สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง

ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม (Socialism)

คือระบบเศรษฐกิจที่มุ่งสนับสนุนให้รัฐเข้าดำเนินการทางเศรษฐกิจเสียเอง โดยรัฐจะเข้าดำเนินการเป็นเจ้าของในกิจการทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ มีความสำคัญ ลงทุนมากๆ โดยรัฐจะเป็นนายทุนเอง ส่วนเอกชนก็จะดำเนินได้แต่กิจการเล็กๆ น้อยๆ ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็จะตกเป็นของรัฐ ระบบสังคมนิยมมีลักษณะที่สำคัญๆ พอสรุปได้ดังนี้

1. รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่สำคัญๆ หรืออาจจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกอย่าง ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะเป็นของรัฐ เอกชนจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไดตามที่รัฐกำหนด รัฐเป็นผู้จัดการ ควบคุมดำเนินการของระบบเศรษฐกิจทั้งหมด เช่น เรื่องการใช้ทรัพยากร เป้าหมายการผลิต และการกระจายผลผลิต ระบบตลาดอยู่ในการดูแลของรัฐทั้งสิ้น

2. เสรีภาพของเอกชนที่จะแข่งขันในระบบเศรษฐกิจถูกจำกัดโดยรัฐ เพราะรัฐถือว่าการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันนั้น ทำให้เกิดการสูญเปล่า และเป็นอันตรายต่อสังคม มีการเอารัดเอาเปรียบกัน มุ่งหากำไรเกินควร รัฐจึงต้องเข้าควบคุมและรับผิดชอบต่อการผลิตการจำหน่ายจ่ายแจกผลผลิตเพื่อความยุติธรรมในสังคมระบบสังคมนิยมเกิดขึ้นเนื่องจากความบกพร่องของระบบทุนนิยม ที่มีปัญหาการสะสมความมั่งคั่งของเอกชนที่เป็นนายทุนซึ่งเป็นชนส่วนน้อย ในขณะที่กรรมกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ยากจน ระบบทุนนิยมมีการเอารัดเอาเปรียบ มุ่งประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่สนใจสังคมส่วนรวม จึงมีนักปราชญ์หลายท่านเสนอแนวทางด้วยระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมดังกล่าว แต่สังคมนิยมก็มีหลายรูปแบบ ซึ่งอาจมีแนวความคิดที่แตกต่างกันไปบ้างดังนี้

ก. สังคมนิยมยูโทเปียน (Utopian Socialism) หรือสังคมนิยมอุดมคติ พวกนี้มีความเห็นว่า โครงสร้างสังคม ระเบียบประเพณีที่เป็นอยู่ ทำให้คนที่แข็งแรงกว่ากดขี่คนที่อ่อนแอกว่า พวกนี้เสนอแนวความคิดให้จัดตั้งประชาคมขึ้นมากใหม่ คำนึงถึงสังคมส่วนรวมให้มากขึ้น ลดการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้รัดกุม นักคิดที่สำคัญที่เสนอแนวทางสังคมนิยมแนวนี้ เช่น โรงเบิร์ตโอเวน (Robert Owen) ได้เสนอให้มีการจัดตั้งประชาชนแบบสหกรณ์ขึ้นและได้รับสมญาว่า “บิดาแห่งการสหกรณ์”

ข. สังคมนิยมเฟเบียน (Fabian Socialism) คือสังคมนิยมแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในอังกฤษ สังคมนิยมแบบนี้มุ่งให้รัฐบาล ดำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการให้ประชาชนทุกคนโดยเสมอภาค และใช้วิถีการทางรัฐสภา โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดชนชั้นนายทุน ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีรุนแรง แต่สามารถปรับปรุงความเสมอภาคทางรายได้และเศรษฐกิจโดยสันติวิธี ด้วยวิธีการทางรัฐสภา มีการออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ ซึ่งจะช่วยเหลือกรรมกรให้มีการกินดีอยู่ดีได้ และได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การต่อสู่ระหว่างชนชั้นไม่ได้เป็นไปตามคำทำนายของมาร์กซ์ คือไม่เกิดขึ้นในประเทศอุตสาหกรรมที่มีกรรมกรมากมาย เช่น อังกฤษ อเมริกา แต่กลับไปเกิดในรัสเซีย และจีน ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม

ค. สังคมนิยมมาร์กซิสม์ (Marxist Socialism) ระบบนี้ยึดแนวความคิดของคาร์ลมารกซ์ เป็นแนวทางจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ คือทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐทั้งสิ้นเอกชนไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินใดๆ การดำเนินงานทางเศรษฐกิจ เช่น จะผลิตอะไรผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใคร รัฐจะเป็นผู้วางแผนดำเนินการเองทั้งสิ้น ประชาชนอย่างในฐานะเป็นเจ้าของแรงงาน เท่านั้น

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เกิดขึ้นจากความคิดที่จะพยายามแก้ไขปัญหาของสังคมที่เกิดจากระบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม แต่เมื่อระบบสังคมนิยมถูกนำมาปฏิบัติก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้นหลายประการเช่น

1. เมื่อรัฐเป็นเจ้าขอปัจจัยการผลิต จำกัดเสรีภาพของประชาชนในการผลิต ทำให้แรงจูงใจในความคิดสร้างสรรค์ของเอกชนมีน้อยลง ประดิษฐ์กรรมแปลกๆ ใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นน้อยกว่าระบบทุนนิยม
2. รัฐเป็นนายทุนผูกขาดเพียงผู้เดียว ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสเลือกสินค้าและบริการที่ดีกว่า
3. ไม่มีหลักประกันอันใดที่จะให้กับประชาชนได้ว่า รัฐจะเป็นองค์การที่จะอำนวยประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างเป็นธรรม แผนการทางเศรษฐกิจของรัฐอาจผิดพลาดได้และผลเสียหายก็จะตกอยู่กับประชาชน

ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม (Liberalism) หรือทุนนิยม (Capitalism)
ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม (Socialism)
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ระบบการปกครอง
ที่มาของเผด็จการ
การปกครองระบอบประชาธิปไตย
ความหมายของประชาธิปไตย
หลักเกณฑ์สำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย