สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
การเมืองการปกครองไทย
ลักษณะการปกครอง
ลักษณะการปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเช่นเดียวกับการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย คือการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบบประชาธิปไตยแบบที่กษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดเพียงพระองค์เดียว แต่แนวความคิดของประชาชนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยานี้เปลี่ยนแปลงไปจากกรุงสุโขทัย คือสมัยกรุงสุโขทัยนั้นประชาชนถือเอาอาญาสิทธิ์กษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดก็จริง แต่ยังคิดว่ากษัตริย์นั้นปกครองพวกตนเหมือนพ่อปกครองลูก แต่ตกมาสมัยกรุงศรีอยุธยาแนวความคิดของประชาชนเกี่ยวกับกษัตริย์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติของพราหมณ์ซึ่งนำมาโดยพวกขอม คือถือว่ากษัตริย์เป็นผู้รับอำนาจพระราชโองการมาจากสรวงสวรรค์ เป็นผู้แทนพระเจ้าบนสรวงสวรรค์ เป็นการนับถือกษัตริย์แบบเทวสิทธิ์ที่เชื่อว่ากษัตริย์เท่านั้นคือศูนย์รวมอำนาจการปกครองและอำนาจที่ได้มานั้นก็มิได้ออกมาจากกษัตริย์โดยตรง แต่เป็นอำนาจที่ได้มาโดยพระเจ้า พร ะเจ้าประทานอำนาจให้กษัตริย์มาปกครองประชาชน ใครฝ่าฝืนคำสั่งของกษัตริย์ถือว่าฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่งของพระเจ้า พระเจ้าจะทำโทษแก่ผู้ที่ขัดคำสั่งของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลักษณะการปกครองกรุงศรีอยุธยามีรูปแบบการปกครองคล้ายนายปกครองบ่าวขึ้นอีกรูปหนึ่งคือระบบการปกครองที่ยึดถือกษัตริย์เป็นสมมติเทพที่เป็นปางหนึ่งจากพระพรหมอวตารมาเกิดเพื่อปกครองโลก จึงมีฐานะอยู่เหนือมนุษย์
การจัดการปกครองส่วนกลางของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระองค์ได้จัดให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองราชธานี พระองค์มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง และมีเมืองหน้าด่านเหมือนกรุงสุโขทัยอีก 4 ด้าน โดยแต่งตั้งเสนาบดี 4 คน รับผิดชอบหรือที่เรียกว่า ระบบการปกครองแบบ จตุสดมภ์ อันได้แก่ เวียง วัง คลัง และนา เป็นผู้ช่วยโดยได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของจตุสดมภ์ไว้เป็นแนวในการปฏิบัติ
กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ ได้กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของจตุสดมภ์ไว้ดังนี้
1. เวียง หรือเมือง เสนาบดีผู้บังคับบัญชารับผิดชอบเป็นที่ ขุนเมือง เป็นพนักงานปกครองท้องที่และบังคับบัญชาขุนแขวง อำเภอ กำนัน ในเขตกรุงรักษาความสงบเรียบร้อย ปราบปรามโจรผู้ร้าย บังคับบัญชาศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งเป็นแผนกความนครบาล ตลอดจนการปกครองเรือนจำ
2.วัง เสนาบดีผู้บังคับบัญชารับผิดชอบเป็นที่ ขุนวัง รับผิดชอบเกี่ยวกับราชการในพระราชสำนัก รักษาพระราชมณเฑียร พระราชวังชั้นนอกชั้นใน จัดการพระราชพิธี บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายในทั้งปวง และมีหน้าที่ตุลาการพิจารณาตัดสินอรรถคดีทั้งหลาย
3. คลัง เสนาบดีผู้บังคับบัญชารับผิดชอบเป็นที่ ขุนคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาพระราชทรัพย์ที่เป็นรายได้เข้าสู่พระคลัง และเป็นที่จ่ายเงินราชการ จัดการเกี่ยวกับภาษีอากรต่าง ๆ รวมทั้งบังคับบัญชาศาลซึ่งชำระความเกี่ยวกับพระราชทรัพย์
4. นา เสนาบดีผู้บังคับบัญชารับผิดชอบเป็นที่ ขุนนา มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บหางข้าวค่านาจากราษฎร จัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนครและพระราชวัง จัดซื้อข้าวขึ้นฉางหลวง และจ่ายข้าวในราชการทั้งปวง มีอำนาจบังคับบัญชาศาลที่มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีซึ่งเกี่ยวข้องด้วยที่นา โค กระบือ เพื่อระงับข้อพิพาทของชาวนา
สำหรับการจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคในยุคต้นของกรุงศรีอยุธยายังคงใช้รูปแบบการจัดการปกครองในสมัยกรุงสุโขทัย คือการแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็นเมืองหน้าด่าน หรือเมืองลูกหลวง เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองราชธานี
การปกครองไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สมัยกรุงสุโขทัย
ลักษณะการปกครอง
พ่อขุนรามคำแหงปรับปรุงการปกครอง
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ลักษณะการปกครอง
การจัดการปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง
การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
การปกครองสมัยรัชกาลที่ 6
การปรับปรุงโครงสร้างการปกครอง
การปกครองรัชกาลที่ 7
ทรงปรับปรุงการปกครอง
การปกครองในสมัยประชาธิปไตย
กระแสความคิดการปกครองแบบประชาธิปไตย
มูลเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ธรรมนูญ
พื้นฐานประชาธิปไตยของคณะราษฎร
รัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยของไทย
รัฐสภาไทย
บทบาทและอำนาจหน้าที่รัฐสภา
การใช้อำนาจของรัฐสภา
การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
การเสนอญัตติ
การตั้งกระทู้ถามและตอบกระทู้ถาม
การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมาธิการ
หลักประกันของสมาชิกรัฐสภา
ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
หน้าที่ของชนชาวไทย
แนวนโยบายแห่งรัฐ
รัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
สมัยประชุมสามัญของรัฐสภา
ที่มาของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีกับอำนาจทางการเมือง
คณะรัฐมนตรีกับฝ่ายบริหาร
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ตุลาการรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย