สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม (Liberalism) หรือทุนนิยม (Capitalism)
คือระบบเศรษฐกิจที่ให้เอกชนเป็นเจ้าของหน่วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เอกชนมีอิสรเสรีที่จะดำเนินการผลิต และการบริโภคตามกลไกแห่งราคาของตลาด ผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจ มีโอกาสในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรตามความสามารถของตน โดยรัฐจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวข้องน้อยที่สุด ลักษณะที่สำคัญของระบบเสรีนิยมคือ
1. เคารพในกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล เปิดโอกาสให้เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการผลิตนั้นก็ตกเป็นของเอกชนผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
2. การดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจเป็นไปตามธรรมชาติ คือ ผู้ผลิตสินค้าจะผลิตอะไรก็ขึ้นอยู่กับผู้บริโภค ส่วนผู้บริโภคก็มีเสรีภาพที่จะเลือกสินค้าที่ตนพอใจ ในราคาที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคตกลงกันเอง
3. ให้เสรีภาพแก่ทุกคนที่จะแข่งขันกันในการผลิตสินค้าโดยไม่มีการกีดกัน เกิดการแข่งขันอย่างเสรี ผลิตแข่งกันขาย และผู้บริโภคก็มีเสรีภาพที่จะเลือกซื้อได้เต็มที่
4. รัฐมีอำนาจจำกัด ไม่เข้าแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเอกชน หน้าที่ของรัฐคือการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม และการตัดสินข้อพิพาทของเอกชนตามกระบวนการยุติธรรม
ระบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมนี้ เกิดจากแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมี อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็นผู้วางรากฐานที่สำคัญ แต่ระบบเสรีนิยมเมื่อนำมาให้ในสังคมก็เกิดปัญหาที่จัดว่าเป็นข้อเสียของระบบนี้คือ
1. เป็นลักษณะเศรษฐกิจแบบมีใครยาวสาวได้สาวเอา เพราะเอกชนมีโอกาสสะสมความมั่นคั่งให้กับตนเองได้อย่างไม่จำกัด เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน คนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนยิ่งจนลง
2. เจ้าของกิจการที่มีเงินทุนมากๆ ย่อมได้เปรียบคนอื่นๆ โดยเฉพาะการขยายทุนของตน ทำลายคู่แข่ง เอาเปรียบกรรมกร อาจมีการกักตุนสินค้าเพื่อหวังผลกำไรมากๆ
3. รัฐมีอำนาจจำกัด และมักจะตกอยู่ใต้อิทธิพลของฝ่ายผู้มั่งคั่งที่ใช้รัฐบาลเป็นเครื่องมือรักษาผลประโยชน์ของพวกตน
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม (Liberalism) หรือทุนนิยม (Capitalism)
ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม (Socialism)
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ระบบการปกครอง
ที่มาของเผด็จการ
การปกครองระบอบประชาธิปไตย
ความหมายของประชาธิปไตย
หลักเกณฑ์สำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย