495” เพราะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 26 (21 มีนาคม – 16 กันยายน 2500)
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากการ รัฐประหาร เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 ของกลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่า “คณะทหาร” อันมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้า

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 27 (21 กันยายน – 26 ธันวาคม 2500)
นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495” เพราะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 28 (1 มกราคม – 20 ตุลาคม 2501)
พลโทถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากนายกรัฐมนตรีเห็นว่า “การบริหารราชการแผ่นดินไม่อาจดำเนินไปให้บรรลุผลตามความปรารถนาได้” จึงได้ลาออก และเข้าร่วมทำรัฐประหารกับ “คณะปฏิวัติ” อันมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดทหารบก เป็นหัวหน้า ในค่ำวันที่ 20 ตุลาคม 2501

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 29 (9 กุมภาพันธ์ 2502 – 8 ธันวาคม 2506)
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากการอสัญกรรมของจอมพลสฤษ ธนะรัชดิ์ นายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 30 (9 ธันวาคม 2506 – 7 มีนาคม 2512)
พลเอกถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม ”รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511” เพราะการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 31 (7 มีนาคม 2512 – 26 พฤศจิกายน 2514)
จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ของ “คณะปฏิวัติ” อันมรจอมพลถนอม กิตติขจร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้า

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 32 (18 ธันวาคม 2515 – 14 ตุลาคม 2516)
จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเพราะพลังนักศึกษา ประชาชน ชุมนุมกันขับไล่ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 กระทั่งไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งได้ จึงจำใจต้องลาออกและเดินทางออกนอกประเทศ

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 33 (16 ตุลาคม 2516 – 22 พฤษภาคม 2517)
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออกด้วยเหตุผลว่า “สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยให้ข้าพเจ้าและรัฐบาลนี้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ”

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 34 (30 พฤษภาคม 2517 – 14 กุมภาพันธ์ 2518)
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517” เพราะการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 35 (21 กุมภาพันธ์ – 14 มีนาคม 2518)
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517” เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 36 (17 มีนาคม 2518 – 12 มกราคม 2519)
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517” เพราะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2519 ภายหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2519

คณะรัฐมนตรีชุที่ 37 (21 เมษายน – 23 กันยายน 2519)
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเพราะนายกรัฐมนตรีลาออก

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 38 (25 กันยายน – 5 ตุลาคม 2519)
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากรัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ของ “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” อันมี พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้า

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 39 (22 ตุลาคม 2519 – 19 ตุลาคม 2520)
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากการทำรัฐประหาร เมื่อ 20 ตุลาคม 2520 ของ “คณะปฏิวัติ” อันมีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้า

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 40 (11 พฤศจิกายน 2520 – 12 พฤษภาคม 2522)
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521” เพราะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 41 (12 พฤษภาคม 2522 – 3 มีนาคม 2523)
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดวาระเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 42 (3 มีนาคม 2523 – 30เมษายน 2526)
สืบเนื่องมาจากการที่ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบแทน
สิ้นสุดตามวาระ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521” โดยการยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 43 (30 เมษายน 2526 – 5 สิงหาคม 2529)
กรณีเกิดการขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล คือ พรรคกิจสังคมและพรรคชาติไทย เกี่ยวกับการจัดซื้อน้ำมันจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ต่อมาได้มีรัฐมนตรีจำนวนมากลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีปรับปรุงคณะรัฐมนตรีเสียใหม่
เมื่อ 11 มีนาคม 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง (เปรม 2)

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงจากการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีของพลเอกเปรมอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อ 19 ธันวาคม 2524 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง (เปรม 3) คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลงโดยการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีของพลเอกเปรม
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี (เปรม 4) ที่เป็นผลมาจากการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคณะนี้ได้สิ้นสุดลง โดยการมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา เพื่อให้มีการได้เลือกตั้งใหม่ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2529
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ หลังจากมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 27 กรกฎาคม 2529 ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (เปรม 5) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2529 และคณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง เพราะการยุบสภาอีกครั้ง

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 44 (5สิงหาคม 2529-4 สิงหาคม 2531)
ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 ผลจาการดำเนินการทางการเมืองรวมพรรคการเมืองจำนวนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่รัฐบาล พรรคชาติไทยซึ่งมีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดทำหน้าที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2531 พลตรีชาติชาย ชุณหะวัน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 17 และต่อมาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2531 จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 45 (4 สิงหาคม2531- 9 ธันวาคม 2533)
พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 46 (9 ธันวาคม 2533 – 23 กุมภาพันธ์ 2534)
พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 47 (2 มีนาคม 2534 – 7 เมษายน 2535)
นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย ในประกาศ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 6 มีนาคม 2535 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั่งคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 48 (7 เมษายน 2535 – 23 กันยายน 2535)
พลเอกสุจินดาครา ประยูรเป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง พลเอก สุจินดา ได้ถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศขึ้น พลเอก สุจินดา จึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยอิสระและเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม นายมีชัย ฤชุพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีได้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีไทยเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 10 มิถุนายน 2535

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 48 ของรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร จึงพ้นจาก
ตำแหน่งไปตามวาระ

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 49 (10 มิถุนายน 2535 – 23 กันยายน 2535)
นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลยุบสภาเลือกตั้งทั่วไป

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 50 (23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)
นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลยุบสภาเลือกตั้งทั่วไป

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 51 (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
นายบรรหาร ศิลปอาชาเป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลยุบสภาเลือกตั้งทั่วไป

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 52 (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ลาออก เพราะวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 53 (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลยุบสภาเลือกตั้งทั่วไป

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 54 (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 สิงหาคม 2548)
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี อายุสภาฯสิ้นสุดครบวาระ 4 ปี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 55 ( 3 สิงหาคม 2548 – 24 กุมภาพันธ์ 2549)
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ยุบสภาเนื่องจากมีปัญหาการประท้วงจากกลุ่มพันธมิตร

 

การปกครองไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สมัยกรุงสุโขทัย
ลักษณะการปกครอง
พ่อขุนรามคำแหงปรับปรุงการปกครอง
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ลักษณะการปกครอง
การจัดการปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง
การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
การปกครองสมัยรัชกาลที่ 6
การปรับปรุงโครงสร้างการปกครอง
การปกครองรัชกาลที่ 7
ทรงปรับปรุงการปกครอง
การปกครองในสมัยประชาธิปไตย
กระแสความคิดการปกครองแบบประชาธิปไตย
มูลเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ธรรมนูญ
พื้นฐานประชาธิปไตยของคณะราษฎร
รัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยของไทย
รัฐสภาไทย
บทบาทและอำนาจหน้าที่รัฐสภา
การใช้อำนาจของรัฐสภา
การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
การเสนอญัตติ
การตั้งกระทู้ถามและตอบกระทู้ถาม
การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมาธิการ
หลักประกันของสมาชิกรัฐสภา
ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
หน้าที่ของชนชาวไทย
แนวนโยบายแห่งรัฐ
รัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
สมัยประชุมสามัญของรัฐสภา
ที่มาของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีกับอำนาจทางการเมือง
คณะรัฐมนตรีกับฝ่ายบริหาร
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ตุลาการรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย