สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

ธรรมาภิบาล

หน้า 3

อานันท์ ปันยารชุน อธิบาย ธรรมรัฐว่า คือ ผลลัพธ์ของการจัดการกิจกรรม ซึ่งบุคคลและสถาบันทั้งในภาครัฐและเอกชนมีผลประโยชน์ร่วมกันได้ กระทำลงในหลายทาง มีลักษณะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้ โดยสาระ ธรรมรัฐ หรือ Good Governance คือ องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้แน่ใจว่านโยบายที่กำหนดไว้จะได้ผล หมายถึงการมีบรรทัดฐาน เพื่อให้มีความแน่ใจว่า รัฐบาลจะสามารถสร้างผลงานตามที่สัญญาไว้กับประชาชน

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) อธิบายว่า ธรรมาภิบาล หมายความถึงการจัดการบริหารประเทศที่ดีในทุกๆ ด้านและทุกๆ ระดับ ซึ่งรวมถึงการจัดการระบบองค์กรและกลไกของค์ณะรัฐมนตรี ส่วนราชการองค์กรของรัฐและรัฐบาลที่ไม่ใช่ส่วนราชการ การบริหารราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น องค์การที่ไม่ใช่รัฐบาล (Private Sector Organizations) องค์กรของเอกชน ชมรมและสมาคมเพื่อกิจกรรมต่างๆ นิติบุคคลภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (Civil Society) และการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น

คุณหญิงทิพาวดี เฆมสวรรค์ เลขาธิการ ก.พ. กล่าวว่า ธรรมรัฐ คือ การวางกรอบการทำงานในระบบราชการเพื่อให้เกิดระบบที่ดีเอื้อต่อคนดีให้อยู่ในระบบที่ดีและไม่ให้คนเลวดำรงตำแหน่งที่ดีในวงราชการ ซึ่งคือเป้าหมายสำคัญของการปฏิบัติราชการ ธรรมรัฐจะเป็นตัวเชื่อมให้สังคมที่มีการแยกส่วนทั้งภาครัฐบาล เอกชน ประชาชน และองค์กรเอกชนเกิดความสัมพันธ์กันทุกส่วนให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสังคมกลไกที่จะทำให้เกิดได้นั้น จึงอยู่ที่รัฐต้องเปิดโอกาสให้ปัญหาต่างๆ ของส่วนอื่นๆ เข้ามาร่วมกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยปฏิบัติเป็นองค์รวม คือ
1) ประชาชนทุกคนที่มีผลกระทบต้องมีส่วนร่วม
2) มีความโปร่งใส รับรู้ได้ โดยรับฟังประชาพิจารณ์ ส่งเอกสารให้ และเมื่อตัดสินใจแล้วเปิดเผยเหตุผลได้
3) มีความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
4) การใช้อำนาจต้องมีที่มาที่ไปเปิดเผย
5) กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะตัดสินใจต้องชัดเจน
6)การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แต่การปฏิรูปราชการจะสำเร็จได้ต้องเกิดจาก 2 ส่วน คือ

1) ความยินยอมพร้อมใจของค์นในวงราชการ
2) มีความกดดันจากภายนอก คือ รัฐสภา รัฐบาล นอกจากนี้ยังต้องมีแรงหนุนจากภายนอก เช่น สื่อต่างๆ ประชาชนคอยตรวจสอบ ติชม และภาคเอกชนต้องยอมรับได้จึงจะสำเร็จ

กล้าณรงค์ จันทิก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กล่าวว่า ธรรมรัฐ คือ การทำให้ระบบการบริหารการจัดการที่ดีทั้งภาครัฐและเอกชน และต้องเกิดจากสำนึกความรู้สึกของภาคนั้นๆ เพื่อประโยชน์ประโยชน์ของการอยู่ร่วมกัน โดยไม่ใช้อำนาจรัฐไปทำให้เกิดขึ้น การสร้างธรรมรัฐจึงขึ้นอยู่กับข้าราชการและนักการเมือง ทั้ง 2 ฝ่ายต้องเป็นคนดีมีความโปร่งใสโดยเฉพาะนักการเมืองต้องโปร่งใส ในด้านการแก้ปัญหาคอรัปชั่นประชาชนต้องร่วมมือกันต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม หากเกิดการเรี่ยไร รีดไถเงินหรือทุจริตของวงราชการให้ร้องเรียนไปที่ ป.ป.ป. ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม อธิบายว่า Good Governance หมายถึง “การกำกับดูแลที่ดี” หรือหมายถึง “การใช้สิทธิ์ของความเป็นเจ้าของที่จะปกป้องดูแลผลประโยชน์ของตนเอง โดยผ่านกลไกที่เกี่ยวข้องในการบริหาร” โดยหัวใจสำคัญของ Good

Governance คือ ความโปร่งใส (Transparency) ความยุติธรรม (Fairness) และความรับผิดชอบในผลของการตัดสินใจ (Accountability)

<< ย้อนกลับ || อ่านต่อหน้า 4 >>

ธรรมาภิบาลกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
ยุทธศาสตร์ของธรรมาภิบาล

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย