สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ความหมายของประชาธิปไตย
ความหมายของคำว่าประชาธิปไตย โดยทั่วไปที่เข้าใจกันนั้น ก็แปลตามศัพท์ คือประชาชน + อานาจอธิปไตย นั่นคือประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของประชาชน แต่ยังมีนักรัฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายท่านให้ความหมายของประชาธิปไตย โดยขยายความกว้างขวางออกไป เช่น อับราฮัมลินคอร์น(Abraham Lincoln) ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน (Government of the People, by the People, for the People)
ท่าน ชาล์ส อี เมอเรียม (C.E.Merriam) เน้นว่า ประชาธิปไตยเป็นแนวคิด และการปฏิบัติที่มุ่งไปสู่ความผาสุกร่วมกันของประชาชน โดยมีเจตนาร่วมกันของประชาชนนั่นเองเป็นเครื่องนำทาง
ท่าน ฮาโรลด์ ลาสกี้ (H.J. Laski) ถือว่าเนื้อแท้ของประชาธิปไตยก็คือ ความปรารถนาของมนุษย์ที่จะยอมรับนับถือและรักษาไว้ซึ่งความสำคัญของตนเอง รวมตลอดถึงความเสมอภาค ระหว่างบุคคลในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
สรุปได้ว่าประชาธิปไตยนั้น มีความหมายกว้างขวางหลายสถานะ ทั้งในฐานะที่เป็นระบบการเมืองหรือการปกครอง ในฐานะที่เป็นอุดมคติและปรัชญา ในการดำรงชีวิตร่วมกันของมนุษย์และในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต ประชาธิปไตยที่ใช้อยู่ในหลายประเทศทุกวันนี้ เป็นประชาธิปไตยโดยอ้อม (Indirect Democracy) ซึ่งเป็นการปกครองโดยฝ่ายทางผู้แทนของประชาชน ซึ่งเราเรียกว่าประชาธิปไตยโดยเสรี หรือเสรีประชาธิปไตย (Liberal Kemocracy) หรือประชาธิปไตยตะวันตก (Western Democracy) ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง ประชาธิปไตย จึงจะถือตามความหมายดังกล่าวนี้
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม (Liberalism) หรือทุนนิยม (Capitalism)
ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม (Socialism)
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ระบบการปกครอง
ที่มาของเผด็จการ
การปกครองระบอบประชาธิปไตย
ความหมายของประชาธิปไตย
หลักเกณฑ์สำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย